มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอนปักธง ... พัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองแห่งช็อคโกแลต Mae Hong Son Chocolate City ภายในปี 2570

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอนปักธง ... พัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองแห่งช็อคโกแลต Mae Hong Son Chocolate City ภายในปี 2570




           มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน เป็นสถาบันอุดมศึกษาแห่งแรกและแห่งเดียว ที่มีพื้นที่จัดการศึกษาในจังหวัดแม่ฮ่องสอนมานานกว่า 20 ปี บนเนื้อที่ 109 ไร่ ณ ตำบลปางหมู อำเภอเมืองแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน นอกจากจัดการศึกษาให้แก่ลูกหลานคนแม่ฮ่องสอนแล้ว วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ยังได้ขับเคลื่อนการพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอนอย่างต่อเนื่อง ทั้งในมิติเชิงพื้นที่และมิติเชิงภารกิจ ซึ่งในมิติเชิงภารกิจ มี 4 ด้าน ประกอบด้วย ไก่แม่ฮ่องสอน เกษตรอินทรีย์ พืชเศรษฐกิจ (ถั่วเหลือง กระเทียม บุก งา ฯลฯ) และพืชเศรษฐกิจใหม่ (กัญชา กัญชง โกโก้ ฯลฯ) โดยมีเป้าหมายของการพัฒนา 4 ด้าน คือ ด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และการศึกษา ซึ่งทุก ๆ กิจกรรมของการพัฒนาท้องถิ่นได้บูรณาการร่วมกับการจัดการศึกษาเพื่อให้นักศึกษาและคณาจารย์ ทั้ง 7 สาขาวิชา ได้บ่มเพาะ ฝึกทักษะ และถ่ายทอด องค์ความรู้สู่ชุมชนท้องถิ่น ทำให้ประชาชนสามารถดำรงชีวิตในสังคมยุค NEW NORMAL ได้อย่างยั่งยืนบนพื้นฐานศาสตร์พระราชาภายใต้ “โครงการศูนย์เรียนรู้ชีววิถีเพื่อชีวิตพอเพียงอย่างยั่งยืน”

         การปลูกพืชเศรษฐกิจใหม่ “โกโก้” เป็นกิจกรรมหนึ่งของโครงการ “ศูนย์เรียนรู้แปลงวิจัยต้นแบบการปลูกโกโก้ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน” ที่มีเป้าหมายจะทำการต่อยอดขยายไปสู่ชุมชนท้องถิ่น การทำงานในครั้งนี้เริ่มต้นในปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เป็นการดำเนินการร่วมกันของนักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษม กุณาศรี รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น เป็นหัวหน้าคณะทำงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการขับเคลื่อนการปลูกโกโก้ โดยร่วมมือกับส่วนราชการในจังหวัดแม่ฮ่องสอน และภาคเอกชน คือ บริษัท SCN ago จำกัด เพื่อขับเคลื่อนเรื่องนี้อย่างจริงจัง มีการทำแปลงทดลองปลูกโกโก้ มากกว่า 300 ต้น ในพื้นที่ของมหาวิทยาลัยฯ เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าและหมอกควัน และมีสมาชิกเครือข่ายเกษตรกรที่มหาวิทยาลัยฯ ส่งเสริมให้ปลูกโกโก้ จำนวน 203 ครัวเรือน โดยมหาวิทยาลัยฯ ทำหน้าที่จัดหากล้าพันธุ์โกโก้ให้เกษตรกรปลูกในพื้นที่ของตนเอง ให้ความรู้ทั้งการจัดฝึก อบรมวิธีการปลูก การดูแลรักษา และตรวจเยี่ยมให้คำแนะนำแก่เกษตรกร และมหาวิทยาลัยฯ รับซื้อผลโกโก้จากสมาชิกเครือข่ายในราคาประกัน

         วันที่ 4 สิงหาคม 2563 องค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน นำโดย นายอัครเดช วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้ร่วมมือกับมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน ในการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการสร้างป่าสร้างได้แบบยั่งยืน ด้วยพืชเศรษฐกิจใหม่ “โกโก้แม่ฮ่องสอน” ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น โดยมีเกษตรกรที่ได้รับคัดเลือกเป็นเกษตรกรเครือข่ายเพื่อปลูกโกโก้ จำนวน 120 ครัวเรือน จัดขึ้น ณ ห้องประชุมน้ำเพียงดิน อาคารเรียนรวมและปฏิบัติการกลาง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน และเกษตรกรเครือข่ายได้รับมอบกล้าพันธุ์โกโก้ที่สนับสนุนงบประมาณโดยองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน บริเวณสนามฟุตบอลภายในมหาวิทยาลัยฯ ซึ่งงานในวันดังกล่าวมีกิจกรรม ประกอบด้วย (1) การบรรยายให้ความรู้การปลูก การทำตลาด และการสร้างเครือข่ายโกโก้แม่ฮ่องสอน (2) การปล่อยกล้าพันธุ์โกโก้แก่สมาชิก จำนวน 120 ครัวเรือน เพื่อปลูกคืนสู่ป่า เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่า และลดการเผาป่า จำนวน 12,000 ต้น (3) การอบรมเชิงปฎิบัติการวิธีการปลูกและวางระบบการผลิตแบบต้นทุนต่ำ ในพื้นที่ศูนย์เรียนรู้แปลงวิจัยต้นแบบการปลูกโกโก้ ภายในมหาวิทยาลัยฯ และ (4) การรับประกันราคารับซื้อผลผลิตโกโก้ของสมาชิกเครือข่ายโกโก้แม่ฮ่องสอน กับ บริษัท SCN ago ที่รับซื้อผลผลิตของเครือข่ายทั้งหมด

        กิจกรรมในครั้งนี้มีคณะผู้บริหารของทั้ง 2 หน่วยงาน ร่วมเป็นสักขีพยานในการที่หน่วยงานทั้งสองจะร่วมมือกันส่งเสริมและพัฒนาจังหวัดแม่ฮ่องสอนให้เป็นเมืองแห่งช็อคโกแลต Mae Hong Son Chocolate City ภายในปี 2570 ประกอบด้วย ดร.นิพนธ์ คำพา กรรมการสภามหาวิทยาลัยผู้ทรงคุณวุฒิ นายอัครเดช วันไชยธนวงศ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาจารย์วินัย ไชยวงค์ญาติ คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ปฏิบัติราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รองศาสตราจารย์ดนุวัติ เพ็งอ้น กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ พริบไหว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น อาจารย์ ดร.ณัฏฐพร จักรวิเชียร ผู้อำนวยการศูนย์เรียนรู้ชีววิถีเพื่อชีวิตพอเพียงอย่างยั่งยืน เป็นต้น



























ประมวลภาพกิจกรรม >> Click


ที่มาข้อมูลข่าว : อาจารย์ ดร.ถนัด  บุญชัย  รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน
ภาพ : มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th