มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมสานพลังประชารัฐจัดบรรยายพิเศษ “ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสานพลังสู่การพัฒนาท้องถิ่น”

 

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมสานพลังประชารัฐจัดบรรยายพิเศษ

“ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสานพลังสู่การพัฒนาท้องถิ่น”



ผศ.พรพิมล วงศ์สุข รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  เป็นประธานในพิธีเปิด การบรรยายพิเศษหัวข้อ ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อสานพลังสู่การพัฒนาท้องถิ่น เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ได้รับเกียรติจาก คุณฐาปน สิริวัฒนภักดี หัวหน้าทีมภาคเอกชน คณะทำงานการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ เป็นวิทยากรโดยมีคณะผู้บริหาร บุคลากร นักศึกษา และผู้แทนภาคประชาชน เข้าร่วมรับฟังการบรรยาย กว่า 600 คน

ด้วยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร มีพระราโชบาย ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏ 38 แห่ง ดำเนินการพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ของตนอย่างจริงจัง อีกทั้งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวไว้ในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบกับรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการมีนโยบายให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเข้าไปช่วยพัฒนาเพื่อทำงานในการยกระดับการศึกษาและพัฒนาท้องถิ่นในท้องที่ของตนตามพระบรมราโชบายดังนั้นมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จึงได้กำหนดจัดการบรรยายพิเศษดังกล่าวขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจให้ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนในท้องถิ่น ได้เรียนรู้การพัฒนาเศรษฐกิจน้อมนำแนวทางการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากตามกระแสพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ในเรื่องยุทธศาสตร์การพัฒนาขับเคลื่อนประเทศซึ่งเป็นการร่วมมือของทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาสังคม               ภาควิชาการและภาคประชาชนเพื่อร่วมกันขับเคลื่อนประเทศไปข้างหน้าทั้งระบบ ตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง จนถึงปลายทาง โดยมีเป้าหมายหลักในการสร้างรายได้ให้ชุมชนเพื่อให้ประชาชนมีความสุข พัฒนาเศรษฐกิจโดยใช้คุณธรรมนำความสามารถ ภายใต้ยุทธศาสตร์ประชารัฐในข้อตกลงจำนวน3ฉบับประกอบด้วยโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โครงการ1ตำบล 1 เอสเอ็มอี การเกษตรและโครงการเชื่อมโยงการค้าปลีก สินค้าเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว มาใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนมุ่งสร้างรายได้ที่ยั่งยืนให้แก่ชุมชนใน3กลุ่มงานได้แก่การเกษตร การแปรรูปผลิตภัณฑ์ชุมชน และการท่องเที่ยว โดยชุมชน ผ่าน5กระบวนการได้แก่การเข้าถึงปัจจัย การผลิต การสร้างองค์ความรู้ การตลาด การสื่อสารสร้างการรับรู้และการบริหารจัดการเพื่อความยั่งยืนร่วมกันทั้ง5ภาคส่วนรัฐ สนับสนุน เรื่องนโยบายโครงสร้างพื้นฐานสนับสนุนเงินทุนผ่านสถาบันการเงินภาครัฐตามหลักเกณฑ์การปล่อยเงินกู้ เอกชน ขับเคลื่อนช่วยเรื่องความรู้ด้านการบริหารจัดการการเชื่องโยงตลาด การทำแผนธุรกิจ สนับสนุนเงินทุนผ่านธนาคารพาณิชย์ และโครงการพี่ช่วยน้อง วิชาการ ให้องค์ความรู้ ช่วยเรื่องการค้นคว้าวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและวิชาการด้านการเกษตรและการแปรรูป ประชาสังคมสร้างความเข้มแข็ง ช่วยสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนและสร้างความเชื่อมโยงระหว่างชุมชน ประชาชนและธุรกิจชุมชน ลงมือทำเรียนรู้ เข้าใจ ต้องการและลงมือทำเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ เป็นผู้ผลิต ให้บริการ ดำเนินธุรกิจ ให้สรรพกำลังทั้งของภาครัฐ ภาคเอกชน ภาควิชาการ ภาคประชาสังคม และภาคประชาชนให้เป็นหนึ่งเดียวเพื่อเป็นสะพานที่จะนำพาชุมชนทั่วประเทศก้าวข้ามสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนตามปณิธานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


ภาพ : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน / นายวัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์  กองกลางสำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง  สำนักงานอธิการบดี





ประมวลภาพกิจกรรม (พัชริดา เขียวขุนเนิน) >> Click    

ประมวลภาพกิจกรรม (วัชระ ไทยบัณฑิตย์) >> Click    

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th