มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” และทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า” รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน U2T-Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)

 

ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับ ทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” และทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า”
รางวัลชนะเลิศการแข่งขัน U2T-Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)




                 อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะประธานกรรมการบริหารโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า ตามที่สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.) กำหนดจัดการแข่งขันแฮกกะธอน (Hackathon) เพื่อพัฒนาทักษะแก่ผู้ได้รับการจ้างงาน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) พร้อมเปิดโอกาสให้ผู้ได้รับการจ้างงานได้ระดมความคิดอย่างสร้างสรรค์ ผ่านการเรียนรู้และปฏิบัติจริงในชุมชน (Community-integrated Learning) ภายใต้โจทย์ “แนวทางแก้ปัญหา (Solution) ขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก” 4 ด้าน คือ ด้านที่ 1 Creative Economy ด้านที่ 2 Technology/Health Care ด้านที่ 3 Circular Economy และด้านที่ 4 Art and Culture
               ทั้งนี้มีทีมที่สนใจส่งผลงาน VDO Presentation เข้าร่วมแข่งขัน รวมทั้งสิ้น 195 ทีม จาก 9 สถาบันอุดมศึกษา เป็นทีมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จำนวน 55 ทีม แยกเป็น จังหวัดเชียงใหม่ 28 ทีม จาก 44 ตำบล และจังหวัดแม่ฮ่องสอน 25 ทีม จาก 25 ตำบล ดำเนินการการคัดเลือกโดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ พิจารณาจาก 195 ทีม ให้เข้ารอบ 61 ทีม / 38 ทีม และ 22 ทีม ซึ่งทีมจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้รับคัดเลือกให้เข้ารอบสุดท้าย จำนวน 3 ทีม ได้แก่ ทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า” ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน กำกับดูแลโดยวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ กำกับดูแลโดยสำนักศิลปวัฒนธรรม และทีม “Mind box” ตำบลขี้เหล็ก อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ กำกับดูแลโดยคณะเทคโนโลยีการเกษตร โดยมีนำเสนอผลงานในลักษณะ Onsite และ Online เมื่อวันที่ 1 – 2 กรกฎาคม 2564 ณ มหาวิทยาลัยพะเยา จังหวัดพะเยา เพื่อคัดเลือกทีมที่ชนะเลิศ จำนวน 5 ทีม ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน)



           ผลปรากฏว่า ทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” และ ทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า” ได้รับรางวัล “ชนะเลิศ” การแข่งขัน U2T-Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) รับโล่รางวัลจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมใบประกาศนียบัตร เงินรางวัลทีมละ 50,000 บาท และเป็นผู้แทนของภาคเหนือตอนบนเข้าร่วมการประกวดในระดับประเทศซึ่งจะมีขึ้น ในเดือนพฤศจิกายน 2564 โดยในระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) มีทีมที่ชนะเลิศ จำนวน 5 ทีม ประกอบด้วย ทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” (Creative Economy) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ / ทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า” (Creative Economy) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน / ทีม “Rice is Life” (Creative Economy) มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ / ทีม “My Straw House” (Circular Economy) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และทีม “Nile Creek Rescue” (Technology/Health Care มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตเชียงราย
                 สำหรับทีม “น้ำอ้อยป่าตุ้ม” เป็นผลงานของผู้ทำงาน U2T ในพื้นที่ตำบลป่าตุ้ม อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล คือ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มีอาจารย์ ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการในตำบล มีผู้บริหารและคณะทำงานขับเคลื่อนงาน ประกอบด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์สิริพร คืนมาเมือง รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโลบล วิมลสิทธิชัย รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม และอาจารย์สมศักดิ์ พรมจักร พร้อมคณะทำงานจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม













ส่วนทีม “มุสะโต่ ห่อทีหล่า” เป็นผลงานของผู้ทำงาน U2T ในพื้นที่ตำบลแม่อูคอ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้กำกับดูแล คือ วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน มีอาจารย์ณิชยวรรณ พันธ์ศุภะ เป็นอาจารย์ผู้รับผิดชอบโครงการในตำบล มีผู้บริหารและคณะทำงานขับเคลื่อนงาน ประกอบด้วย อาจารย์วินัย ไชยวงค์ญาติ คณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นครินทร์ พริบไหว ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีรวิชญ์ ปิยนนทศิลป์ รองคณบดีวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน พร้อมคณะทำงานจากวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน และสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น














อาจารย์ ดร.ถนัด กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการดำเนินโครงการขอขอบคุณคณะผู้บริหารและคณะทำงานทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้ง 13 หน่วยงาน ซึ่งร่วมกันรับผิดชอบในพื้นที่ 69 ตำบล ที่ให้ความร่วมมือและส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขัน U2T-Hackathon ระดับภูมิภาค (ภาคเหนือตอนบน) ซึ่งถือเป็นการเผยแพร่ผลงานและประชาสัมพันธ์มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ดังปรัชญาที่ว่า “การศึกษาเป็นหัวใจของการพัฒนาท้องถิ่น” ภายใต้เอกลักษณ์ “สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น” อย่างแท้จริง


ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ นักประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

ขอขอบคุณข้อมูล /ภาพ : อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th