มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เผยผลการคัดเลือกเพชรราชภัฏ เพชรล้านนา ประจำปี 2563
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เผยผลการคัดเลือกเพชรราชภัฏ เพชรล้านนา ประจำปี 2563
ผศ.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เพื่อคัดสรรบุคลากร ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น เพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านได้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานและเป็นการสืบสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่สังคมล้านนาโดยทำการประชุมเพื่อพิจารณาคัดเลือก เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2562 ณ ห้องประชุมเอื้องสายม่านพระอินทร์ อาคารพระเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ เพื่อเฟ้นหาผู้ดำเนินงานและสร้างสรรค์ผลงานด้วยตนเอง ในสาขาที่ส่งเข้าพิจารณาซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถและความเชี่ยวชาญ ตลอดจนผลงานดีเด่นเป็นที่ยอมรับของคนในสังคมใช้ความรู้ ความสามารถในสาขาของตนและให้บริการ ตลอดจนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคมอย่างต่อเนื่องอีกทั้งยังเป็นผู้มีผลงานที่ได้รับการเผยแพร่ต่อสาธารณชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบันมีผลงานในสาขาที่ส่งเข้าพิจารณาไม่น้อยกว่า 10ปี และปัจจุบันยังมีการทำงานหรือผลงานอย่างต่อเนื่องมีผลงานที่ได้รับรางวัลหรือเกียรติคุณในระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ซึ่งปรากฏในเชิงประจักษ์หรือมีผลงานที่เป็นรูปธรรมเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการศิลปะและวัฒนธรรม
จากการคัดเลือกในครั้งนี้ มีผู้ได้รับการคัดเลือกเป็น เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2563 จำนวน 10 ท่าน ดังต่อไปนี้
· สาขาศิลปะ ด้านทัศนศิลป์ (การสร้างปราสาทล้านนาเทินนกหัสดีลิงค์) ได้แก่ พระครูโสภณกิตติรักษ์
· สาขาคหกรรมศาสตร์ ด้านสิ่งทอพื้นเมือง ได้แก่ นายจันทร์คำ ปู่เป็ด
· สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (นาฏศิลป์พื้นบ้านล้านนา) ได้แก่ นายมานิตย์ เจริญเกษมทรัพย์
· สาขาการเฝ้าระวังทางวัฒนธรรมและสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ได้แก่ นางเสาวคนธ์ ศรีบุญเรือง
· สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (นาฏศิลป์) ได้แก่ นางสารภี วีระกุล
· สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมได้แก่ นางคำมิ่ง อินสาร
· สาขาภูมิปัญญา ด้านการรักษาโรคและป้องกัน (หมอเมือง) ได้แก่ นางอัมพร ปัญญา
· สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (การขับซอล้านนา) ได้แก่ นางคำแสน แก้วสืบ
· สาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ นางสุพัตรา ไชยพรหม
· สาขาศิลปะ ด้านหัตถศิลป์ (การแกะสลักไม้พื้นบ้าน) ได้แก่ นายคำจันทร์ ยาโน
ทั้งนี้ ทางมหาวิทยาลัยจะได้จัดพิธีเชิดชูเกียรติ เพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ในวันที่ 14 มกราคม 2563 ณ ห้องประชุมเอื้องคำ อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)