มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชิญร่วมรับฟังการบรรยาย มานุษยดนตรีวิทยาในช่วงเปลี่ยนผ่าน: จากประสบการณ์ดนตรีล้านนา

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชิญร่วมรับฟังการบรรยาย

มานุษยดนตรีวิทยาในช่วงเปลี่ยนผ่าน: จากประสบการณ์ดนตรีล้านนา

 

ภาควิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ขอเชิญร่วมฟังการบรรยาย เรื่อง มานุษยดนตรีวิทยาในช่วงเปลี่ยนผ่าน: จากประสบการณ์ดนตรีล้านนา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชารีอารี จากสำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเค้นท์สเตท รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นวิทยากร

ผู้สนใจสามารถเข้าร่วมรับฟังการบรรยายได้ ในวันที่ 1 พฤศจิกายน 2560 เวลา 8.30-12.00 น. ณ ห้องเอื้องสายส่องแสง ชั้น 3 สำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์ หมายเลขโทรศัพท์ 092-414-5963 และ อาจารย์ทรงพล เลิศกอบกุล หมายเลขโทรศัพท์ 082-481-4683

 

 

 

 

 

 

 

ประวัติวิทยากร

รองศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชารีอารี

(Assoc. Prof. Dr. Andrew Shahriari)

รองศาสตราจารย์ ดร.แอนดรูว์ ชารีอารี (Assoc. Prof. Dr. Andrew Shahriari) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขามานุษยดนตรีวิทยา (Doctor of Philosophy program in Ethnomusicology) จาก The Hugh A. Glauser School of Music, Kent State University รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. ๒๐๐๑/พ.ศ. ๒๕๔๔ ซึ่งเป็นสำนักวิชาดนตรีที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของโลกโดยเฉพาะสาขามานุษยดนตรีวิทยา (Ethnomusicology)

 

ดร.แอนดรูว์เขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเรื่อง Lanna Music and Dance: Image and Identity in Northern Thailand (ดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา: ภาพลักษณ์และอัตลักษณ์ในภาคเหนือของประเทศไทย) โดยการควบคุมของ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทอรี่ มิลเลอร์ (Prof. Emeritus Terry E. Miller) ซึ่งถูกตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ White Lotus นับเป็นชาวต่างชาติคนที่ ๒ ที่ศึกษาวิจัยเรื่องดนตรีล้านนา นอกจากนี้ ดร.แอนดรูว์ยังมีผลงานเขียนที่สำคัญ ได้แก่ World Music: A Global Journey ซึ่งเขียนร่วมกับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.เทอรี่ มิลเลอร์ และ Popular World Music by Shahriari ทั้งสองเล่มตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ Routledge สำนักพิมพ์วิชาการด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ชั้นนำของโลก

 

ดร.แอนดรูว์ มีประสบการณ์ในการศึกษาดนตรีภาคสนาม (fieldwork) ในประเทศต่างๆ เช่น ไทย จีน หลายประเทศในทวีปยุโรป แม็กซิโก และในสหรัฐอเมริกา ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์สาขามานุษยดนตรีวิทยา สำนักวิชาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยเค้นท์สเตท รัฐโอไฮโอ ประเทศสหรัฐอเมริกา นอกจากจะสอนในรายวิชาทางมานุษยดนตรีวิทยาแล้ว ดร.แอนดรูว์ยังสอนดนตรีล้านนาสำหรับรายวิชาดนตรีโลก (World Music) มีความสามารถในการบรรเลงดนตรีไทยและดนตรีล้านนา โดยเฉพาะพิณเปี๊ยะ

 

 

ภาพ – ข้อมูล : อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์ประจำภาควิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว: นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 


 

ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนาได้ที่นี่ >> Click    

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th