มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ทีมหงส์สา คว้ารางวัลชนะเลิศ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2563 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 

ทีมหงส์สา คว้ารางวัลชนะเลิศ โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2563

กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่




 

เมื่อวันที่2 สิงหาคม 2564 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีปิดโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น ประจำปี 2563 กิจกรรมเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ณ ลานกิจกรรม ชั้น 1 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว

โดยมี รศ.ดร.กัลทิมา พิชัย รองอธิการบดี และ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี คุณณัฐวุฒิ ธรรมตานนท์ รอง ผอ.ฝ่ายพัฒนาธุรกิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ ผู้ประกอบการรายย่อยและองค์กรชุมชน ตัวแทนจากธนาคารออมสินส่วนกลาง และ คุณนศร สุวรรณกาศ  ผู้ช่วยผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ภาค 8 และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจเข้าร่วมโดยผ่านทางวิธีประชุมออนไลน์ ร่วมเป็นเกียรติในพิธี ภายใต้มาตรการเฝ้าระวังในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดต่อไวรัสโคโรนา 2019

ในการนี้ ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้รับผิดชอบโครงการ ได้กล่าวรายงานถึงวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการ และรายงานผลการดำเนินโครงการที่ผ่านมา โดยมี คณาจารย์ ผู้แทนชุมชน และ นักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการร่วมในพิธีโดยพร้อมเพรียงพร้อมรับมอบเกียรติบัตร โอกาสนี้ รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมชมผลงานการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนที่ทางคณาจารย์ และนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการพัฒนาตลอดระยะเวลาของการทำโครงการ พร้อมกับผู้ร่วมงาน

ทั้งนี้ ในปี 2563 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีโครงการย่อย จำนวน 7 โครงการ ประกอบด้วย

1. ทีม GSB new dimension

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พีชผักสมุนไพรและผลไม้ : ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งออแกนิค

2. ทีม วมส.เพื่อท้องถิ่น

กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านกุงไม้สัก : การพัฒนาที่พักโอมสเตย์ และผลิตภัณฑ์ยาหม่องที่ระลึก

3.ทีม ป่าตึงงาม

กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติป่าตึงงาม : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือกระเหรี่ยง

4.ทีม Develop บ้านเมืองกลาง

กลุ่มแปรรูปผลผลิตทางกรเกษตรบ้านเมืองกลาง : ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมูลำใย

5.ทีม หงส์สา

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เวียงพร้าว กรีนวัลเลย์ : ผลิตภัณฑ์เซรั่มข้าวทับทิมชุมแพ

6.ทีม ACE

กลุ่มสมุนไพร 9 อุ้ย : น้ำมันเขียวสมุนไพร

7.ทีม ชุมชนบ้านโป่งพะมอลอ

กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนพะมอลอ :  การพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าพื้นเมือง

โดยมีการนำเสนอผลการดำเนินงานของแต่กลุ่มงานเพื่อคัดเลือกผู้ชนะเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยร่วมประกวดโครงการยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นระดับประเทศต่อไป โดยมีคณะกรรมการจากตัวแทนอาจารย์ และตัวแทนจากธนาคารออมสิน ร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอและตัดสิน โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.มานพ ชุ่มอุ่น คณะกรรมการพิจารณาการนำเสนอ และ ผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดี คณะวิทยการจัดการ มอบรางวัลแก่ทีมที่ได้รับรางวัล โดยผลการแข่งขัน มีดังนี้

รางวัลชนะเลิศ     

 

ทีม หงส์สา

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มเกษตรอินทรีย์เวียงพร้าว กรีนวัลเลย์ : ผลิตภัณฑ์เซรั่มข้าวทับทิมชุมแพ

 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

ทีม ป่าตึงงาม

กลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้าทอมือกะเหรี่ยงย้อมสีธรรมชาติป่าตึงงาม : ผลิตภัณฑ์จากผ้าทอมือกระเหรี่ยง

 

รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

ทีม วมส.เพื่อท้องถิ่น

กลุ่มชุมชนท่องเที่ยวบ้านกุงไม้สัก : การพัฒนาที่พักโอมสเตย์ และผลิตภัณฑ์ยาหม่องที่ระลึก

 

รางวัลชมเชย 4 ทีม ได้แก่

ทีม GSB new Dimension  

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนพัฒนาผลิตภัณฑ์พีชผักสมุนไพรและผลไม้ : ผลิตภัณฑ์มะม่วงอบแห้งออแกนิค

 

ทีม Develob

บ้านเมืองกลางกลุ่มแปรรูปผลผลิตทางกรเกษตรบ้านเมืองกลาง : ผลิตภัณฑ์น้ำพริกกากหมูลำไย

 

ทีม ACE   

กลุ่มสมุนไพร 9 อุ้ย : น้ำมันเขียวสมุนไพร

 

ทีม ชุมชนบ้านโป่งพะมอลอ   

กลุ่มท่องเที่ยวชุมชนพะมอลอ :  การพัฒนาโฮมสเตย์ต้นแบบและผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกจากผ้าพื้นเมือง

 

โครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น เป็นโครงการที่จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมศักยภาพของกลุ่มองค์กรชุมชน ประเภทกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือกลุ่มผู้ประกอบการ OTOP ให้สามารถบริหารจัดการกลุ่ม พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สามารถเข้าสู่ตลาด เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ตลอดจนสร้างประสบการณ์การเรียนรู้การทำงานเป็นกลุ่มให้กับนักศึกษาสามารถต่อยอดองค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพตนเอง เมื่อออกสู่ตลาดแรงงาน






ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click

 


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th