มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

นักศึกษาหลักสูตรดนตรีศึกษาและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมแสดงในพิธีเปิด Koyori Project 2021

29 มี.ค. 2564 โดย วัชราวรรณ กันทา
 

นักศึกษาหลักสูตรดนตรีศึกษาและนาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมแสดงในพิธีเปิด Koyori Project 2021


 

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 คณาจารย์และนักศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีศึกษาและสาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา พิธีเปิดโครงการวิจัยการอบรมเพื่อเพิ่มสมรรถนะด้านการออกแบบสร้างสรรค์ของผู้ประกอบการหัตถกรรมพื้นเมืองสำหรับตลาดในยุค New Normal (Creative Design Competency Enhancement of Local Craft Entrepreneurs for New Normal Market Workshop) หรือ Koyori Project 2021 ซึ่งเป็นโครงการยกระดับหัตถกรรมพื้นเมือง 8 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง แม่ฮ่องสอน เชียงราย พะเยา แพร่ และจังหวัดน่านน่าน โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เป็นประธาน ณ ห้องประชุมโพธิพุทธ ชั้น 4 อาคารเรียนรวมและศูนย์พัฒนาเทคโนโลยี เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาล้านนา คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา จังหวัดเชียงใหม่

 


สำหรับการแสดงดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนา ชุด “ล้านนาดุริยนาฏการสรีปี๋ใหม่เมือง” เป็นการบูรณาการดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนาของชาวบ้านในท้องถิ่น เป็นชุดการแสดงที่สื่อถึงวิถีชีวิตของชาวบ้านล้านนาในประเพณีปี๋ใหม่เมือง เช่น การฟ้อนเล็บ การฟ้อนก๋ายลาย การสรงน้ำพระ โดยนำเอาการแสดงในวิถีชีวิตชาวบ้านที่แฝงด้วยภูมิปัญญามาจัดรูปแบบการแสดงใหม่ นอกจากนี้ ดนตรียังใช้ดนตรีล้านนาแบบชาวบ้านที่สื่อถึง “เสียง” ในอดีต โดยบูรณาการการวิจัยเรื่องเสียงและวัฒนธรรมดนตรีล้านนามาแสดงใหม่ เช่น การใช้วงสะล้อซอซึง กลองมองเซิง กลองจุม การขับซอล้านนาเข้าเป็นชุดการแสดงที่เชื่อมประสานเป็นชุดเดียวกัน ใช้แนวคิด “รักษาของเดิม-เพิ่มเติมของเก่า-พัฒนาขึ้นใหม่ โดยใช้ฐานวัฒนธรรมเดิม” เพื่อนำเสนอคุณค่าภูมิปัญญาวัฒนธรรมดนตรีและนาฏศิลป์ล้านนาในรูปแบบบูรณาการทั้งองค์ความรู้ การวิจัย และการจัดการแสดง

 


ในการนี้ ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ ได้กล่าวส่วนหนึ่งในพิธีเปิดว่า ในพิธีเปิดงานครั้งนี้ มีกิจกรรมที่สะท้อนถึงวัฒนธรรมล้านนาที่สง่างาม เพลงโบราณ ดนตรี การฟ้อนเล็บ ที่ยังสืบทอดกันมาตั้งแต่โบราณ ที่มีการผสมผสานกับวัฒนธรรมตะวันตก เรามีความร่ำรวยทางด้านดนตรี ศิลปวัฒนธรรม ซึ่งคนธรรมดายังมองไม่เห็น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ศาสตราจารย์ นายแพทย์สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล เลขาธิการคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ รองศาสตราจารย์ศีลศิริ สง่าจิตร ผู้ปฏิบัติหน้าที่อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ได้ให้เกียรติบันทึกภาพกับคณาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ในโครงการช้างเผือกสามัคคีด้วย


 

ข่าว : อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาพ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา,  อาจารย์สงกรานต์ สมจันทร์ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 


ประมวลภาพกิจกรรม >> Click 


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th