มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มร.ชม. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้าปีที่ 4 เปิดบ้านต้อนรับ เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ในโอกาสร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงาน “โครงการหนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล

 

มร.ชม. ศูนย์ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้าปีที่ 4 เปิดบ้านต้อนรับ เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน ในโอกาสร่วมประชุมชี้แจงการดำเนินงาน    

“โครงการหนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์”


          ผศ.พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในการประชุมชี้แจงการดำเนินงาน “โครงการหนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบนเพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์” เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน  2561 ณ ห้องมินิเธียเตอร์ อาคารสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

          ทั้งนี้ ในการประชุมดังกล่าวผู้ร่วมประชุมจากเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน  ได้สรุปภาพรวมสถานการณ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเขตภาคเหนือตอนบน และได้จัดให้มีการร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงสถานการณ์และการจัดการปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทั้งภายในและรอบ ๆ สถาบันการศึกษา โดยจะได้นำข้อมูลการดำเนินงานในปี 2561 ไปพัฒนาการดำเนินงานของโครงการให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป


          ทางด้าน อาจารย์นิชธิมา  บุญเฉลียว หัวหน้าภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้สนับสนุนการดำเนินงานสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เปิดเผยว่า ในส่วนของภาคเหนือเป็นอีกพื้นที่หนึ่งซึ่งประสบกับปัญหาและผลกระทบจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งจากการศึกษา  พบว่ากลุ่มประชากรที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไปในเขตภาคเหนือ มีผู้ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์จำนวน 3.7 ล้านคน หรือคิดเป็นร้อยละ 39.2 ซึ่งถือเป็นสัดส่วนที่สูงสุดในภาพรวมของสัดส่วนผู้ดื่มทั้งประเทศและทั้งนี้เมื่อดูจากรายงานสถานการณ์รายจังหวัด  จะพบว่าได้ว่า อัตราความชุกของจังหวัดที่พฤติกรรมการดื่มสูงสุดดังกล่าว ล้วนแล้วแต่เป็นจังหวัดในกลุ่มภาคเหนือตอนบน ทั้งสิ้น โดย 5 อันดับแรกของของประเทศ คือ อันดับ 1 จังหวัดพะเยา ร้อยละ 54.0 อันดับ 2 จังหวัดแพร่ ร้อยละ 50.5 อันดับ 3 จังหวัดเชียงรายร้อยละ 49.3 อันดับ 5 จังหวัดน่าน ร้อยละ 46.7 นอกจากนี้ยังพบอัตราความชุกที่น่าวิตกกังวลคือ ในกลุ่มผู้ดื่มที่เป็นเยาวชน ซึ่งมีอายุระหว่าง 15 - 19 ปี พบว่า อันดับ1 ของประเทศ คือ จังหวัดพะเยา ร้อยละ 30.4 รองลงมา อันดับ 4 จังหวัดแพร่ ร้อยละ 25.7 อันดับ 7 จังหวัดน่าน ร้อยละ 23.9 อันดับ 12 จังหวัดเชียงราย ร้อยละ 19.6 อันดับ 17 จังหวัดเชียงใหม่ ร้อยละ 18.5 ตลอดระยะเวลา 3 ปี ของการดำเนินโครงการและกิจกรรมที่ผ่านมา เครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้าภาคเหนือตอนบน ได้ก่อเกิดผลเชิงบวกหลายประการ เช่น เกิดการป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับบุคคล ซึ่งมีนิสิตนักศึกษา บุคลากรสถาบันศึกษาเครือข่ายเข้าร่วม ไม่ต่ำกว่า 6,000 คน เกิดแกนนำนักศึกษาเพื่อขับเคลื่อนงานไม่น้อยกว่า 120 คน มีการเฝ้าระวังการกระทำผิดกฎหมาย อันได้แก่ชุมชน ร้านค้า สถานบันเทิงรอบๆ มหาวิทยาลัย นอกจากนี้ในระดับสังคม ยังมีกิจกรรมการสื่อสารรณรงค์ ตลอดจนการเป็นแบบอย่างที่ดีต่อหน่วยงานองค์กรอื่นๆ ในการป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ภายในองค์กร อย่างไรก็ตาม ด้วยสถานการณ์ทางสังคมที่เป็นพลวัตร มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ปัญหาจากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ก็มีการเปลี่ยนแปลงทั้งในเรื่องลักษณะและรูปแบบด้วยเช่นกัน เหตุดังกล่าวจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องมีการปรับกลยุทธ์ปรับกระบวนการขับเคลื่อนงานให้เท่าทันภาวการณ์ที่แปรเปลี่ยนไป

          ภาควิชาการพัฒนาชุมชน คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะศูนย์ประสานงานเครือข่ายมหาวิทยาลัยปลอดเหล้าในปีที่ 4 ได้ตระหนักถึงบทบาทอันสำคัญยิ่งของสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งได้แก่ การเป็น ผู้นำการเปลี่ยนแปลง” (Change Agent) ซึ่งหมายถึงการเป็นองค์กรขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางสังคม เพื่อนำพาผู้คน ชุมชน และประเทศไปสู่สังคมที่พึงปรารถนา ทั้งนี้ จึงได้พัฒนา โครงการหนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาภาคเหนือตอนบน เพื่อป้องกันแก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ” ขึ้น โดยมุ่งหวังให้เกิดกระบวนการการเสริมพลังในการขับเคลื่อนและหนุนเสริมศักยภาพเครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาในเขตภาคเหนือตอนบน เพื่อก่อเกิดเป็นกลไกสำคัญในการป้องกัน แก้ไขปัญหาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ทั้งในระดับบุคคล องค์กร ชุมชน และสังคม ต่อไป








ภาพ – ข้อมูล: ภาควิชาการพัฒนาชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว: นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวงิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 


ประมวลภาพกิจกรรม >> Click    

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th