มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานพระราชปณิธานจัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่

 


                    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานพระราชปณิธานจัดพิธีเปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่
                    เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม 2565 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานเปิดศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ณ ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ทั้งนี้มีผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ร่วมในพิธีเปิดพร้อมเยี่ยมชมพื้นที่และรับฟังการบรรยายจาก นายคนึง กาบกันทะ ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้แก่ จุดที่ 1 ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ประกอบด้วย การสร้างความชุ่มชื้นด้วยป่าเปียก การเลี้ยงไก่ไข่ให้ประหยัดต้นทุน การเลี้ยงกระต่ายเพื่อจำหน่ายวิธี การเลี้ยงไส้เดือนทำปุ๋ย การปลูกกาแฟ และโกโก้พืชเศรษฐกิจ การเลี้ยงแหนแดง เพื่อลดต้นทุนอาหารสัตว์ การทำปศุสัตว์ เลี้ยงปลา เลี้ยงจิ้งหรีด เลี้ยงกบ เลี้ยงกุ้งฝอย จุดที่ 2 สวนสมุนไพรและพืชผัก สวนครัว อพ.สธ. เพื่อการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทางการเรียนรู้ ชงชิมน้ำสมุนไพรและกาแฟที่ปลูกไว้ในพื้นที่ จุดที่ 3 สวนสมุนไพรป่าเต็งรัง เพื่อการเรียนรู้และการใช้ประโยชน์ ชมแปลงทดลองปลูกดอกทานตะวันแคระแบบแดดรำไร กิจกรรมปลูกไผ่ข้าวหลาม และจุดที่ 4 แปลงสาธิตและส่งเสริมการปลูกพืชผักปลอดภัย ชมแปลงทดลองปลูกดอกทานตะวันแคระ แบบกลางแจ้ง และกิจกรรมปลูกผักปลอดภัย รวมพื้นที่ ประมาณ 72 ไร่
                    ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2562 ด้วยการเริ่มต้นพัฒนาพื้นที่บนเนื้อที่ประมาณ 16 ไร่ ให้เป็นพื้นที่ต้นแบบสำหรับศึกษาและทดลองดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อเป็นแหลงศึกษาเรียนรู้ “ศาสตร์พระราชา” สำหรับนักศึกษา คณาจารย์ บุคลากร และประชาชน โดยดำเนินงานภายใต้ชื่อ “โครงการศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง” ต่อมาเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2564 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 97 ปี วันสถาปนามหาวิทยาลัย จึงได้จัดตั้งขึ้นเป็น “ศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่” มีนายคนึง กาบกันทะ ผู้อำนวยการกองอาคารสถานที่ เป็นผู้อำนวยการศูนย์การเรียนรู้ฯ และอาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี เป็นประธานคณะกรรมการดำเนินงานศูนย์การเรียนรู้ฯ
                    เริ่มต้นดำเนินการในพื้นที่ที่เป็นป่าเต็งรัง หรือที่รู้จักในชื่อ ป่าแพะ ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง ต้นไม้ที่พบในพื้นที่ ได้แก่ ไม้เต็ง ไม้เหียง ไม้ตะแบก ไม้ประดู่ พบอยู่ทั่วไปในที่ราบและตามเนินเขา ทั้งนี้ทางศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้น้อมนำ “ศาสตร์พระราชา” มาปรับใช้และจัดการพื้นที่ คือ “การพัฒนาป่าด้วยทฤษฎีป่าเปียก” ซึ่งเป็นทฤษฎีการพัฒนาป่าไม้ด้วยการใช้ทรัพยากรน้ำเพื่อสร้างความชุ่มชื้น เป็นหลักสำคัญที่จะช่วยให้ป่ามีความสมบูรณ์ โดยมีการทำบ่อกักเก็บน้ำบนที่สูง แล้วทำลำธารที่เรียกว่า “คลองไส้ไก่” ให้น้ำที่กักเก็บไว้ไหลผ่านคลอง ผ่านป่า ลงมาสู่บ่อเก็บน้ำด้านล่าง หลังจากที่ป่าไม้ในพื้นที่สมบูรณ์ ทางศูนย์การเรียนรู้ฯ ได้นำแนวทฤษฎี “การทำสวนเกษตรพอเพียง” เข้ามาปรับใช้และเรียนรู้ โดยเน้นการเพาะปลูกพืชผักหมุนเวียน เช่น ผักกาด ผักสลัด ผักบุ้ง ผักชี มะเขือ พืชสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร ว่านหางจระเข้ บอระเพชร ฟักข้าว การเพาะเห็ดนางฟ้า การเลี้ยงสัตว์ เช่น ปลาทับทิม ปลาดุก กบ จิ้งหรีด ที่สำคัญยังได้นำพืชเศรษฐกิจเข้ามาทดลองปลูก เช่น โกโก้ กาแฟ กล้วย และเน้นการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งเป็นไป ตามแนวทางโครงการในพระราชดำริของในหลวง รัชกาลที่ 9 สืบสานศาสตร์พระราชาอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีหน้าที่ในการพัฒนาองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ในทุกมิติ ให้บริการวิชาการแก่สังคมเพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืนในบริบทและมิติที่เหมาะสมกับภูมิสังคม การร่วมมือทางวิชาการเกี่ยวกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่กับหน่วยงาน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมรวบรวมองค์ความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชาและเผยแพร่ตัวอย่างที่เป็นต้นแบบ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้และเรียนรู้เพื่อขยายผลต่อไป
ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาพ : วัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click










เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th