มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมงาน ๑๐๐ ปีชาตกาล เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ บุคคลสำคัญทางดนตรีล้านนา

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดประชุมเตรียมงาน ๑๐๐ ปีชาตกาล

เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ บุคคลสำคัญทางดนตรีล้านนา



วันที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๕๖๐ อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รักษาราชการแทนอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ ดร. ประพันธ์ ธรรมไชย ที่ปรึกษาอธิการบดี ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี พร้อมด้วยคณาจารย์ภาควิชาดนตรีและศิลปะการแสดง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ให้การต้อนรับ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ นายแพทย์พูนพิศ อมาตยกุล  ราชบัณฑิต อาศรมดนตรีวิทยา วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยเจ้าป้าสุรีย์ ณ เชียงใหม่ และเจ้าสุรศักดิ์ ณ เชียงใหม่ เจ้าของโรงงานเชียงใหม่การดนตรี ในโอกาสประชุมปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดงาน ๑๐๐ ปีชาตกาล เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ และการรับมอบโรงงานผลิตเครื่องดนตรีล้านนาให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ตรงของนักศึกษา ณ ห้องประชุมสะบันงา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ เป็นศิลปินพื้นบ้านดีเด่นของจังหวัดเชียงใหม่ เป็นผู้พัฒนารูปแบบการบรรเลงดนตรีล้านนาในยุคปัจจุบันเพื่อให้ง่ายต่อการเรียนการสอน และเป็นบุตรชายของเจ้าสิงห์นนท์ และเจ้าแม่บุญนำ ณ เชียงใหม่ เป็นหลานปู่ของ เจ้าราชบุตร (ตื้อ) เกิดในคุ้มเจ้าหลวงเชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑ มีความสนใจในดนตรีพื้นเมืองล้านนา ต่อมาได้เรียนดนตรีไทย จากครูดนตรี ๓ คนคือ ครูรอด อักษรทับ ครูช่อ สุนทรวาทิน และครูฉัตร สุนทรวาทิน จนสามารถเล่นเครื่องสายไทยได้เป็นอย่างดี รวมทั้งสามารถร้องเพลงไทยได้ด้วย และยังได้ประดิษฐ์เพลงพื้นเมืองหลายเพลงสำหรับบรรเลงในวงพิเศษ “ล้านนามหาดุริยางค์” นอกจากจะเป็นครูสอนดนตรีพื้นเมือง ที่วิทยาลัยนาฏศิลป์จังหวัดเชียงใหม่แล้ว เจ้าสุนทรยังมีฝีมือในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีออกจำหน่ายแจกจ่าย ได้รับการยกย่องว่าเป็นเครื่องดนตรีมีคุณภาพดี นับว่าเป็นแหล่งผลิตเครื่องดนตรีไทยที่สำคัญของเชียงใหม่

ทั้งนี้ เจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ถึงแก่กรรมเมื่อ วันที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๒๙ ซึ่งในปี พ.ศ. ๒๕๖๑  จะครบรอบ ๑๐๐ ปีชาตกาล มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่จึงจะมีการจัดงาน ๑๐๐ ปี ชาตกาล ซึ่งภายในงานกำหนดให้มีการประชุมวิชาการและการแสดงนิทรรศการดนตรีล้านนา โดยหลังจากนี้จะได้มีการนัดหมายเพื่อประชุมเตรียมการจัดงานอย่างต่อเนื่อง





ภาพ – ข่าว นางสาววัชราวรรณ กันทา นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


ประมวลภาพกิจกรรม >> Click

 

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 09-6046-9468
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th