มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มรภ.เชียงใหม่ รวบรวมองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการศึกษา

15 มี.ค. 2560 โดย สุกัญญา แก้ววรรณ
 

มรภ.เชียงใหม่ รวบรวมองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการศึกษา


        


สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประสานความร่วมมือ 2 หน่วยงาน รวบรวมองค์ความรู้ศิลปวัฒนธรรมและงานวิจัย สร้างสรรค์นวัตกรรม ภายใต้โครงการ “พัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา”

อาจารย์อำนาจ โกวรรณ ผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ด้วยความตระหนักถึงการพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยเฉพาะการจัดการศึกษาและคุณภาพการเรียนการสอน ดังยุทธศาสตร์การผลิตบัณฑิตและสร้างโอกาสทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษาได้จัดทำโครงการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการศึกษา เพื่อผลิตนวัตกรรมเพื่อการศึกษาองค์ความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม และงานวิจัย พร้อมเผยแพร่ชุดนวัตกรรมเพื่อการศึกษาให้แก่นักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร ประชาชน และชุมชนท้องถิ่น โดยความร่วมมือจากสถาบันวิจัยและพัฒนา และสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งคณะทำงานได้สรุปองค์ความรู้ในการจัดทำสื่อนวัตกรรมการศึกษา จำนวน 11 สื่อ ได้แก่ องค์ความรู้ด้านศิลปะ วัฒนธรรม จำนวน 2 เรื่อง คือ ใบลาน และดนตรีพื้นเมือง องค์ความรู้จากงานวิจัย จำนวน 9 เรื่อง ได้แก่ การศึกษาการเพาะเห็ดสมุนไพร ถั่งเช่าสีทอง และการนำไปใช้ประโยชน์ , กลองบูชาในสังคมและวัฒนธรรมของชาวเชียงใหม่ , การอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น การละเล่นพื้นบ้าน “บะข่างโว่” กรณีศึกษา : เทศบาลตำบลฟ้าฮ่าม อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ , การพัฒนาการเรียนรู้ครูการศึกษาพิเศษ โดยใช้เกมและการละเล่นพื้นบ้าน เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมสำหรับเด็กที่มีภาวะออทิซึมในห้องเรียนคู่ขนาน , แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มของอาหารท้องถิ่นภาคเหนือ เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน วิเคราะห์จากมุมมองผู้บริโภค , แนวทางการอนุรักษ์วัฒนธรรมดนตรีของชาวกะเหรี่ยง ตำบลบ้านจันทร์ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ , ภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนากับการเสริมสร้างสุขภาพผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลสะลวง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ , การสื่อสารศิลปะผ้าไหมสันกำแพง สู่การสร้างการตระหนักและสืบทอดวัฒนธรรม และการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมเพื่อการพัฒนาสื่อการจัดการเรียนรู้ โดยบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตในชุมชน
ทั้งนี้ อาจารย์ ดร.กัลยา ใจรักษ์ รองผู้อำนวยการสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดทำสื่อนวัตกรรมการศึกษาในครั้งนี้จะจัดทำในรูปแบบแอนิเมชั่น เน้นความน่าสนใจ สร้างความเข้าใจ ชวนติดตาม สามารถอธิบายองค์ความรู้จากงานวิจัยไปสู่ประชาชนที่สนใจ เพื่อให้สามารถนำความรู้จากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้จริง คาดว่านวัตกรรมทั้ง 11 เรื่อง จะแล้วเสร็จพร้อมเผยแพร่ในเดือนสิงหาคม 2560 และเผยแพร่บนเว็บไซต์ของมหาวิทยาลัย ตลอดจนเครือข่ายสังคมออนไลน์ของมหาวิทยาลัยต่อไป

ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ นักประชาสัมพันธ์ ม.ราชภัฏเชียงใหม่
ที่มาข้อมูล : สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ขอขอบคุณแฟ้มภาพ : งานประชาสัมพันธ์ มร.ชม. และภาพจากอินเทอร์เน็ต

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และ เป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th