มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ในนามหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (SID-AT UN) ปีงบประมาณ 2566 จัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อขอรับการสนับสนุน “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคลองแม่ข่า” รอบตัดสิน (Pitching)

26 เม.ย. 2566 โดย วัชราวรรณ กันทา
 

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ในนามหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม

เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (SID-AT UN) ปีงบประมาณ 2566

จัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อขอรับการสนับสนุน “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคลองแม่ข่า” รอบตัดสิน 



เมื่อวันที่ 24 เมษายน 2566 วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในนามหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม เพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน (SID-AT UN) ปีงบประมาณ 2566 จัดเวทีการนำเสนอผลงานเพื่อขอรับการสนับสนุน “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคลองแม่ข่า” รอบตัดสิน (Pitching) ในรูปแบบการนำเสนอออนไลน์ ผ่านโปรแกรม Zoom meeting โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมฯ กล่าวต้อนรับคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พร้อมทั้งรายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาของหน่วย SID-AT UN ในการนี้ อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาตัดสินผลงาน โดยมีคณะกรรมการร่วมพิจารณา ได้แก่ คุณคุณาวุฒิ บุญญานพคุณ ผู้อำนวยการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน), ดร.อำพล อาภาธนากร ผู้จัดการฝ่ายนวัตกรรมเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) รวมทั้งคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ พริบไหว คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์ รองผู้อำนวยการหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยและการสร้างนวัตกรรม (บพค.), คุณฐนาทัศน์ โสภณอนันต์ชัย คณะกรรมการผู้แทนจากภาคเอกชน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.หทัยทิพย์ สินธุยา คณบดีวิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย หัวหน้าหน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคมเพื่อนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ปฏิบัติหน้าที่เป็นเลขานุการในการประชุมพิจารณาตัดสินผลงาน


เวทีการนำเสนอผลงานเพื่อขอรับการสนับสนุน “นวัตกรรมเพื่อพัฒนาคลองแม่ข่า” จัดขึ้นเพื่อเป็นเวทีสำหรับให้ผู้ขอรับการสนับสนุนนวัตกรรม ได้นำเสนอผลงานและศักยภาพความพร้อมของนวัตกรในการนำผลงานนวัตกรรมที่ตอบโจทย์การพัฒนาพื้นที่คลองแม่ข่า รวมไปถึงประโยชน์และผลกระทบที่เกิดขึ้นหลังจากดำเนินการพัฒนานวัตกรรมดังกล่าว ให้สามารถยกระดับเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ ทั้งนี้มีหน่วยงานที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย จำนวนรวมทั้งหมด 5 ผลงาน ซึ่งมติผลการพิจารณาตัดสินผลงานมีผู้ผ่านการคัดเลือกจำนวน 3 ผลงาน ดังนี้ 1. Smart Pole คลองแม่ข่าอยากบอก จากบริษัท จัมโบ้อิเล็กทรอนิกส์ จํากัด (สํานักงานใหญ่) 2. TARA Donate เพื่อแม่ข่าชุมชนน่าเที่ยว จากบริษัท โคเวสท์แล็บส์ จํากัด และ 3. ถอดรหัสจินตนาการพัฒนาคลองแม่ข่า จากบริษัท ไอเชียงใหม่ จํากัด


 

ติดตามข่าวสารของ SID-CMRU หน่วยขับเคลื่อนนวัตกรรมเพื่อสังคม ได้ที่ : https://www.facebook.com/SIDCMRU


ขอขอบคุณภาพ/ข้อมูล : วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว : วัชราวรรณ  กันทา นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

 

 

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (ดี) 

          

 

 

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th