มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

หลักสูตรนาฏศิลป์ และหลักสูตรดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมแสดงผลงานนาฏศิลป์งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 19 " สืบสานวัฒนธรรม นาฏลีลาเฉลิมพระเกียรติพระราชาแห่งแผ่นดิน"

 

 

หลักสูตรนาฏศิลป์ และหลักสูตรดนตรีศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ร่วมแสดงผลงานนาฏศิลป์งานศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 19  

สืบสานวัฒนธรรม นาฏลีลาเฉลิมพระเกียรติพระราชาแห่งแผ่นดิน

 

 

เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2562  อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ  อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ อาจารย์ชัพวิญย์ ใจหาญ นำนักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์ ร่วมทำการแสดงในงาน                     ศิลปวัฒนธรรมอุดมศึกษาครั้งที่ 19 ซึ่งจัดขึ้น  ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์   เมื่อวันที่ 2 - 4 กุมภาพันธ์ 2562  โดยนำนาฏยนิพนธ์ ชุด "เกิกเกว้า วัฒนธรรมเผ่ากะเหรี่ยง" ซึ่งเป็นผลงานนาฏศิลป์สร้างสรรค์ที่คิดประดิษฐ์ขึ้น   โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 หลักสูตรนาฏศิลป์ ประการศึกษา 2561 ร่วมแสดง ภายใต้การควบคุม ของ อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ  อ่องแสงคุณ และ อาจารย์จักรกฤษณ์  แสนใจ โดยทำการศึกษาวิถีชีวิตของชาวประดองหรือกะเหรี่ยงคอยาว ที่มีอัตลักษณ์โดดเด่น คือ การสวมใส่ห่วงคอทองเหลือง แสดงนาฏลีลาผ่านท่วงท่านาฏศิลป์ บอกเล่าเรื่องราวของการดำเนินชีวิต อาทิเช่น ความเชื่อเรื่องการบูชาข้าว  การทอผ้า  การทำการเกษตรกร และการละเล่นสะบัดผ้า อันมีความหมายถึงการอำนวยพรและแสดงถึงความสนุกสนาน ประกอบทำนองเพลงที่กลุ่มนักศึกษาได้ประพันธ์ขึ้นใหม่มีชื่อเพลงว่า " เกิดเกว้า "

นอกจากนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์รณชิต แม้นมาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์บูรณพันธ์  ใจหล้า อาจารย์เมธินี  อ่องแสงคุณ อาจารย์ทรงพล เลิศกอบกุล ยังได้นำนักศึกษาหลักสูตรดนตรีศึกษา ร่วมแสดงการตีกลองสะบัดชัยซึ่งในสมัยโบราณเป็นการบอกสัญญาณเพื่อตีเอาฤกษ์เอาชัยในการออกรบ หรือ การทำศึกสงครามเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ  ปัจจุบันนำมาใช้แสดง และ ตีเพื่อเป็นการแสดง ถึงชัยชนะ และ ความเป็นมงคล ในระยะหลังผู้ตีจะเพิ่มลีลาการตี  โดยมีลักษณะโลดโผนเร้าใจ มีการใช้อวัยวะหรือส่วนต่างๆของร่างกาย เช่น เข่า ศีรษะ ศอก ประกอบในการตีด้วย  ทำให้การแสดงการตีกลองสะบัดชัยเป็นที่ประทับใจของผู้ที่ได้ชมจนเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวาง

เเละในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2562 หลักสูตรนาฏศิลป์นำนักศึกษาเข้าร่วมทำการแสดงในนามกลุ่มภาคเหนือ  ซึ่งประกอบด้วยสถาบันการศึกษากลุ่มภาคเหนือ 15 สถาบัน โดยคัดเลือกการแสดงชุด "ระบำซอ" จัดแสดง โดยมีจำนวนนักแสดงทั้งสิ้น 32 คน ระบำซอเป็นการแสดงที่ เกิดขึ้น เมื่อคราวที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณีเสด็จ เลียบมณฑลพายัพ  เมื่อราวปีพ.ศ 2469 โดยดำริของพระราชชายาเจ้าดารารัศมี  การแสดง"ระบำซอ"จะมีบทร้องเพื่อถวายพระเกียรติประกอบการขับร้องทำนองเพลงซอโยนก ซอเชียงแสน และซอยิ้น ซึ่งถือได้ว่าการแสดงชุดนี้ในปัจจุบันหารับชมได้ยากยิ่ง นับเป็นความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  ที่ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการถ่ายทอดศิลปะการแสดงอันงดงามตามเอกลักษณ์ล้านนาให้ปรากฎแก่สายตาชาวไทยและชาวต่างชาติ









ภาพ – ข้อมูล : อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ  อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และ ภาพจากมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์      

เรียบเรียงข่าวและเผยแพร่ : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่            


ประมวลภาพกิจกรรม >> Click    

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (ดี)         

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th