มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563

 


                    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563

                    ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดพิธียกย่องเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 โดยมีคณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 10 ท่าน อาจารย์ บุคลากร นักศึกษาและประชาชนทั่วไปเข้าร่วมงาน ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2563 ที่ผ่านมาซึ่งโครงการเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา เป็นโครงการเพื่อคัดสรรบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น เพชรราชภัฎ - เพชรล้านนา โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานและเป็นการสืบสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่สังคมล้านนา โดยมีเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 10 ท่าน ดังต่อไปนี้
            1. สาขาศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ (การสร้างปราสาทล้านนาเทินนกหัสดีลิงค์) ได้แก่ พระครูโสภณกิตติรักษ์
            2. สาขาคหกรรมศาสตร์ ด้านสิ่งทอพื้นเมือง ได้แก่ นายจันทร์คำ ปู่เป็ด
            3. สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (นาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา) ได้แก่ นายมานิตย์ เจริญเกษมทรัพย์
            4. สาขาการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ได้แก่ นางเสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง
            5. สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (นาฏศิลป์) ได้แก่ นางสารภี วีระกุล
            6. สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้แก่ นางคำมิ่ง อินสาร
            7. สาขาภูมิปัญญา ด้านการรักษาโรคและป้องกัน (หมอเมือง) ได้แก่ นางอัมพร ปัญญา
            8. สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (การขับซอล้านนา) ได้แก่ นางคำแสน แก้วสืบ
            9. สาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ นางสุพัตรา ไชยพรหม
            10. สาขาศิลปะ ด้านหัตถศิลป์ (การแกะสลักไม้พื้นบ้าน) ได้แก่ นายคำจันทร์ ยาโน
                    ทั้งนี้เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 นับว่าเป็นผู้ที่มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมใช้ความรู้ ความสามารถในสาขาของตนและให้บริการ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังเป็นผู้มีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีผลงานในสาขาที่ส่งเข้าพิจารณาไม่น้อยกว่า 10ปี และปัจจุบันยังมีการทำงานหรือผลงานอย่างต่อเนื่องมีผลงานที่ได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ซึ่งปรากฏในเชิงประจักษ์หรือมีผลงานที่เป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการศิลปะและวัฒนธรรม

ข่าว/ภาพ : นายวัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click







เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th