มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

อำนาจและหน้าที่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

​พระราชบัญญัติ - พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547

ตามมาตรา 7 และมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ. 2547 มหาวิทยาลัยเป็นสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

ที่เสริมสร้างพลังปัญญาของแผ่นดิน ฟื้นฟูพลังการเรียนรู้ เชิดชูภูมิปัญญาของท้องถิ่น สร้างสรรค์ศิลปวิทยาเพื่อความเจริญก้าวหน้าอย่างมั่นคงและยั่งยืนของปวงชน
มีส่วนร่วมในการจัดการการบำรุงรักษาการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุลและยั่งยืนโดยมีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา
ส่งเสริมวิชาการและวิชาชีพชั้นสูง ทำการสอน วิจัย ให้บริการทางวิชาการแก่สังคม ปรับปรุงถ่ายทอด และพัฒนาเทคโนโลยีทะนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
ผลิตครูและส่งเสริมวิทยฐานะครู ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตาม มาตรา 7 ให้กำหนดภาระหน้าที่ของมหาวิทยาลัยดังต่อไปนี้

                (1) แสวงหาความจริงเพื่อสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ บนพื้นฐานของภูมิปัญญาท้องถิ่น ภูมิปัญญาไทย และภูมิปัญญาสากล

                (2) ผลิตบัณฑิตที่มีความรู้คู่คุณธรรม สำนึกในความเป็นไทย มีความรักและผูกพันต่อท้องถิ่น อีกทั้งส่างเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตในชุมชน เพื่อช่วย
ให้คนในท้องถิ่นรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลง
การผลิตบัณฑิตดังกล่าวจะต้องให้มีจำนวนและคุณภาพสอดคล้องกับแผนการผลิตบัณฑิตของประเทศ

                (3) เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่าความสำนึกและความภูมิใจในวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ

                (4) เรียนรู้และเสริมสร้างความเข้มแข็งของผู้นำชุมชน ผู้นำศาสนาและนักการเมืองท้องถิ่นให้มีจิตสำนึกประชาธิปไตยคุณธรรม จริยธรรม และความสามารถในการบริหารงานพัฒนาชุมชนและท้องถิ่นเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม

                (5) เสริมสร้างความเข็มแข็งของวิชาชีพครูผลิตและพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง

                (6) ประสานความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างมหาวิทยาลัย ชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและองค์กรอื่นทั้งในและต่างประเทศเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น

                (7) ศึกษาและแสวงหาแนวทางพัฒนาเทคโนโลยีพื้นบ้านและเทคโนโลยีสมัยใหม่ให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิต

และการประกอบอาชีพของคนในท้องถิ่น รวมถึงการแสวงหาแนวทางเพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการการบำรุงรักษาและการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อมอยางสมดุลและยั่งยืน

               (8) ศึกษาวิจัย ส่งเสริมและสืบสานโครงการอันเนื่องมาจากแนวพระราชดำริในการปฏิบัติภารกิจของมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น


    วิสัยทัศน์และพันธกิจ



    ปรัชญา

           การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่น

    วิสัยทัศน์

    “เป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับประเทศในการผลิตและพัฒนาครู และเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”

    พันธกิจ

    เพื่อให้การพัฒนามหาวิทยาลัยนำไปสู่วิสัยทัศน์ ได้กำหนดพันธกิจหลักไว้ 5 ด้าน ได้แก่

    1. เสริมสร้างความเข้มแข็งของวิชาชีพครู ผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและมาตรฐานที่เหมาะสมกับการเป็นวิชาชีพชั้นสูง
    2. ผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพและมาตรฐานวิชาชีพ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน
    3. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ ด้วยการวิจัยและการบริการวิชาการ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน น้อมนำแนวพระราชดำริ
    4. เสริมสร้างความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึก และความภูมิใจในศิลปะ และวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
    5. พัฒนาระบบบริหารจัดการของมหาวิทยาลัยให้มีประสิทธิภาพ โดยยึดหลักธรรมาภิบาลและการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี

    วัตถุประสงค์

    1. เพื่อผลิตและพัฒนาครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพและได้มาตรฐานวิชาชีพ
    2. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีอัตลักษณ์และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตรงกับความต้องการของตลาดแรงงาน ตลอดจนสร้างโอกาสทางการศึกษา โดยร่วมมือกับองค์กรทั้งในและต่างประเทศ
    3. เพื่อนำองค์ความรู้และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ จากการวิจัย และการบริการวิชาการสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน น้อมนำแนวพระราชดำริ
    4. เพื่อให้นักศึกษา บุคลากร และผู้สนใจ มีความรู้ความเข้าใจในคุณค่า ความสำนึกและความภูมิใจในศิลปะและวัฒนธรรมของท้องถิ่นและของชาติ
    5. เพื่อให้การบริหารมหาวิทยาลัยเป็นไปตามหลักธรรมาภิบาลและการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
    cmru
    cmru

    ค่านิยมหลัก

    ค่านิยมหลัก (Core value) ที่ยึดถือใช้กันมาในมหาวิทยาลัยจนกลายเป็นวัฒนธรรมองค์กร ซึ่งเป็น ตัวสนับสนุนหรือชี้นำการตัดสินใจของสมาชิกทุกคน มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิเคราะห์ค่านิยมหลักของ มหาวิทยาลัย จากผูเ้ข้าร่วมการประชุมสัมมนา รวม 117 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก รองผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก ผู้อำนวยการกอง หัวหน้าสำนักงาน ผู้อำนวยการสำนักงาน/ศูนย์ หัวหน้าภาควิชา คงค่านิยมหลักของมหาวิทยาลัย ดังนี้

           C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
           M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
           R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
           U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

    อัตลักษณ์

    อัตลักษณ์ (Identity) หมายถึง ผลผลิตของผู้เรียนตามปรัชญา ปณิธาน พันธกิจ และวัตถุประสงค์ ของการจัดตั้งมหาวิทยาลัย ที่ได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัย การดำเนินการเพื่อให้ได้มา ซึ่งอัตลักษณ์ มหาวิทยาลัยได้ดำเนินการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม ความเป็นมาของมหาวิทยาลัย และเจตนารมณ์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัย “บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน” ทักษะชีวิต หมายถึง ความสามารถของบัณฑิตในการปรับตัวรู้เท่าทันกับการเปลี่ยนแปลง และเลือก ทางเดินชีวิตที่เหมาะสม เพื่อดำรงชีวิตและประกอบอาชีพ รวมทั้งสามารถเผชิญปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัว ในสภาพสังคมปัจจุบัน และเตรียมพร้อมสำหรับอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประกอบด้วยทักษะ 10 ประการ ดังนี้
          1. ทักษะการตัดสินใจ
          2. ทักษะการแก้ปัญหา
          3. ทักษะการคิดสร้างสรรค์
          4. ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
          5. ทักษะการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
          6. ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
          7. ทักษะการตระหนักรู้ในตน
          8. ทักษะการเข้าใจผู้อื่น
          9. ทักษะการจัดการกับอารมณ์
          10.ทักษะการจัดการกับความเครียด

    จิตสาธารณะ หมายถึง บัณฑิตมีจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม ตระหนักรู้ และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน ช่วยเหลือสังคม ไม่ทำให้ผู้อื่นหรือสังคมเดือดร้อนได้รับความเสียหาย

    สู้งาน หมายถึง บัณฑิตมีความมุ่งมั่น ตั้งใจ ขยัน มานะ อดทน มีความเพียรพยายาม มีวินัย มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความรับผิดชอบในหน้าที่การงาน

    คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

    บัณฑิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และ เป็นพลเมืองดี (5 ดี)
          • คนดี หมายถึง บัณฑิตมีความสุภาพอ่อนน้อม กตัญญูรู้คุณ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทน มีสำนึกรักท้องถิ่นและความเป็นไทย
          • ความรู้ดี หมายถึง บัณฑิตรู้จักแสวงหาความรู้ มีความรู้และประสบการณ์ในสาขาวิชาที่ศึกษาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตได้อย่างเหมาะสม
          • บุคลิกภาพดี หมายถึง บัณฑิตมีลักษณะท่าทาง การพูดจา การแต่งกายดี มีมนุษยสัมพันธ์ การวางตัวได้เหมาะสมกับกาลเทศะ และมีความเข้าใจในวัฒนธรรมข้ามชาติ
          • สุขภาพดี หมายถึง บัณฑิตมีสุขภาวะที่ดีครบทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ สุขภาวะกาย สุขภาวะจิต สุขภาวะสังคม และสุขภาวะปัญญา
          • พลเมืองดี หมายถึง บัณฑิตมีวินัย มีความรับผิดชอบ เคารพกฎระเบียบของสังคม เสียสละ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ทำงานร่วมกับบุคคลอื่นได้และคำนึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าส่วนตน

    เอกลักษณ์

    เอกลักษณ์ (Uniqueness) หมายถึง ความสำเร็จตามจุดเน้นและจุดเด่นที่สะท้อนให้เห็นเป็น ลักษณะโดดเด่นเป็นหนึ่งของมหาวิทยาลัย จากการวิเคราะห์เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัยของผู้เข้าร่วม ประชุมสัมมนา จำนวนทั้งสิ้น 117 คน ซึ่งประกอบด้วย อธิการบดี รองอธิการบดี ผู้ช่วยอธิการบดี คณบดี รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี ผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก รองผู้อำนวยการสถาบัน/สำนัก หัวหน้าภาควิชา หัวหน้า สำนักงาน ผู้อำนวยการกอง/สำนักงาน/ศูนย์ และกองนโยบายและแผน ปฏิบัติหน้าที่ในการประชุม ได้ข้อสรุปเพื่อกำหนดให้เป็นเอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ

    เอกลักษณ์ของมหาวิทยาลัย คือ “สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น”



รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th