มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

สังคมศึกษา มร.ชม. ตระหนักความสำคัญการรับมือภัยแผ่นดินไหวเตรียมจัดสัมมนา “แผ่นดินไหว ภัยเงียบที่ไม่สงบ กับการรับมือแบบเชิงรุก” ให้ความรู้แก่นักศึกษาและประชาชน

 

สังคมศึกษา มร.ชม.  ตระหนักความสำคัญการรับมือภัยแผ่นดินไหวเตรียมจัดสัมมนา  “แผ่นดินไหว ภัยเงียบที่ไม่สงบ กับการรับมือแบบเชิงรุก”  ให้ความรู้แก่นักศึกษาและประชาชน



 

นายธาราวุฒิ สุวรรณใจ ประธานคณะกรรมการดำเนินงานจัดสัมมนาทางวิชาการเรื่อง “แผ่นดินไหว ภัยเงียบที่ไม่สงบ กับการรับมือแบบเชิงรุก” เปิดเผยว่า เนื่องด้วยนักศึกษาสาขาสังคมศึกษา  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้วิธีการรับมือภัยพิบัติทางธรรมชาติซึ่งเป็นปรากฏการณ์ที่สร้างความเสียหายแก่มวลมนุษยชาติเป็นอย่างมากทั้งนี้เพราะภัยธรรมชาติเป็นปรากฎการณ์ที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้มนุษย์จึงดำรงอยู่ได้เพียงฐานะผู้รับมือเท่านั้น ภัยพิบัติทางธรรมชาติในแต่ละชนิดนั้นสร้างความเสียหายที่แตกต่างกันอย่างไรก็ตามภัยพิบัติทางธรรมชาติถูกกล่าวขวัญถึงมากที่สุดในด้านความรุนแรงความเสียหายและความน่าสะพรึงกลัวนั่นคือ “แผ่นดินไหว” ซึ่งเป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติที่มีความรุนแรงและสร้างความเสียหายต่อมวลมนุษยชาติเป็นอย่างมากในแต่ละปีแผ่นดินไหวได้สร้างความสูญเสียทั้งในชีวิตและทรัพย์สินอย่างมากมายมหาศาลนอกจากนี้ยังเป็นภัยพิบัติที่ไม่สามารถคาดการณ์ล่วงหน้าได้ว่าจะเกิดขึ้นในเวลาใดตลอดจนมนุษย์นั้นไม่สามารถไปแก้ไขเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นไม่ได้ ดังนั้นเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นในแต่ละครั้งจะเห็นได้ว่ามีผู้คนบาดเจ็บ ล้มตายเป็นจำนวนมาก และยังส่งผลให้เกิดความหายนะในทรัพย์สินตึกรามบ้านช่องอีกด้วย ในส่วนของประเทศไทยเองนั้น เคยเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวมาหลายครั้ง ทั้งที่บันทึกในประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาและจนถึงปัจจุบันที่เกิดขึ้น ที่จังหวัดเชียงรายเมื่อต้นปี พ.ศ. 2557 ที่อำเภอแม่ลาว ได้สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะทรัพย์สิน บ้านเรือนที่อยู่อาศัย ทั้งนี้เพราะพื้นที่ภาคเหนือของไทยเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวที่มีรอยเลื่อนพาดผ่านหลายแนว เช่น รอยเลื่อนแม่ทา รอยเลื่อนพะเยา รอยเลื่อนแม่จัน เป็นต้น โดยรอยเลื่อนเหล่านี้ได้ทำให้เกิดแผ่นดินไหวมาแล้วหลายครั้ง ดังที่เกิดที่จังหวัดเชียงรายนั้น ก็เป็นผลจากรอยเลื่อนพะเยา ซึ่งมีความรุนแรงถึง 6.0 ริกเตอร์

จากเหตุผลดังกล่าวนั้น จึงเป็นที่มาของการจัดการสัมมนาเรื่อง “แผ่นดินไหว ภัยเงียบที่ไม่สงบกับการรับมือแบบเชิงรุก” โดยกลุ่มเป้าหมายผู้เข้าร่วมสัมมนาส่วนใหญ่นั้น เป็นกลุ่มนักศึกษาจากคณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา ดังนั้นจึงเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการที่ผู้เข้าร่วมสัมมนาจะได้รับความรู้จากวิทยากร ผู้มากประสบการณ์ เพื่อให้เข้าถึงแนวปฏิบัติตนเพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตนเองเมื่อเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสามารถนำไปถ่ายทอดประสบการณ์ให้แก่นักเรียนได้ในอนาคต ตลอดจนถ่ายทอดแนวทางในการใช้ชีวิตในสังคมให้แก่ปัจเจกบุคคล การที่ครูสังคมเข้าใจถึงสาเหตุ ผลกระทบ และแนวทางการปฏิบัติตนให้ปลอดภัยจากแผ่นดินไหวก็จะส่งผลให้ครูสังคมสามารถอบรมหรือถ่ายทอดทักษะเหล่านี้ให้ผู้เรียนได้ดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างรู้เท่าทันและมีความสมดุล

จึงขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาทางวิชาการ เรื่อง “แผ่นดินไหว ภัยเงียบที่ไม่สงบ กับการรับมือแบบเชิงรุก” ในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2560 เวลา 08.00 – 12.00 น. ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  โดยได้รับเกียรติจาก อาจารย์อดิศร  ฟุ้งขจร ผู้อำนวยการสถานีอุตุนิยมวิทยาเชียงใหม่ สถานีตรวจวัดแผ่นดินไหวเชียงใหม่ เป็นวิทยากร ผู้สนใจสำรองที่นั่งโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายติดต่อ นายอนุชา  พงษ์ใจเหล็ก หมายเลขโทรศัพท์ 095-979-5264

 

ภาพ – ข้อมูล: นักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว: นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 



เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th