มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

"AiroTec CMRU" จับมือ "GISTDA" ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ฝึกอบรม "Pandora and GEMS Data Processing & Application" เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน

 

 

"AiroTec CMRU" จับมือ "GISTDA" ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร ฝึกอบรม

"Pandora and GEMS Data Processing & Application"

เพื่อบูรณาการองค์ความรู้และการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืน




 

        ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จับมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์กรมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ และนวัตกรรม หรือในนามของจิสด้า (GISTDA) สหประชาชาติ (UNESCAP) กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตร 16 หน่วยงาน ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติจังหวัดเชียงใหม่ ศูนย์ภูมิภาคเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศภาคเหนือ สำนักงานบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 1 (เชียงใหม่) สำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 1 สภาลมหายใจเชียงใหม่ สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชียงใหม่ สาธารณสุขจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดเชียงใหม่ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดเชียงใหม่ และศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคเหนือ จัดกิจกรรมฝึกอบรม "Pandora and GEMS Data Processing & Application" ภายใต้การนำของ GISTDA ซึ่งอยู่โครงการ "Building the Pan-Asia Partnership for Geospatial Air Pollution information" (PAPGAPi) ให้กับเจ้าหน้าที่ปฏิบัติในระดับพื้นที่ ของเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน Pandora ประกอบด้วย กรมควบคุมมลพิษ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อีกทั้งนักวิจัยและเจ้าหน้าที่รัฐของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจวัดคุณภาพอากาศในระดับพื้นที่และท้องถิ่น โดยมี ดร.สุรัสวดี ภูมิพานิช ผู้จัดการโครงการกล่าวรายงาน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุรศักดิ์ นุ่มมีศรี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้การต้อนรับ ระหว่างวันที่ 19-21 เมษายน 2566 ณ ห้องประชุมเอื้องสายส่องแสง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่









          สำหรับภายในงานมีการบรรยายเทคโนโลยีเพื่อการเฝ้าระวังและติดตามคุณภาพอากาศ และการอบรมเชิงปฏิบัติการเครื่องตรวจวัดภาคพื้นดิน Pandora  และข้อมูลดาวเทียมระบบ GEMS   การแสดงนิทรรศการยานไร้คนขับ (UAV) เพื่องานด้านคุณภาพอากาศ รวมทั้งการลงพื้นที่เยี่ยมชมการดำเนินงานด้านการจัดการคุณภาพอากาศของศูนย์ AiroTec CMRU ตำบลริมเหนือ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมและบูรณาการข้อมูลที่ได้จากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศและสถานีตรวจวัดภาคพื้นดิน  อีกทั้งสร้างเสริมองค์ความรู้และฝึกอบรมการใช้ข้อมูลที่ได้จากเครื่องตรวจวัด Pandora และข้อมูล GEMS ในการตรวจวัดคุณภาพอากาศ ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการผนึกกำลังร่วมกับพันธมิตรเพื่อแลกเปลี่ยนและหารือแนวทางการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศในการติดตามเฝ้าระวังและการจัดการคุณภาพอากาศในประเทศไทยที่ยั่งยืนต่อไป














       

        ด้าน ดร.รัชพล สัมพุทธานนท์ ผอ.ศูนย์ AiroTec CMRU กล่าวเพิ่มเติมว่า "สำหรับทางศูนย์ฯ ของเราจะนำเสนอในหัวข้อ "นวัตกรรมการตรวจวัดคุณภาพอากาศและฝุ่นควัน PM 2.5 การบูรณาการศาสตร์เพื่อร่วมจัดการปัญหาฝุ่นควันเพื่ออากาศที่ดีในจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอนเพื่อสุขภาพที่ดีของคนในชุมชน” และกิจกรรมต่าง ๆ ที่ได้ดำเนินการตามแนวคิด From Space, To the Earth, For Communities เพื่อประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่นตามหลักปรัชญาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ยิ่งไปกว่านั้นทางศูนย์ฯ มีความมุ่งหวังให้พันธมิตรทั้ง 16 หน่วยงานร่วมมือกันช่วยจัดการปัญหาหมอกควันให้คลี่คลาย ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว"










       ขณะที่ ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รอง ผอ.ศูนย์ AiroTEC ได้กล่าวเสริมว่า "การรับมือกับปัญหาฝุ่นควัน ควรจะมีการสร้างการรับรู้และตระหนักถึงค่าฝุ่นควันด้วยเซนเซอร์ รวมทั้งการให้ความรู้กับสังคมในการป้องกันตนเองในช่วงวิกฤติฝุ่นควัน PM 2.5 ด้วยการสวมหน้ากากอนามัย N95 การประดิษฐ์เครื่องฟอกอากาศ DIY และการสร้างห้องแรงดันบวกปลอดฝุ่นเพื่อการจัดการคุณภาพอากาศที่ยั่งยืนให้กับประชาชนในท้องถิ่นต่อไป"







 













ข่าว: ศูนย์ปฏิบัติการด้านเทคโนโลยีอวกาศภูมิสารสนเทศและวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมเพื่อคุณภาพอากาศที่ดีแห่งเอเชีย (AiroTEC) มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ภาพ : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่


คลิกเพื่อรับชมและดาวน์โหลดภาพกิจกรรม   >> Click

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)  



 

 

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th