มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมมือกับ GISTDA ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Pandora เพื่อติดตามสภาพอากาศในภูมิภาคอาเซียน และประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี

 


            มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมมือกับ GISTDA ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Pandora เพื่อติดตามสภาพอากาศในภูมิภาคอาเซียน และประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี
            เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้เปิดงานการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Pandora ณ ชั้นดาดฟ้าอาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ โดยมีนายตติยะ ชื่นตระกูล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ และทีมงานร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึก   
            ตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) หรือจิสด้า ได้มีการลงนามร่วมกันในบันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MOU) เพื่อเป็นเครือข่ายความร่วมมือการบูรณาการเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ในการนี้ได้มีการติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดินแบบสเปคโตรมิเตอร์ระบบ Pandora (Ground Based Remote Sensing) ออกแบบโดยองค์การนาซ่า มีการติดตั้ง 3 แห่งในประเทศไทยคือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ GEMS ที่ติดตั้งบนดาวเทียม GEO-KOMPSAT 2B โดยจะสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution information : PAPGAPi” มีเครือข่ายภาคีในการจัดทำโดย National Environment Research Institute (NEIR), Korea International Cooperation Agency (KOICA), คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (NASA)
            นอกจากการติดตั้งเครื่องมือ Pandora แล้ว ยังได้มีการจัดงานประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศเพื่อติดตามมลภาวะอากาศในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน” มี 12 หน่วยงานเข้าร่วมเพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี คือสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ, ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ภาคเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16, สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1, สภาลมหายใจเชียงใหม่, สำนักงานสาธารณสุข, สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, สำนักงานอุตสาหกรรม, สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, โรงเรียนแม่วินสามัคคี, สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่, และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ
            อาจารย์ ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ และอาจารย์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท ในฐานะผู้ประสานงานหลักได้กล่าวเพิ่มเติมว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่พร้อมเป็นศูนย์กลางเครือข่ายด้านเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี มีความยินดีที่จะร่วมดำเนินงานร่วมกับภาคีเครือข่ายในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และภูมิภาคอาเซียน สำหรับทีมคณาจารย์และนักวิจัยมาจากหลายสาขาวิชา อาธิ ภูมิสารสนเทศ, สิ่งแวดล้อม, เคมี, คอมพิวเตอร์, ชีววิทยา เป็นต้น ทั้งนี้การดำเนินงานจะเป็นการประยุกต์ใช้ข้อมูลจากดาวเทียมและข้อมูลเซ็นเซอร์ต่างๆ ในโครงการวิจัยเชิงปฏิบัติการ, การบริการวิชาการ การประยุกต์ให้สอดคล้องกับหน่วยงานเครือข่าย การพัฒนานวัตกรรมร่วมกับการใช้เทคโนโลยีก็เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมชุมชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนตามหลักการพัฒนาของ SDGs
ข่าว : อาจารย์ ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศด้านแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศชุมชน
ภาพ : วัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click









เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th