มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมรั้วดำเหลือง จัดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี 2561

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรมรั้วดำเหลือง จัดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์”

และมอบรางวัลเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี 2561






          ผศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดงาน “ข่วงผญาราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” เมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2561 ณ ลาน 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ 

          ในการนี้  ผศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล ยังได้มอบช่อดอกไม้เพื่อแสดงความยินดี แด่ พ่อครูบุญศรี รัตนัง เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี 2552 ในโอกาสได้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านล้านนา) ประจำปีพุทธศักราช 2560 และให้เกียรติมอบรางวัลและกล่าวแสดงความยินดีแด่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกเป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนา ประจำปี 2561 จำนวน 10 ท่าน ได้แก่

1. ดร.อุดมศักดิ์  ศักดิ์มั่นวงค์ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขา ส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านการเผยแพร่ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน

2. นายอรุณศิลป์ ดวงมูล ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะด้านเพลงพื้นบ้าน (ขับซอล่องน่าน)

3. นางวราภรณ์  ไชยวงค์ญาติ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา

4. นายอดุลย์  แสงคำ  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะ ด้านการทำโคมล้านนา

5.  นางสาวศันสนีย์  อินสาร  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ด้านการสืบสานดนตรีพื้นบ้านล้านนา

6. นางดวงกมล ใจคำปัน ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะด้านการทำเครื่องเขิน

7. นายจำลอง ปุระเสาร์  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะ ด้านเพลงพื้นบ้าน (ขับซอเชียงใหม่)

8. เจ้าเยาวพรรณ  ณ เชียงใหม่ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมด้านการออกแบบลายผ้า

9. นางจารุวรรณ  เหมืองจา  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านวรรณกรรมท้องถิ่น

และ 10. นายพลเทพ  บุญหมื่น  ได้รับการคัดเลือกให้เป็นเพชรราชภัฏเพชรล้านนาสาขาศิลปะ  ด้านการต้องลาย โคมและตุง




         



ผศ.สุชานาฎ สิตานุรักษ์ เปิดเผยว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการร่วมสืบสานอนุรักษ์ประเพณี ศิลปะและวัฒนธรรมล้านนา ในฐานะที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เป็นสถาบันอุดมศึกษาที่เก่าแก่ที่สุดในจังหวัดเชียงใหม่ด้วยอุดมการณ์ในการเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นจึงได้จัดงาน ข่วงผญาราชภัฏเชียงใหม่สืบสานงานศิลป์ขึ้น เพื่อร่วมสืบสานและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมประเพณีของชาวล้านนาให้คงอยู่สืบไปเป็นมรดกอันล้ำค่าที่ควรแก่การสืบทอดให้คงอยู่จนถึงเยาวชนคนรุ่นหลังภายในงานประกอบด้วยพิธีมอบรางวัลแด่ปราชญ์และครูภูมิปัญญาท้องถิ่นผู้สร้างสรรค์ผลงานอันโดดเด่นในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ในนาม เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา นิทรรศการองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมและการจัดแสดงผลงานภาพถ่ายเชิงวัฒนธรรมของนักศึกษาในหัวข้อ “วิถีล้านนาคุณค่าคู่ควรเมืองมรดกโลก” นิทรรศการคัมภีร์ใบลาน นิทรรศการด้านการอนุรักษ์ ต้นลาน ต้นหมาก สนองตามโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หรือ โครงการ อพ.สธ. การเสวนาองค์ความรู้จากใบลาน เรื่อง “ใบลานดิจิทัลกับสังคมและเศรษฐกิจยุคไทยแลนด์ 4.0 การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อการอนุรักษ์ “ปลูกหมาก ปลูกลาน ฝากไว้กับแผ่นดิน” การอบรมศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาพื้นบ้านล้านนา ได้รับความสนใจจากนักวิชาการ ประชาชน บุคลากร นักศึกษา ร่วมงานจำนวนมาก


 



























ภาพ – ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 


 

ประมวลภาพกิจกรรม >> Click    

 

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th