มร.ชม. ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ จัดฝึกอบรม“สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ 4
มร.ชม. ร่วมกับ สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
จัดฝึกอบรม“สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ 4
เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2566 รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวต้อนรับ ผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร จากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปางมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผู้เข้าร่วมฝึกอบรม“สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ 4 ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก นายสมปรารถนา สุขทวี รองผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีเปิด
อ.ดร.อัครสิทธิ์ บุญส่งแท้ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มีภารกิจ ที่สำคัญคือ ผลิตและพัฒนากำลังคนระดับสูง ให้มีมาตรฐานที่สอดคล้องกับความต้องการในการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคม การศึกษา ค้นคว้า วิจัยและพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ให้สามารถนำไปใช้ในการผลิตให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพให้บริการทางวิชาการแก่หน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนในด้านการให้คำปรึกษา แนะนำการวิจัยและพัฒนา การทดสอบ การสำรวจ รวมทั้งการฝึกอบรมและพัฒนาอันก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่จำเป็นและเหมาะสม เพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การดำเนินการจัดอบรมในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) เพื่อดำเนินการพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ผ่านโครงการ “สร้างนักวิจัยรุ่นใหม่” (ลูกไก่) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รุ่นที่ ๔ ซึ่งเป็นหลักสูตรเพื่อใช้ในการฝึกอบรมนักวิชาการ นักวิจัย ตลอดจนบุคลากรจากภาคส่วนอื่น ๆ ผลิตและพัฒนาบุคลากรวิจัยและนวัตกรรม ให้มีคุณภาพ และสามารถเขียนข้อเสนอการวิจัยได้โดยมีผู้เข้ารับการฝึกอบรมจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จำนวนทั้งสิ้น 61 คน มีระยะเวลาในการฝึกอบรม 5 วัน ระหว่างวันที่ 20-24 มีนาคม 2566
ทั้งนี้ในกิจกรรมของการฝึกอบรมจัดให้มีกิจกรรมการบรรยายรวมถึงการฝึกภาคปฏิบัติโดยมีวิทยากรจากหลักสูตรการพัฒนานักวิจัย
(แม่ไก่) ของ วช. ทำหน้าที่เป็นวิทยากร และให้คำปรึกษา โดยมีเนื้อหาได้แก่ หมวดที่
1 ปรัชญาการวิจัย จรรยาบรรณนักวิจัย และจริยธรรมการวิจัย หมวดที่ 2 การกำหนดโจทย์การวิจัย หมวดที่ 3 การทบทวนวรรณกรรม การสังเคราะห์วรรณกรรม
กรอบแนวคิด กรอบแนวคิด ตัวแปร ระดับมาตรวัด และสมมติฐานการวิจัย หมวดที่ 4 การออกแบบการวิจัย
รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ การกำหนดขนาดตัวอย่างและการวิเคราะห์ข้อมูล หมวดที่ 5
แนวคิดเกี่ยวกับการวัด
ปัจจัยที่มีผลต่อความคลาดเคลื่อนจากการวัดและการตรวจสอบคุณภาพความตรงและความเที่ยงของเครื่องมือวิจัย
(เน้นเครื่องมือวัดเชิงปริมาณ) และหมวดที่ 6
หลักการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยและนวัตกรรม
และหลักการประยุกต์งานวิจัยและนวัตกรรมไปสู่การใช้ประโยชน์
ภาพ - ข่าว : นางสาวพัชริดา
เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ศูนย์สื่อสารองค์กร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประมวลภาพ >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)