มร.ชม. ร่วมกับ มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคลโครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ เปิดเวทีซักซ้อมความเข้าใจในมติคณะรัฐมนตรี
มร.ชม. ร่วมกับ
มูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคลโครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ
เปิดเวทีซักซ้อมความเข้าใจในมติคณะรัฐมนตรี
เรื่องการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานาน
และกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร
เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2567 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มอบหมายให้ ผศ.สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดเวทีซักซ้อมความเข้าใจในมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 29 ตุลาคม 2567 เรื่องการแก้ไขปัญหาสัญชาติและสถานะบุคคลที่อพยพเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรเป็นเวลานานและกลุ่มบุตรที่เกิดในราชอาณาจักร ณ ห้องประชุมเอื้องคำ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว โดยมี ผู้แทนกรมการปกครองกระทรวงมหาดไทย, ผู้แทนสภาความมั่นคงแห่งชาติ, ผู้แทนคณะกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ, ผู้แทนสำนักทะเบียนอำเภอ จังหวัด, ผู้อำนวยการมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล, นักวิชาการ, องค์กรภาคประชาสังคม และผู้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการฯ คณะทำงานและ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จำนวน 150 คน เข้าร่วม โดยการสนับสนุนจากมูลนิธิเครือข่ายสถานะบุคคล โครงการคุ้มครองสิทธิเด็กไร้รัฐไร้สัญชาติ
ผศ.สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี กล่าวว่า "ปัญหาเรื่องสิทธิและสถานะบุคคล เป็นปัญหาหนึ่งที่ส่งผลกระทบในหลายด้านต่อบุคคลที่ไม่มีสถานะที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้ว่าจะมีแนวทางการแก้ไขปัญหาไปบ้างแล้ว การสร้างความเข้าใจให้กับผู้ปฏิบัติงาน ได้มีการวิเคราะห์ข้อมูล ข้อเท็จจริง ตีความและสันนิษฐานเอกสาร พยาน บุคคล ตลอดจนคำสั่ง ระเบียบต่าง ๆ แล้วจะนำไปสู่การพิจารณาสถานะของบุคคลผู้ที่ยื่นคำร้องและสร้างความมั่นใจให้กลุ่มผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติตามกฎหมายอย่างถูกต้อง จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพและสามารถช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายผู้ที่มีปัญหาสถานะบุคคลได้อย่างรวดเร็วปัจจุบันนับว่าเป็นเรื่องที่ดี ที่หน่วยงานทั้งองค์กรภาครัฐ และภาคเอกชนได้บูรณาการกระบวนการทำงานร่วมกัน ทั้งการให้ความรู้ สร้างความเข้าใจ กับผู้ปฏิบัติงาน และจัดเวทีให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับทางทะเบียน คนทำงานภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพราะการแก้ไขปัญหาสิทธิและสถานะบุคคลให้ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจำเป็นที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ผลักดันให้เกิดแนวทางนโยบายรองรับและเร่งรัดการแก้ไขปัญหาโดยคำนึงถึงหลักสิทธิมนุษยชน ความมั่นคงของมนุษย์และความมั่นคงแห่งชาติ"
ภาพ
- ข้อมูลข่าว : นายคำแสน สองแดน
กองพัฒนานักศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว
: นางพัชริดา ชื่นมาโนช
นักประชาสัมพันธ์
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่\