มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ผู้บริหาร มร.ชม. เยี่ยมชม ม.วลัยลักษณ์ ดูงานเตรียมการเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฯ

26 มี.ค. 2564 โดย สุกัญญา แก้ววรรณ
 

ผู้บริหาร มร.ชม. เยี่ยมชม ม.วลัยลักษณ์ ดูงานเตรียมการเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฯ





     อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ด้วยสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 7 ในปี พ.ศ. 2566  ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในทุกด้านจึงได้นำคณะผู้บริหารของมหาวิทยาลัย ประกอบด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล , ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี รองอธิการบดี พร้อมคณะผู้บริหาร นักวิชาการ และเจ้าหน้าที่ จำนวน 20 คน เข้าศึกษาดูงานการเตรียมการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จ.นครศรีธรรมราช 





       โดยเมื่อวันที่ 24 - 25 มีนาคม 2564 คณะศึกษาดูงานได้เข้าศึกษาดูงานการบริหารจัดการหอพักนักศึกษา ซึ่งได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย  ศุภดิษฐ์ รองอธิการบดีฝ่ายวางแผนและยุทธศาสตร์การพัฒนา พร้อมคณะผู้บริหารให้การต้อนรับและบรรยายพิเศษ จากนั้นได้เข้าเยี่ยมชม “เมืองมหาวิทยาลัย” ได้แก่ สวนวลัยลักษณ์ , โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ , หอพักนักศึกษา , อาคารปฏิบัติการทางสถาปัตยกรรมและการออกแบบอาคารไทยบุรี รวมทั้งอาคารที่ใช้ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร , ศูนย์สมาร์ทฟาร์ม ปลูกพืชเศรษฐกิจกว่า 30,000 ต้น การเลี้ยงสัตว์ในระบบสมาร์ทฟาร์มด้วยการควบคุมฟาร์มผ่านระบบมือถือ และศูนย์กีฬาและนันทนาการ (Sport Complex) 





        ในการนี้ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ พร้อมคณะกรรมการอำนวยการและประธานอนุกรรมการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฯ ให้การต้อนรับ บรรยายสรุปการเตรียมงาน และให้ข้อแนะนำเกี่ยวกับการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. : ประโยชน์แท้ แก่มหาชน ในปี 2565 , ความก้าวหน้าในการเตรียมการจัดงานประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนฯ โดยมี ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ เลขานุการ คณะกรรมการ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เข้าร่วมประชุมติดตามการเตรียมงานด้านต่าง ๆ ด้วย สำหรับการประชุมวิชาการและนิทรรศการสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนและงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ระดับภูมิภาค ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2564 ณ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 เมษายน ถึง 4 พฤษภาคม 2564 ได้เลื่อนไปจัดพร้อมกับการประชุมวิชาการและนิทรรศการ อพ.สธ. : ประโยชน์แท้ แก่มหาชน ในปี 2565 





         ทั้งนี้อธิการบดีมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ ได้บรรยายสรุปเพิ่มเติมต่อแนวคิดการพัฒนามหาวิทยาลัย อาทิ การให้ความสำคัญกับการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ทั้งการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ผู้สอน ด้วยการนำระบบการจัดการเรียนการสอนที่ได้มาตรฐานสากล การปรับปรุงห้องเรียนเป็น Smart Classroom 100% การปรับปรุงห้องปฏิบัติการเป็น Digital LAB 100% การปรับปรุงการวัดผลประเมินผลการเรียน และการปรับปรุงมาตรการและกลไกเพื่อลดอัตราการออกกลางคัน (Dropout) ของนักศึกษา การให้ความสำคัญต่อการพัฒนา Physical Environment ควบคู่กับการปรับปรุงคุณภาพการจัดการเรียนการสอน การจัดให้มีศูนย์กีฬาและนันทนาการ (Sport Complex) เป็นสถานที่ออกกำลังกายที่ทันสมัย รวมถึงการรับอาจารย์ใหม่และส่งเสริมให้มีการขอกำหนดตำแหน่งทางวิชาการตามระยะเวลาที่กำหนด 
       โอกาสเดียวกันนี้คณะศึกษาดูงานได้เข้าเยี่ยมชม “อุทยานพฤกษศาสตร์”  ซึ่งงาน อพ.สธ. ถือเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานพฤกษศาสตร์ และเยี่ยมชม “ตลาดพฤหัสหรรษา Bota Market : Chic and Chill” ที่มีการจับจ่ายใช้สอยเป็นจำนวนมาก เกิดเงินหมุนเวียนและส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนอย่างดีเยี่ยม
        อาจารย์ ดร. ถนัด บุญชัย กล่าวในตอนท้ายว่า การศึกษาดูงานครั้งนี้นับเป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะได้นำไปปรับใช้เพื่อพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ต่อไป



























ข่าว : สุกัญญา  แก้ววรรณ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ที่มาข้อมูล : อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี

ขอขอบคุณภาพประกอบ : ส่วนสื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ และคณะผู้บริหาร มร.ชม.

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th