มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ผู้บริหาร มร.ชม. ต้อนรับ รมว.อว. ประชุมหารือเชิงนโยบายร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน และลงพื้นที่ติดตามโครงการ อว.จ้างงาน ระยะที่ 1 – 2 จ.เชียงใหม่

 

ผู้บริหาร มร.ชม. ต้อนรับ รมว.อว. ประชุมหารือเชิงนโยบายร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยภาคเหนือตอนบน และลงพื้นที่ติดตามโครงการ อว.จ้างงาน ระยะที่ 1 – 2 จ.เชียงใหม่


ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษาฯ ลงพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ติดตามโครงการ อว.จ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด – 19 ระยะที่ 1 – 2 พอใจเก็บข้อมูลในเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน 25 อำเภอ วางแผนอาชีพให้ชุมชนรับวิถีใหม่ช่วยรัฐพร้อมประชุมร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 


เมื่อวันที่ 30 ส.ค. 2563 รศ.ดร.ประพันธ์ ธรรมไชย รักษาราชการแทนอธิการบดี  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหารให้การต้อนรับ ศ.ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ รมว.การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ในโอกาสลงพื้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ พร้อมประชุมหารือร่วมกับผู้บริหารมหาวิทยาลัยในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน และตรวจเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการ อว. จ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโควิด – 19  (COVID-19) ระยะที่ 1 และ ระยะที่ 2 


จากนั้น ศ.ดร.เอนก ให้สัมภาษณ์หลังประชุมว่า โครงการ อว. จ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก โควิด – 19 ในพื้นที่ 25 อำเภอของ จ.เชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ระยะที่ 1 จ้างงาน มีจำนวน 70 คน ระยะที่ 2 มีจำนวน 192 คน ให้ผู้ได้รับการจ้างงานเก็บรวบรวมข้อมูลและจัดทำฐานข้อมูลเพื่อเป็นประโยชน์ต่อชุมชนในการแก้ปัญหาด้านต่างๆ ตลอดจนงานวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในการจัดทำแผนในการส่งเสริมและพัฒนาผลกระทบที่เกิดในชุมชน ได้แก่ แผนการส่งเสริมด้านการอนุรักษ์ทรัพยากร การส่งเสริมอาชีพ การส่งเสริมด้านการเกษตร การส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อม เป็นต้น และงานด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน ซึ่งผู้รับจ้างงานโควิดมีส่วนในการช่วยสนับสนุนการดำเนินงานวิจัยของอาจารย์ผู้ควบคุมในการแก้ปัญหาของชุมชน ถือว่าได้ผลลัพธ์เป็นที่น่าพอใจ เพราะข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่เป้าหมาย 25 อำเภอ โดยใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด – 19 ทำให้องค์การบริหารส่วนตำบล หน่วยงานการศึกษา หน่วยงานภาครัฐ มีฐานข้อมูลเพื่อใช้วางแผนพัฒนาอาชีพให้กับชุมชนในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบ ตรงกับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภควิถีใหม่ 

ศ.ดร.เอนก กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ ยังได้เห็นภาพรวมของการแก้ปัญหา การป้องกันและส่งเสริมด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติเพื่อใช้ประโยชน์ด้านการบริโภคและการเกษตร ปัญหาการขาดแคลนน้ำ เพื่อการอุปโภค และบริโภค การเกษตร ที่มีลักษณะเฉพาะของแต่ละพื้นที่ รวมทั้งการน้อมนำแนวทางการแก้ไขปัญหาชุมชนตามแนวพระราชดำริ อาทิ พื้นที่ 16 ชุมชนของอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อการดำเนินงานครบระยะเวลาการ จ้างงานจะทำการสรุปผลในภาพรวมและนำส่งข้อมูลกลับคืนสู่ชุมชน  เพื่อสะท้อนภาพรวมของสถานการณ์ทรัพยากรน้ำในแต่ละชุมชน เพื่อนำไปใช้กำหนดทิศทาง และวางแผนการจัดการน้ำ 


รมว.อว.กล่าวด้วยว่า ที่สำคัญ ยังมีเรื่องของการสำรวจเก็บข้อมูลในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามรูปแบบของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารีฯ (อพ.สธ.) ใน 41 พื้นที่ของจังหวัดเชียงใหม่และแม่ฮ่องสอน ซึ่งจะทำให้ได้ข้อมูลงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นที่เป็นประโยชน์ในการต่อยอดงาน อพ.สธ. และยังได้ฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นที่สำคัญสำหรับการต่อยอดเป็นศูนย์ข้อมูลงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นระดับตำบล อันนำไปสู่การสร้างและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชนในอนาคต ตลอดจนในเรื่องของการส่งเสริมสุขภาพด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม โดยการให้ผู้รับจ้างงานเข้าร่วมงานกับโรงพยาบาลสุขภาพประจำตำบล (รพสต.) เช่น ตรวจเชื้อและบันทึกข้อมูลของผู้มาใช้บริการ รพสต. รวมทั้งการลงพื้นที่ในการให้บริการด้านสาธารณะสุขในพื้นที่รับผิดชอบ เช่น การลงพื้นที่เพื่อตรวจสุขภาพของประชาชนและการเยี่ยมผู้ป่วยในพื้นที่อำเภอสันทราย เป็นต้น มีการจัดทำฐานข้อมูลด้านการท่องเที่ยวชุมชนและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศตามแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น และชุดฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์โอท็อป (OTOP) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ในพื้นที่อำเภอเมืองเชียงใหม่ อำเภอสันกำแพง อำเภอสันป่าตอง อำเภอดอยเต่า เป็นต้น ซึ่งจะช่วยแก้ไขปัญหาในพื้นที่และการฟื้นฟูเศรษฐกิจหลังวิกฤตโควิด-19 โดยจะนำฐานข้อมูลที่ได้เป็นทั้งคลิปวีดีโอและข้อมูลเชิงลึกของสถานที่ท่องเที่ยวและสินค้าโอท็อป (OTOP) ในพื้นที่ จัดทำเป็นฐานข้อมูลในอินเตอร์เน็ตและส่งมอบฐานข้อมูลดังกล่าวให้กับส่วนราชการและผู้ประกอบการใช้เป็นประโยชน์ต่อไป ตลอดจนการส่งเสริมอาชีพหลังวิกฤตโควิด-19  ที่เหมาะสมกับบริบทของชุมชน อาทิ ชุมชนในอำเภอแม่แตงและอำเภอฝาง ซึ่งบางชุมชนมีขยะเหลือทิ้งจากการเกษตรเป็นจำนวนมาก ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม อาจารย์ผู้ควบคุมพื้นที่ได้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้รับจ้างงานซึ่งเป็นบัณฑิตจบใหม่ที่มีความรู้ทางด้านวิศวกรรมเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการแปรรูปและใช้เป็นพลังงานทดแทนเพื่อใช้ในชุมชนและยังสามารถเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนอีกด้วย  เป็นต้น







ภาพ : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน / นางสาววัชราวรรณ กันทา นักประชาสัมพันธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ที่มาข้อมูล: ส่วนสื่อสารองค์กร กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

ข่าว: งานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 ประมวลภาพกิจกรรมกล้อง 1  >> Click    

 ประมวลภาพกิจกรรมกล้อง 2 >> Click    

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี


 


รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th