มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชม. จัดพิธีบูชาจองพารา ประเพณีออกพรรษา งานปอยออกหว่า ประจำปี2565

 

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มร.ชม. จัดพิธีบูชาจองพารา ประเพณีออกพรรษา

งานปอยออกหว่า ประจำปี2565



           วันที่ 10 ตุลาคม 2565 ผศ.ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย .ดร. ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นำคณะบุคลากร อาจารย์ นักศึกษา และประชาชนชุมชนใกล้เคียงมหาวิทยาลัย ร่วมขบวนแห่นกและโต จากบริเวณอาคารเทพรัตนราชสุดา สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มายังบริเวณพิธี ณ ลานมณฑปพระพิฆเนศวร เพื่อร่วมพิธีทำบุญประเพณีออกพรรษา “งานปอยออกหว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำปี2565” พร้อมรับชมการแสดงฟ้อนนกกิงกะหล่า เต้นโต และฟ้อนเจิงแบบไทใหญ่ และร่วมพิธีบูชาจองพารา ณ เรือนอนุสารสุนทร ในการนี้ได้รับเกียรติจาก อ.ส่างคำ จางยอด ครูภูมิปัญญาด้านศิลปวัฒนธรรมไทใหญ่ พร้อมด้วย ดร.ดิเรก อินจันทร์ นักวิชาการวัฒนธรรม สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในการบรรยายให้ความรู้เรื่อง“ความสำคัญของปอยออกหว่า หรือ ประเพณีเข้าพรรษา และพิธีบูชาจองพารา” เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ร่วมกิจกรรม











งานประเพณีจองพารา คือประเพณีส่วนหนึ่งในงานเทศกาลออกพรรษา (งานปอยเหลินสิบเอ็ด) คำว่า “จองพารา” เป็นภาษาไทยใหญ่แปลว่า “ปราสาทพระ” การบูชาจองพารา คือการสร้างปราสาทเพื่อคอยรับเสด็จพระพุทธเจ้าที่จะเสด็จลงมาจากสวรรค์ชั้น ดาวดึงส์ ซึ่งเป็นปราสาทจำลอง ทำด้วยโครงไม้ไผ่ ประดับลวดลายด้วยกระดาษสา กระดาษสีต่าง ๆ หน่อกล้วย อ้อยและโคมไฟ ตกแต่งอย่างสวยงามเพื่อใช้สมมติเป็นปราสาทรับเสด็จพระพุทธองค์จากสวรรค์ จากนั้นก็จะยก “จองพารา” ขึ้นไว้นอกชายคา นอกรั้ว หรือบริเวณกลางลานทั้งที่บ้านและที่วัด เทศกาลนี้จัดขึ้นระหว่างวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันแรม 8 ค่ำ เดือน 11 ซึ่งในปี 2565  ตรงกับวันที่ 10 – 18 ตุลาคม 2565



         ปอยเหลินสิบเอ็ด” หรือ “ปอยออกหว่า” เป็นภาษาไทใหญ่ คือคำเรียก “ประเพณีออกพรรษา” ตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 (เดือน 1 ของชาวล้านนา) ซึ่งชาวบ้านจะนำภัตตาหารไปถวายวัด เพื่อสั่งสมบุญและอุทิศส่วนกุศลให้กับญาติที่เสียชีวิตไปแล้ว

นอกจากนั้น ยังมีการสร้าง “จองพารา” คือบุษบกที่ประดับตกแต่งให้สวยงามไว้ที่บ้าน หรือที่วัด เพื่อรอรับเสด็จพระพุทธเจ้า ตามคติที่ว่าในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปจำพรรษาที่สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อแสดงพระอภิธรรมโปรดพุทธมารดา เมื่อออกพรรษาแล้วจึงเสด็จกลับมายังโลกมนุษย์ ในวันดังกล่าว พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เทวดา อินทร์ พรหม และสรรพสัตว์ทั้งหลายได้พร้อมใจกันมาตอนรับ มีการแสดงและการละเล่นต่างๆ เช่น ฟ้อนนกกิงกะหร่า เต้นโต ก้าแลว (ฟ้อนดาบ) และก้าลาย (ฟ้อนเจิง) ซึ่งได้ปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน

โดยก่อนที่ “นกกิงกะหร่า” หรือ “โต” จะเข้ามาแสดงในบ้านเรือน ชุมชน หรือวัด จะมีประเพณีที่สำคัญ คือเจ้าของบ้านจะซักถามก่อนที่จะเชิญเข้าบ้านหรือเริ่มการแสดง ว่านกกิงกะหร่า หรือโต ที่เป็นสัตว์หิมพานต์ มีรูปร่างแตกต่างจากสัตว์ทั่วไปนี้ จะเป็นมงคลหรือไม่ ฝ่ายนกกิงกะหร่า โต หรือหัวหน้าคณะก็จะตอบว่า สัตว์หิมพานต์เหล่านี้ มาร่วมรับเสด็จพระพุทธเจ้า เป็นสัตว์มงคล หากได้มาฟ้อนหรือร่ายรำในที่ใด สถานที่นั้นก็จะสงบสุขร่มเย็น มีทรัพย์สมบัติมากมาย เป็นต้น

ปัจจุบัน การซักถามนกกิงกะหร่า หรือโต ในประเพณี “ปอยออกหว่า” หรือ “ประเพณีออกพรรษา” ของชาวไทใหญ่ จะพบเห็นได้น้อย สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จึงได้เชิญ พ่อครูส่างคำ จางยอด ซึ่งเป็นเพชรราชภัฏ-เพชรล้านนา ครูสอนด้านศิลปะการแสดงไทใหญ่ และภาษาไทใหญ่ พร้อมกับลูกศิษย์มาร่วมแสดงและประกอบพิธีบูชาจองพารา ณ เรือนอนุสารสุนทร เพื่ออนุรักษ์ และเผยแพร่ประเพณีของชาวไทใหญ่ให้คงอยู่ต่อไป

 

          

          

          

ภาพ – ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ ศูนย์สื่อสารองค์กร

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี)    

 

ชมประมวลภาพกิจกรรม >> Click

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)     

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th