มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ศูนย์ AiroTEC มร.ชม. ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ม.พะเยา

 

ศูนย์ AiroTEC มร.ชม. ต้อนรับคณะศึกษาดูงาน ม.พะเยา



 

วันที่ 30 มกราคม 2566 อ.ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่ออากาศที่ดีแห่งเอเชีย (ศภอ.) หรือศูนย์ AiroTEC (Asian Air Quality Operations Center by Space Technology, Geo-informatics & Environmental Engineering) พร้อมด้วย อ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ รับผิดชอบงานด้านบริการวิชาการ งานเครือข่ายความร่วมมือ และงานการต่างประเทศ และ อ.วรวิทย์ ศุภวิมุติ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ รับผิดชอบงานด้านเทคโนโลยีอวกาศ ภูมิสารสนเทศ เครื่องมือและข้อมูล Pandora ข้อมูลจากดาวเทียมระบบ GEMS ให้การต้อนรับคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยพะเยา นำโดย ผศ.ดร.นิติ เอี่ยมชื่น นำคณะอาจารย์และนักศึกษาจากคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เดินทางมาศึกษาดูงานและออกปฏิบัติการภาคสนาม ในรายวิชา 224351 การจำลองแบบปรากฏการณ์เชิงพื้นที่ ณ ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้และรับฟังการบรรยาย ในหัวข้อเรื่อง นวัตกรรมการตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นควัน PM 2.5 เซนเซอร์ adiDUST, เซนเซอร์ Pandora Spectrometer, และข้อมูลดาวเทียมระบบ GEMS






โอกาสนี้ได้นำเยี่ยมชมพื้นที่ติดตั้งเครื่องมือตรวจวัดคุณภาพอากาศภาคพื้นดินแบบสเปคโตรมิเตอร์ระบบ Pandora (Ground Based Remote Sensing) ออกแบบโดยองค์การนาซ่า ซึ่งมีการติดตั้งเพียง 3 แห่งในประเทศไทย คือ กรุงเทพมหานคร จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดสงขลา เพื่อเชื่อมต่อกับเซ็นเซอร์ GEMS ที่ติดตั้งบนดาวเทียม GEO-KOMPSAT 2B โดยจะสามารถตรวจสอบคุณภาพอากาศครอบคลุมพื้นที่ในภูมิภาคอาเซียน ภายใต้โครงการ “Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution information : PAPGAPi” มีเครือข่ายภาคีในการจัดทำโดย National Environment Research Institute (NEIR), Korea International Cooperation Agency (KOICA)คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับเอเชียแปซิฟิก (UNESCAP) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติ แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (NASA)




ทั้งนี้ ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่ออากาศที่ดีแห่งเอเชีย (ศภอ.) หรือศูนย์ AiroTEC (Asian Air Quality Operations Center by Space Technology, Geo-informatics & Environmental Engineering) โดยอยู่ภายใต้การกำกับดูแลโดยตรงของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ซึ่งมีคณะทำงานประกอบด้วยอาจารย์ นักวิจัย และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่มีความเชี่ยวชาญในศาสตร์ของตนเองและมีความสนใจร่วมกันในงานทางด้านอากาศ ทั้งทางวิชาการ งานวิจัย และบริการวิชาการแก่ชุมชน

 

           

           

           

ภาพ/ข่าว ทีมประชาสัมพันธ์ ศูนย์ AiroTEC

เรียบเรียงข่าว - เผยแพร่ : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


ติดตามข่าวสารจาก Airotec CMRU>> Click

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th