มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

หลักสูตรนาฏศิลป์ มร.ชม. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 เวที “สืบสานวัฒนศิลป์ แผ่นดินสยาม” จากทีมเข้าร่วมประกวด 94 ทีมทั่วประเทศ

 

หลักสูตรนาฏศิลป์  มร.ชม. คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3

เวที สืบสานวัฒนศิลป์ แผ่นดินสยาม

จากทีมเข้าร่วมประกวด 94 ทีมทั่วประเทศ



  ผศ.เยี่ยมลักษณ์ อุดาการ คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่าเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะครุศาสตร์ นำโดย อ.ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์ (ในฐานะผู้ควบคุมและฝึกซ้อม) พร้อมด้วย อ.ชัพวิชญ์  ใจหาญ, ครูจักรกฤษณ์ แสนใจ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้นำนักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์  สาขานาฏศิลป์ เข้าร่วมการประกวดการแสดงศิลปวัฒนธรรม สืบสานวัฒนศิลป์ แผ่นดินสยามครั้งที่ 1 ชิงถ้วยพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และเงินรางวัลรวมกว่า 1 ล้านบาท จัดโดยกองทัพบก ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม และบริษัท ปตท. จำกัด เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 69 พรรษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อน้อมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ และร่วมสนองพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในการ สืบสาน รักษา และต่อยอดในด้านการอนุรักษ์ ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ให้คงอยู่ในประเทศไทย และเพื่อเสริมสร้างความรัก ความศรัทธา ปลูกจิตสำนึกและแรงกระตุ้นให้กับประชาชนทุกหมู่เหล่าได้เทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์โดยใช้การแสดงเป็นสื่อกลาง ซึ่งได้รับความสนใจจากประชาชนส่งทีมเข้าร่วมประกวดครั้งนี้เป็นจำนวน 94 ทีม ในรูปแบบออนไลน์ ผลปรากฎว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3





 



อ.ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า “เมื่อวันที่ 18 กันยายน 2564 คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้พิจารณากลั่นกรองผลงาน ที่ส่งเข้าร่วมประกวดและทำการคัดเลือกทีมที่ผ่านเข้าสู่รอบชิงชนะเลิศ 10 ทีมสุดท้าย ผลปรากฏว่า  คณะคุ้มดอกเอื้อง เชียงใหม่ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็น 1 ใน 10 ทีม ที่ได้รับการคัดเลือก จากกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ในระดับศิลปินแห่งชาติ และเมื่อวันที่ 29 กันยายน 2564 เป็นการประกวดในรอบชิงชนะเลิศ ทีมคุ้มดอกเอื้อง เชียงใหม่ สามารถคว้ารางวัลรองชนะเลิศอันดับ 3 มาได้อย่างภาคภูมิ การแสดงชุดดังกล่าวได้แนวคิดจากการศึกษาโครงการพระราชดำริต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยภูเขา ซึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีกลุ่มชนชาวไทยภูเขาที่เข้ามาอยู่ภายใต้พระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล อดุลยเดช มหาราชบรมนาถบพิตร ในหลวงรัชกาลที่ 9 ในทุก ๆ ครั้งที่พระองค์เสด็จเยี่ยมพสกนิกร จะมีโครงการในพระราชดำริต่างๆ คอยช่วยเหลือให้งานให้อาชีพ แก่กลุ่มชาวไทยภูเขา จวบจนกระทั่งเมื่อผ่านเข้าสู่ร่มฉัตรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณพระวชิระเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10 ทรงมีพระราชปณิธาน ที่จะ"สืบสาน รักษา ต่อยอด" โครงการต่างๆ จึงได้สร้างสรรค์การแสดง โดยแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ช่วงที่ 1 กล่าวถึง โครงการในพระราชดำริ อาทิ โครงการแพทย์พอ.สว โครงการปลูกป่าเฉลิมพระเกียรติ โครงการเกษตรพอเพียง โครงการกาแฟชาวดอยตามรอยพ่อ สร้างสรรค์ผสมผสาน กับการแสดง ศิลปวัฒนธรรม ของชาวไทยภูเขา เผ่าม้ง อาข่า เมี่ยน กะเหรี่ยง ดาราอั้ง คะฉิ่ง เชื่อมเรื่องด้วยพระมหากรุณาธิคุณของพระมหากรุณาธิคุณ ที่มีมาโดยตลอด ตลอดจนการแสดง เพลงสดุดีจอมราชันย์ ที่ได้นำเสนอ โดยการ แปลภาษาชาวไทยภูเขา 3 เผ่า ได้แก่เผ่ากะเหรี่ยง เผ่าม้ง เผ่าอาข่า และเป็นการขับร้อง พาสานเสียง ตลอดจนการใช้ถ้าภาษามือ (ภาษาใบ้) เพื่อสื่อความหมายถึงความเสมอภาค และความเท่าเทียม ของกลุ่มชนต่างๆ ตลอดจนการเทิดทูนสถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์จากแนวคิดดังกล่าวนำมาสู่การทำงานร่วมกันของนักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์  ตั้งแต่ การศึกษา เรื่องราวโครงการต่างๆ ผ่านการสร้างสรรค์ในรูปแบบการแสดง การแต่งกาย ดนตรีการจัดเตรียมสถานที่ในการถ่ายทำ ตลอดจนการขั้นตอนดำเนินการตัดต่อ ผลิตเป็นผลงานคลิปวีดีโอ เพื่อส่งเข้าร่วมประกวด โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานครั้งนี้เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษาเกิดความรัก  ในอาชีพ "ครู" ตลอดจนรักในสถาบันการศึกษา ดังคำ ที่ว่า "ราชภัฏ" อันมีความหมาย คือ"คนของราชา ข้าของแผ่นดิน" ซึ่งการปฏิบัติการของนักศึกษาหลักสูตรนาฏศิลป์ในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา   “เพลงและการละเล่นพื้นบ้าน” ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จึงได้ใช้ชื่อการแสดงว่า "นานาชาติพันธุ์น้อมใจภักดิ์ ใต้ร่มฉัตรนฤบดินทร์ " เพื่อตอบสนอง การเรียน และเพื่อเป็นการปลูกฝังประสบการณ์  เพื่อให้ผู้เรียนได้ร่วมกันทำงานจริง โดยใช้พื้นที่ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ตลอดจน พื้นที่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม ในการถ่ายทำ นับเป็นอีกหนึ่งความภาคภูมิใจของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 



















ข้อมูล - ภาพ : อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรนาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 




ติดตามอ่านวารสารพิงค์ราชภัฏฉบับออนไลน์ >> Click


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)


รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th