มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จัดพิธีมอบรางวัล เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2564 - 2565

 


                    มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เชิดชูเกียรติบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม จัดพิธีมอบรางวัล เพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ประจำปี 2564 - 2565
                    เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2565 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ราชภัฏเชียงใหม่ สืบสานภูมิปัญญา:เพชรราชภัฏ เพชรล้านนา พิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ- เพชรล้านนา และมอบรางวัลแก่ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ที่ได้รับคัดเลือกเป็นเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2564 และ ปีพุทธศักราช 2565
                    ทางด้าน ผศ.ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้จัดทำโครงการเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เพื่อคัดสรรบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น เพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม สร้างขวัญและกำลังใจสนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงาน สืบสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญา โดยให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่สังคมล้านนา โดยได้มอบโล่เชิดชูเกียรติ เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนาประจำปีพุทธศักราช 2564 จำนวน 5 ท่าน ได้แก่
                            1.เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์(วรรณกรรมล้านนา)ได้แก่ นายนันท์ นันท์ชัยศักดิ์
                            2.เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา สาขาศิลปะ ทัศนศิลป์ ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรสิทธิ์ เสาว์คง
                            3. เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา สาขาศิลปะ ด้านการแสดง(การดนตรี) ได้แก่ นายวิเศษ บุญนนท์
                            4. เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา สาขาศิลปะ ด้านการแสดง(เจิงฟ้อน เจิงฟัน) ได้แก่ นายทรงชัย สมปรารถนา
                            5. เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา สาขาศิลปะ ด้านทัศนศิลป์(จิตรกรรมฝาผนัง) ได้แก่ นายเจริญ มานิตย์
                    และเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนาประจำปีพุทธศักราช 2565 จำนวน 5 ท่าน ได้แก่
                            1.สาขาศิลปะ ด้านหัตถกรรม ได้แก่ นายอุทัยย์ กาญจนคูหา
                            2.สาขาศิลปะ ทัศนศิลป์(ประติมากรรม)ได้แก่ นายอัญเชิญ โกฏแก้ว
                            3.สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ นายดนัย สังขทัต ณ อยุธยา
                            4.สาขาศิลปะ ด้านการแสดงคร่าว จ๊อย และเพลงซอพื้นเมือง ได้แก่ นายขวัญชัย สุรินทร์ศรี
                            5. สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ นายภูเดช แสนสา
ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน      นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาพ : นายวัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click









เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th