มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” มอบรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ประจำปี 2562

 


                    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” มอบรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ประจำปี 2562

                    รศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” ประจำปี 2562 ระหว่างวันที่ 30 – 31 มกราคม 2562 ณ อาคารเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และเป็นประธานมอบโล่และเกียรติบัตรรางวัล “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ประจำปี 2562 เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรผู้สร้างสรรค์งานวัฒนธรรมเป็นการสืบสานองค์ความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้าน ให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบทอดศิลปวัฒนธรรม โดยมีเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา จำนวน 10 ท่าน ได้แก่ พระครูวิมลศิลปกิจ (เรืองฤทธิ์ ธนปัญโย) เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ด้านอักษรล้านนา นายมานิตย์ เขตสิทธิ์ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาส่งเสริม ศิลปวัฒนธรรม นางอรพินท์ มังคละศรี เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาศิลปะด้านนาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา นางสาวลำดวน สุวรรณภูคำ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาศิลปะด้านการแสดง(การขับซอล่องน่าน) นางสายสุนีย์ ไชยวงศ์ญาติ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาศิลปะ ด้านตุงล้านนา นายอินส่วย มูลทา เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาศิลปะด้านดนตรีพื้นบ้านล้านนา นายส่างคำ จางยอด เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาศิลปะด้านศิลปะการแสดงไทยใหญ่ นายสมาน จันทคลักษณ์ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาภูมิปัญญา ด้านการทำกระเบื้องดินขอแบบโบราณ นางชิสา เกษวีรภัทร์กุล เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาภูมิปัญญา ด้านงานจักสานไม้ไผ่ และ นางยุพิน เคร่งครัด เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา สาขาภูมิปัญญา ด้านการต้องลายโลหะ

                    การจัดงาน “ข่วงผญา ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานงานศิลป์” ประจำปี 2562 จัดขึ้นโดยศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านศิลปวัฒนธรรมและทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมอันดีงามของล้านนา ซึ่งได้จัดให้มีพิธีเชิดชูเกียรติและนิทรรศการผลงาน “เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา” ประจำปี 2562 การอภิปรายทางวิชาการ “หมาก – ลาน กับวิถีชีวิตและพิธีกรรมล้านนา” ภายใต้โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) การแสดงนิทรรศการมีชีวิตการสาธิตการร้อยหมาก การทำหมากสุ่มหมากเบ็ง การทำพัดใบลาน การจารใบลาน ตลอดจนการนำหมากและลานมาสร้างผลิตภัณฑ์หรือประยุกต์ใช้ในงานศิลปะแขนงต่าง ๆ นิทรรศการองค์ความรู้และแนวคิดการจัดทำกระทงใหญ่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ การแสดงผลงานภาพถ่ายเชิงวัฒนธรรม “วิถีล้านนาคุณค่าคู่ควรเมืองมรดกโลก” นิทรรศการผลงานการออกแบบตัวการ์ตูน “น้องใบลาน” กับ “น้องพับสา” นิทรรศการผลงานเชิงวัฒนธรรมและงานนวัตกรรมประยุกต์ด้านศิลปวัฒนธรรม อาทิ เอกสารโบราณ เครื่องแต่งกาย อาหาร การรักษาโรค ประเพณี พิธีกรรม การสาธิตภูมิปัญญาล้านนา การบำบัดโรคแบบล้านนา การตัดตุง การเย็บถุงย่าม การทำธีหรือฉัตร การทำเทียนมงคลเศรษฐี การทำเครื่องสักการะล้านนา ตลอดจนการฟ้อนพื้นเมืองล้านนา การละเล่นพื้นบ้าน เช่น บะข่างโว้ หมากเก็บ ดีดลูกแก้ว ซึ่งเป็นกิจกรรมนันทนาการแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น และการจัดกาดหมั้วคัวฮอม

ข่าว/ภาพ : วัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click









เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th