สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย” ครั้งที่ 8
2 มี.ค. 2566
โดย สุกัญญา แก้ววรรณ
Tweet
สถาบันวิจัยและพัฒนา ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมการประชุมวิชาการระดับชาติ “พิบูลสงครามวิจัย” ครั้งที่ 8

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำบุคลากรสถาบันวิจัยและพัฒนา ร่วมพิธีเปิดการประชุมวิชาการระดับชาติ พิบูลสงครามวิจัย ครั้งที่ 8 ประจำปี พ.ศ. 2566 ภายใต้แนวคิด “การวิจัยและนวัตกรรมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs)” พร้อมกันนี้ได้เข้ารับโล่การเป็นเครือข่ายเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการ จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชุมพล เสมาขันธ์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม ณ ห้องประชุม Meeting Hall e-Library สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม (ส่วนทะเลแก้ว) อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งจัดขึ้นเพื่อกระตุ้นและส่งเสริมให้คณาจารย์ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ตระหนักและเห็นความสำคัญของงานวิจัยในการผลิตและตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิจัย อีกทั้งเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิจัยในระดับชาติเพื่อแลกเปลี่ยนความก้าวหน้าเชิงวิชาการของอาจารย์ นักวิจัย นิสิต นักศึกษา รวมถึงสร้างเครือข่ายงานวิจัยกับสถาบันการศึกษาต่าง ๆ



ทั้งนี้มีนักวิจัยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่เข้าร่วมนำเสนอผลงานรูปแบบบรรยาย - โปสเตอร์ ทั้ง Onsite และ Online จำนวน 4 ผลงาน ประกอบด้วย ผลงาน “พลวัตบ้านปกาเกอะญอ : การศึกษามรดกสถาปัตยกรรมผ่านการสร้างสื่อมานุษยวิทยาทัศนา” หัวหน้าโครงการ อาจารย์พิสุทธิลักษณ์ บุญโต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลงาน “แนวทางการจัดการการฝึกอบรมตามสมรรถนะหลักอาเซียน และตามความต้องการในการฝึกอบรมของพนักงานโรงแรมในจังหวัดเชียงใหม่” หัวหน้าโครงการ อาจารย์ตุลยนุสรญ์ สุภาษา วิทยาลัยนานาชาติ ผลงาน “การประยุกต์ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายเพื่อชักนำให้เกิดโพลีพลอยด์จากเนื้อเยื่อพรมมิ” หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และผลงาน “ผลการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้(5E) ที่ส่งเสริมแนวคิดวิทยาศาสตร์ เรื่อง สภาพละลายได้และปัจจัยที่มีผลต่อสภาพละลายได้” สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หัวหน้าโครงการ ผศ.ดร.อโนดาษ์ รัชเวทย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการประชุมนอกจากมีการนำเสนอผลงานแล้วยังจัดให้มีนิทรรศการตลาดสินค้า ซึ่งเป็นกิจกรรมส่งเสริมและผลักดันสินค้าและบริการออกสู่ตลาด เพื่อสร้างรายได้ให้กับตำบล ภายใต้โครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจ BCG (U2T for BCG) อีกด้วย




ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ รักษาการในตำแหน่งหัวหน้างานประชาสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ข้อมูล / ภาพ : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)