มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มร.ชม. เดินหน้า ร่วมแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน เน้นการมีส่วนร่วม พื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน

 

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มร.ชม. เดินหน้า
ร่วมแก้ปัญหาไฟป่าหมอกควัน เน้นการมีส่วนร่วม พื้นที่ จ.แม่ฮ่องสอน





อาจารย์ ดร.ทัตพร คุณประดิษฐ์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (BRIC CMRU) พร้อมด้วยอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาสาขาวิชาชีววิทยา หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต ดำเนินโครงการลดการเกิดไฟป่าและหมอกควันโดยการจัดการทรัพยากรท้องถิ่น และการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน ตามแผนงาน Strategic Fund โปรแกรมที่ 7 โจทย์ท้าทายด้านทรัพยากร สิ่งแวดล้อม และการเกษตร กลุ่ม PM2.5 ซึ่งเมื่อวันที่ 29 – 30 ตุลาคม 2564 คณะทำงานได้เก็บข้อมูลในเขตป่าชุมชน เพื่อหาแนวทางการอยู่ร่วมกับธรรมชาติแบบเกื้อกูล เพิ่มพื้นที่ปลอดไฟ สร้างการขับเคลื่อนการแก้ปัญหาการเกิดไฟที่จุดกำเนิดโดยชุมชน พื้นที่บ้านนาปลาจาด ต.นาปลาจาด อ.เมือง และบ้านปางคาม ต.ปางมะผ้า อ.ปางมะผ้า โอกาสนี้ ได้เข้าพบ นายสุวิทย์ นิยมมาก รักษาราชการแทนผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จังหวัดแม่ฮ่องสอน และนายปกรณ์ จีนาคำ นายกเทศมนตรีเมืองแม่ฮ่องสอน เพื่อร่วมประชุมปรึกษาหารือพร้อมนำเสนอ กรอบการวิจัยการแก้ไขปัญหาหมอกควัน ไฟป่าในจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 13 – 14 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ได้ลงพื้นที่บ้านแม่อูคอหลวง ต.แม่อูคอ อ.ขุนยวม และบ้านห้วยไก่ป่า ต.แม่ลาหลวง อ.แม่ลาน้อย ในการลงพื้นที่ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากผู้ใหญ่บ้าน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปราชญ์ชาวบ้าน รวมถึงสมาชิกในชุมชน และในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนธันวาคม คณะทำงานมีกำหนดลงพื้นที่บ้านแม่ทะลุ ต.สบเมย อ.สบเมย, บ้านไร่ ต.แม่สะเรียง อ.แม่สะเรียง และบ้านเวียงเหนือ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย เพื่อดำเนินโครงการให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในเรื่องการตัดวงจรไฟป่าเพื่อการลดหมอกควันโดยการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ชุมชน และแนวกันไฟเปียก ความหลากหลายทางชีวภาพของป่า การใช้ประโยชน์ เพื่อการกำหนดขอบเขตการจัดการขอบเขตป่าชุมชน ปลอดการเผาในพื้นที่ การแปรสภาพเศษวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรในท้องถิ่นให้เป็นปุ๋ยจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อทดแทนการใช้สารเคมี ลดการเผาที่จุดกำเนิด และการลดการเกิดไฟป่า โดยกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษา การบริหารจัดการทรัพยากรท้องถิ่นโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
สำหรับการลงพื้นที่ทางทีมงานของศูนย์ฯ ได้ปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยทุกคนได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม ทำการตรวจ ATK ภายใน 48 ชั่วโมง เมื่อเข้าพบผู้นำชุมชน หลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่เสี่ยงมีกลุ่มคนจำนวนมาก ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกาย และดูแลสุขอนามัยส่วนตัวเพื่อส่วนรวมอย่างเคร่งครัด



























ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ นักประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
ภาพ : ศูนย์ความเป็นเลิศด้านความหลากหลายทางชีวภาพในท้องถิ่น มร.ชม.

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th