การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
Tweet
การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
ปีงบประมาณ พ.ศ.2558
ที่ | หัวข้อกิจกรรม/โครงการ | ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม | สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม | ผลจากการมีส่วนร่วม | การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน | Link ข่าว/ภาพ |
1. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นมิติเชิงพื้นที่ จัดพิธีเปิดกิจกรรมการพัฒนาตลาดชุมชนเชิงสร้างสรรค์ฯ ภายใต้โครงการ San Kamphaeng Model | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นมิติเชิงพื้นที่ จัดพิธีเปิดกิจกรรมการพัฒนาตลาดชุมชนเชิงสร้างสรรค์ฯ ภายใต้โครงการ San Kamphaeng Model กิจกรรมการพัฒนาตลาดชุมชนเชิงสร้างสรรค์เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน เป็นการพัฒนาตลาดชุมชนสร้างสรรค์ คือร้านค้าโอทอปสันกำแพง ที่เครือข่ายผู้ประกอบการเครือข่าย OTOP สันกำแพงร่วมกันวิเคราะห์ วางแผน และลงมือทำร่วมกันระหว่างพื้นที่ ได้แก่ สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสันกำแพง ศูนย์แสดงจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP ข่วงสันกำแพง หน่วยงานท้องถิ่น เครือข่ายผู้ประกอบการโอทอปอำเภอสันกำแพง และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาให้รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยใช้พื้นที่ศูนย์แสดงจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP ข่วงสันกำแพง เป็นที่ตั้งร้านค้า และบริหารจัดการร้านค้าโดยคณะกรรมการสมาชิกเครือข่าย OTOP สันกำแพง | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ประชาชน ผู้ประกอบการรวมประมาณ 100 คน | ความร่วมมือในการการพัฒนาตลาดชุมชนสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจฐานรากของชุมชน ร้านค้าโอทอปสันกำแพง | เพิ่มช่องทางการตลาดเผยแพร่ประชาสัมพันธ์มรดกทางภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนาให้รู้จักอย่างกว้างขวาง โดยใช้พื้นที่ศูนย์แสดงจำหน่ายและกระจายสินค้า OTOP ข่วงสันกำแพง เป็นที่ตั้งร้านค้า และบริหารจัดการร้านค้าโดยคณะกรรมการสมาชิกเครือข่าย OTOP สันกำแพง | >>Click<< |
2. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่เรียนรู้การทำเครื่องเขิน ณ ชุมชนวัดนันทาราม เพื่อนำองค์ความรู้จัดทำบทบรรยายสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ลงพื้นที่เรียนรู้การทำเครื่องเขิน ณ ชุมชนวัดนันทาราม เพื่อนำองค์ความรู้จัดทำบทบรรยายสื่อประชาสัมพันธ์ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำนักศึกษาลงพื้นที่ ณ ชุมชนวัดนันทาราม เพื่อเรียนรู้กระบวนการการทำเครื่องเขิน และฝึกปฏิบัติทดลองทำเครื่องเขิน โดยได้รับเกียรติจาก แม่ครูประทิน ศรีบุญเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องเขินของชุมชนวัดนันทาราม เป็นวิทยากร โดยมี พ่อไชยพล แสนมโน ให้การต้อนรับและอำนวยความสะดวกให้กับนักศึกษาตลอดกิจกรรม โดยข้อมูลจะนำมาออกแบบบทบรรยาย (script) สำหรับฝึกทักษะเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ในสตูดิโอ และบทสำหรับฝึกทักษะการออกแบบเสียงสำหรับการบรรยายคลิปวิดีโอ และคัดเลือกชิ้นงานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของคนในชุมชนส่งมอบให้กับชุมชนนันทาราม เพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่อไป | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่นักศึกษา ประชาชน รวมประมาณ 30 คน | ได้ข้อมูลนำมาออกแบบบทบรรยาย (script) สำหรับฝึกทักษะเป็นผู้ดำเนินรายการโทรทัศน์ในสตูดิโอ และบทสำหรับฝึกทักษะการออกแบบเสียงสำหรับการบรรยายคลิปวิดีโอ และคัดเลือกชิ้นงานที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของคนในชุมชนส่งมอบให้กับชุมชนนันทาราม เพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่อไปส่งมอบให้กับชุมชนนันทาราม เพื่อนำไปเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวต่อไป | ได้สื่อประชาสัมพันธ์ สร้างประโยชน์แก่ชุมชน | >>Click<< |
3. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมดำเนินโครงการ ยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม “วิศวกรสังคมยกระดับนวัตกรรมชุมชนเวียงท่ากานโมเดล” | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมดำเนินโครงการ ยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม “วิศวกรสังคมยกระดับนวัตกรรมชุมชนเวียงท่ากานโมเดล” มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา ร่วมดำเนินโครงการยกระดับนวัตกรรมชุมชนด้วยกระบวนการวิศวกรสังคม “วิศวกรสังคมยกระดับนวัตกรรมชุมชนเวียงท่ากานโมเดล” ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมุ่งสร้างนักศึกษาให้มีคุณสมบัติของวิศวกรสังคม ประกอบด้วยทักษะ 4 ประการของวิศวกรสังคม ได้แก่ ทักษะในการคิดวิเคราะห์เชิงเหตุผล ทักษะในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ทักษะในการสื่อสาร นำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ และทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่น ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพ มีสมรรถนะสูงในการทำงานกับชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่ำงยั่งยืน สามารถสร้างและใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศให้มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นกำลังสำคัญให้กับท้องถิ่นต่อไป | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา รวมประมาณ 80 คน | ทำให้ได้บุคลากรที่มีคุณภาพมีสมรรถนะสูงในการทำงานกับชุมชน มีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน | นำความรู้ที่เรียนไปใช้ประโยชน์ และทักษะในการสร้างนวัตกรรม เพื่อแก้ปัญหาให้กับชุมชนท้องถิ่น สร้างและใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด | >>Click<< |
4. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนตัวอย่าง “ด้วยรัก(ษ์)ถิ่น จึงต้องก้าวสู่โลกกว้าง” | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ร่วมกับ โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น บูรณาการการดำเนินกิจกรรม และหลักสูตรสังคมศึกษา จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ชุมชนตัวอย่าง “ด้วยรัก(ษ์)ถิ่น จึงต้องก้าวสู่โลกกว้าง” ณ ศูนย์การเรียนรู้วัฒนธรรมผ้าทอกะเหรี่ยง บ้านหล่ายแก้ว อ.ดอยเต่า จ.เชียงใหม่ เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น กิจกรรมประกอบด้วย การนำเสนอแรงบันดาลใจและแนวทางในการพัฒนาทุนทางวัฒนธรรม เพื่อเสริมสร้างคุณค่าและมูลค่า วิทยากรโดยพ่อครูจันทร์คำ ปู่เป็ด (พ่อครูตุ้ย) เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา และปราชญ์ท้องถิ่นด้านผ้าทอกะเหรี่ยงแห่งบ้านหล่ายแก้ว เป็นผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับผ้าทอของชาวกะเหรี่ยง แรงบันดาลใจในการอนุรักษ์ สืบสาน ต่อยอด และความสำเร็จในการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงสู่สากล นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมฐานการเรียนรู้ ได้แก่ ฐานการเรียนรู้การเก็บผ้าย การอีดฝ้าย การปั่นฝ้าย การย้อมสีฝ้ายจากสีธรรมชาติ การทอผ้า การออกแบบผลิตภัณฑ์ แนวทางการตลาดในโลกยุคดิจิทัล และการเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ผ้าหล่ายแก้ว โดยพ่อครู – แม่ครูในชุมชน เป็นผู้ให้ความรู้ สาธิต และแลกเปลี่ยนแนวทางการพัฒนากับนักศึกษา | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่นักศึกษา ประชาชน ในชุมชน รวมประมาณ 100 คน | นักศึกษาได้เรียนรู้แนวทางในการพัฒนารูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการพัฒนาชุมชนด้วยทุนทางวัฒนธรรมในท้องถิ่น | สืบสาน ต่อยอด ในการนำผลิตภัณฑ์ผ้าทอกะเหรี่ยงสู่สากล | >>Click<< |
5. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดเทศกาลศิลปวัฒนธรรม
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ครั้งที่ 1 ณ วัดเชียงโฉม (เจดีย์ปล่อง)
เป็นกิจรรมหนึ่งของโครงการ การประชุมวิชาการระดับชาติ
ศิลปวัฒนธรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น "คัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารโบราณ | คณะผู้บริหาร อาจารย์ บุคลากร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คณะกรรมการขับเคลื่อนการฟื้นคืนจิตวิญญาณเมืองเชียงใหม่ ภาคีเครือข่ายศิลปะและวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ตลอดจนประชาชนทั่วไป รวมประมาณ 100 คน | ความร่วมมือในการบูรณาการองค์ความรู้หรือภูมิปัญญาที่เกี่ยวข้องจากคัมภีร์ใบลาน พับสา และเอกสารโบราณ มาบูรณาการ ประยุกต์ใช้ สร้างสรรค์และเผยแพร่ เพื่อการส่งเสริมอาชีพ การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่น | การสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และการสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของท้องถิ่นหรือชาติ โดยมีเป้าหมายในการพัฒนา "ย่านช้างเผือก หัวเวียงเชียงใหม่" | >>Click<< |
6. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ สร้างการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพให้แก่นักศึกษาและประชาชนในพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างการเรียนรู้แบบสหวิชาชีพ (Inter-professional education) ผ่านมุมมองและประสบการณ์การป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าของวิชาชีพอื่นๆ ให้แก่นักศึกษาและประชาชนในพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็ก โดยผู้เข้าร่วมอบรมได้เรียนรู้ทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการดูแลแผลที่ถูกสุนัขกัด การเรียนรู้เกี่ยวกับระบาดวิทยาและการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน การสร้างเสริมความรอบรู้ด้านสุขภาพและสร้างแกนนำชุมชนด้านการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า การป้องกันและควบคุมโรคพิษสุนัขบ้า นอกจากนี้ ยังมีการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการทักษะการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการดูแลแผลที่ถูกสุนัขกัดให้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครปศุสัตว์ ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและบริหารกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่นักศึกษา ประชาชน อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและอาสาสมัครปศุสัตว์ ในพื้นที่สะลวง-ขี้เหล็กรวมประมาณ 100 คน | ความร่วมมือในการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าและการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน | พัฒนาทักษะการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการดูแลแผลที่ถูกสุนัขกัด ระบาดวิทยาและการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา โรคพิษสุนัขบ้าในชุมชน ทักษะการป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า และการปฐมพยาบาลเบื้องต้นในการดูแลแผลที่ถูกสุนัขกัด | >>Click<< |
7. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดอบรมโครงการผู้สัมผัสอาหาร | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดอบรมโครงการผู้สัมผัสอาหาร ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 ให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายสำคัญที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร รวมถึงประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง และ ให้ความรู้เกี่ยวกับการสุขาภิบาลอาหารและเทคนิคการตรวจด้านเคมีแก่ผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 37 คน | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร จำนวน 37 คน | ความร่วมมือเกี่ยวกับการประกอบและสัมผัสอาหาร | พัฒนาผู้ประกอบการในการการประกอบและสัมผัสอาหาร | >>Click<< |
ปีงบประมาณ พ.ศ.2557
ที่ | หัวข้อกิจกรรม/โครงการ | ประเด็นหรือเรื่องในการมีส่วนร่วม | สรุปข้อมูลของผู้มีส่วนร่วม | ผลจากการมีส่วนร่วม | การนำผลจากการมีส่วนร่วมไปปรับปรุงพัฒนาการดำเนินงานของหน่วยงาน | Link ข่าว/ภาพ |
1. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมด้วยคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นำนักศึกษาภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม นักศึกษาภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม ตัวแทนนักศึกษาสโมสรนักศึกษา และนักศึกษาอาสาสมัครจากประเทศญี่ปุ่น ลงพื้นที่ร่วมกับประชาชนในชุมชนบ้านสันคะยอม ดำเนินกิจกรรมวิศวกรสังคม พัฒนาที่อยู่อาศัยให้กับผู้สูงอายุที่มีภาวะเจ็บป่วยให้ได้รับความปลอดภัยและมีความสะดวกเพิ่มขึ้น ณ บ้านสันคะยอม ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษานักศึกษาอาสาสมัครจากประเทศญี่ปุ่น ประชาชนในชุมชนบ้านสันคะยอม รวมประมาณ 30 คน | ผู้สูงอายุในพื้นที่ที่มีภาวะเจ็บป่วยได้รับความปลอดภัยและมีความสะดวกเพิ่มขึ้น | พัฒนาทักษะการคิด การสื่อสารการประสานและการสร้างนวัตกรรมให้กับนักศึกษาโดยมีชุมชนเป็นสถานที่บ่มเพาะนอกจากนี้ยังช่วยสร้างจิตสำนึก | >>Click<< |
2. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จับมือเทศบาลตำบลสันผักหวาน
ร่วม MOU เพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศ | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ โดยศูนย์ปฏิบัติการ | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เทศบาลตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ รวมประมาณ 30 คน | ความร่วมมือในการดำเนินโครงการหรือกิจกรรมด้านวิชาการ และการบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ที่ดีของชุมชนเทศบาลตำบลสันผักหวาน อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ | พัฒนาการบริการวิชาการเพื่อส่งเสริมคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อม | >>Click<< |
3. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับหน่วยตรวจประเมินมาตรฐานเกษตรและอาหารสากล (OneCert) หารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ระบบมาตรฐานสากล | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยบัณฑิตวิทยาลัยจัดการประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการ กับ Mr.Sandeep Bhargava (CEO & Director of OneCert International Pvt. Ltd.) Mrs.Leena Bhargava (Alternate Directio of OneCert International Pvt. Ltd. และคณะ ประชุมหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระบบความปลอดภัยด้านอาหาร และการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านอาหารแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาทั้งปริญญาโทและปริญญาเอก | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ หน่วยตรวจประเมินมาตรฐานเกษตรและอาหารสากล (OneCert) รวมประมาณ 13 คน | ข้อคิดเห็นแนวทางในการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระบบความปลอดภัยด้านอาหาร และการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านอาหารแก่นักศึกษา | พัฒนาการถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับระบบมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ระบบความปลอดภัยด้านอาหาร และการสร้างความมั่นคงและยั่งยืนทางด้านอาหารแก่นักศึกษา | >>Click<< |
4. | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ ทต.เมืองเล็น - ทต.หนองแหย่ง MOU ผนึกกำลัง ส่งเสริม-สนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการการบริการวิชาการ บูรณาการทำงานร่วมกันเพื่อยกระดับการจัดการคุณภาพอากาศที่ดีให้กับชุมชน | มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยศูนย์ปฏิบัติการ | มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่เทศบาลตำบลเมืองเล็นและเทศบาลตำบลหนองแหย่ง | ความร่วมมือในการจัดการคุณภาพอากาศ การบูรณาการเพื่อขับเคลื่อนสร้างความตระหนัก ป้องกัน แก้ไขปัญหาหมอกควันและการเผาควันไฟป่าของชุมชน รวมทั้งการใช้ข้อมูลจากเทคโนโลยีสารสนเทศ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ | พัฒนาการจัดการคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมที่ดีให้กับชุมชนในเขตเทศบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพ | >>Click<< |
ปีงบประมาณ พ.ศ.2556
- ข่าวสารสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
- รายงานการประชุม
- ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ในนามหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (SID-AT UN) ปีงบประมาณ 2566 จัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อขอรับการสนับสนุน “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคลองแม่ข่า” รอบตัดสิน (Pitching)
- คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดพิธีมอบประกาศนียบัตร โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (Non-Degree) สาขานวัตกรรมเกษตรอินทรีย์
- มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมหารือกับ SAFE Network ในโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัย
- บริษัท ปตท. (จำกัด) มหาชน ร่วมกับ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ติดตามการดำเนินงานโครงการพัฒนายกระดับสินค้าในโครงการนวัตกรรมสร้างรอยยิ้ม กลุ่ม ปตท. ลงพื้นที่ ตำบลท่าลาด อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม
ปีงบประมาณ พ.ศ.2555 |
|