มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ประธานสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NIER) สาธารณรัฐเกาหลีและคณะเข้าเยี่ยมคารวะอธิการบดีและหารือความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วยดาวเทียมระบบ GEMS

 


            ประธานสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (NIER) สาธารณรัฐเกาหลีและคณะเข้าเยี่ยมคารวะอธิการบดีและหารือความร่วมมือเพื่อเฝ้าระวังคุณภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมด้วยดาวเทียมระบบ GEMS
            เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2565 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้บริหารและอาจารย์ของมหาวิทยาลัยให้การต้อนรับ Dr.Dong Jin KIM ประธานสถาบันวิจัยสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หรือ NIER ซึ่งเป็นผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐเกาหลี พร้อมทั้งคณะประกอบไปด้วยผู้แทนจากองค์การสหประชาชาติ (UNESCAP) ผู้แทนจากจิสด้า (GISTDA) และศาสตราจารย์ของมหาวิทยาลัยพูคยอง (Pukyong National University) เพื่อสานความร่วมมือจากการที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เป็นสถานที่ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศ Pandora ระบบ Ground-based Remote Sensing และเป็นเครือข่ายแห่งเอเชีย Pandora Asia Network (PAN) ภายใต้โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution information, PAPGAPi
โดยมหาวิทยาลัยได้ยึดหลักการพัฒนาที่ยั่งยืนซึ่งสอดคล้องกับแนวทางเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) ตามหลักสากลแห่งองค์การสหประชาชาติ (United Nations) โดยเฉพาะข้อที่ 13 ที่ว่าด้วยเรื่องของ Climate Action เพื่อดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อน โดยเป็นส่วนหนึ่งที่จะได้ดำเนินงานความร่วมมือทั้งด้านการวิจัย การพัฒนาองค์ความรู้ และการประยุกต์ใช้ข้อมูลและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างเป็นรูปธรรมและอย่างยั่งยืนต่อไป
            ทั้งนี้มหาวิทยาลัยได้ให้ความสำคัญของความร่วมมือในครั้งนี้เป็นอย่างมากจึงได้จัดตั้งศูนย์ airTEC หรือ Good Air Quality Protection Network by Space Technology for Sustainable Society Operation Center ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางการรวมตัวกันของอาจารย์และนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีอวกาศและคุณภาพอากาศ และจะเป็นหน่วยงานหลักที่จะประสานงานทั้งในระดับจังหวัด ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ ทั้งนี้ได้มีการนำเสนอพรีเซ็นเทชั่นแนวทางการดำเนินงานโดย ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท และ ดร.ดวงเดือน เทพนวล ผู้ร่วมก่อตั้งศูนย์ airTEC โดยจะได้นำข้อมูลจากเครื่องมือ Pandora ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ GEMS ควบคู่ไปกับการพัฒนาเซ็นเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศ PM2.5 ระบบ adiDUST CMRU เพื่อติดตั้งและบันทึกค่าในชุมชนต่างๆ การดำเนินงานจะเป็นไปในรูปแบบบูรณาการศาสตร์ให้เกิดประโยชน์ทั้งเชิงวิชาการและเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชน
            ภายหลังการหารือ Dr.Dong Jin KIM และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมและตรวจสอบเครื่องมือ Pandora ซึ่งติดตั้งบนชั้นดาดฟ้าของอาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ ทีมช่างได้ทำการตรวจสอบและตั้งค่าเครื่องมือเพื่อให้สามารถตรวจจับและบันทึกค่าด้านคุณภาพอากาศได้อย่างถูกต้องต่อไป โดยข้อมูลที่บันทึกค่าได้ในภาคพื้นดินนี้จะสามารถนำไปตรวจสอบความถูกต้อง (validate) กับข้อมูลเซนเซอร์ของดาวเทียมระบบ GEMS ซึ่งเป็นดาวเทียมค้างฟ้า หรือ Geostationary Earth Orbit มีจุดเด่นที่สามารถเฝ้าระวังคุณภาพอากาศได้ทุกชั่วโมงแบบเรียลไทม์แสดงค่าทั้งแนวราบและแนวดิ่งจำแนกตามชั้นบรรยากาศทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย โดยเซนเซอร์แบบหลายช่วงคลื่นนี้จะสามารถตรวจจับข้อมูลค่าคุณภาพอากาศที่มีลักษณะละอองลอย (Aerosol) ได้หลากหลาย อาธิ PM2.5, O3, NO2, SO2, HCHO, CHOCHO เป็นต้น
ข่าว : ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเลิศด้านแผนที่และเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ภาพ : วัชระ ไทยบัณฑิตย์ นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click








เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th