1 พฤษภาคม 2566 “99 ปี วันครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่”
1 พฤษภาคม 2566 “99 ปี วันครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่”
เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 รองศาสตราจารย์
ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
นำอดีตผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ
ร่วมงานเนื่องในโอกาส 99 ปี วันครบรอบวันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประกอบด้วย พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ พิธีสักการะและบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์
ประจำมหาวิทยาลัย ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และพื้นที่เวียงบัว จากนั้นได้เข้าร่วมพิธีทำบุญทักษิณานุปทาน
พิธีสืบชะตาแบบล้านนา พิธีจารธรรมใบลานและเขียนพับสาเป็นปฐมฤกษ์
โอกาสนี้รักษาราชการแทนอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติมอบรางวัลแก่ผู้ได้รับรางวัลพระพิฆเนศวรแก่บุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น
ได้แก่ บุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่นด้านบริหาร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุชานาฏ
สิตานุรักษ์ สังกัดคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม นางศิริเพ็ญ ผ่อนจัตุรัส ผู้อำนวยการสำนักงานอธิการบดี บุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่นสายวิชาการ
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อโนดาษ์
รัชเวทย์ สังกัดภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
บุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่นสายสนับสนุน นางสาวยุพิน ธิยานันต์ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
สังกัดสำนักทะเบียนและประมวลผล
รางวัลพระพิฆเนศวรแก่นักศึกษาที่ได้รับการคัดเลือกเป็นนักศึกษาดีเด่น
แบ่งเป็นระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ นายคำแสน
สองแดน ชั้นปีที่ 5 สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ นายนัทธนิษฐ์ กาโน ชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาสังคมศึกษา
คณะครุศาสตร์ และนางสาวไพลิน ชัยชนะ ชั้นปีที่
2 สาขาวิชานาฏศิลป์ คณะครุศาสตร์ ระดับคณะ วิทยาลัย ได้แก่ คณะครุศาสตร์ นายศิรสิทธิ์ แก้วศรีโย ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสังคมศึกษา
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ นายเจษฎา
สุภาเสาร์ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายนิติภูมิ
สานใจ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ นางสาวปาลิตา วงค์แก้ว ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการจัดการ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร นางสาวรักษ์ศิกา ณ เชียงใหม่ ชั้นปีที่ 3
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ นางสาวบัญฑิตา ทายะ ชั้นปีที่ 3
สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ และวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน นายวศิน รักสีขาว ชั้นปีที่ 3
สาขาวิชาการประถมศึกษา
รางวัลผู้มีจรรยาบรรณดีเด่น
กลุ่มผู้บริหาร
ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษรา ปัญญา
ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล อาจารย์ ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
อาจารย์ ดร.วัชรี หาญเมืองใจ
หัวหน้าภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และอาจารย์ ดร.รัฐ ใจรักษ์ หัวหน้าภาควิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ
คณะวิทยาการจัดการ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ ได้แก่ สังกัดคณะครุศาสตร์ อาจารย์ปริญญา สำราญบำรุง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทัศนีย์ บุญแรง สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้แก่ อาจารย์ ดร.ณัฐธิดา สุภาหาญ
สังกัดคณะวิทยาการจัดการ อาจารย์วลัยพร
สุพรรณ, อาจารย์อุบลวรรณา
เกษตรเอี่ยม, อาจารย์พรรณรัตน์
บุญกว้าง สังกัดโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นางชนิดา อิศรเสนา กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ นางอุบล มาตัน สังกัดคณะครุศาสตร์ นางศิริพร ปัญญาอินทร์, นางสาวศิริลักษณ์ นพคุณ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นายพลากร กวางนอน สังกัดคณะวิทยาการจัดการ นายราชันย์ จันทร์เที่ยง
สังกัดสำนักทะเบียนและประมวลผล นายวิทูร
อุ่นแสน สังกัดสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา และนางสาวชิสา บุญเจริญ สังกัดศูนย์ภาษา
รางวัลศิษย์เก่าดีเด่น ประจำปี 2562 –
2565 สาขาบริหารสถาบันการศึกษา ได้แก่ นายวุฒิไกร วรรณการ ผู้อำนวยการโรงเรียนสารภีพิทยาคม นายประวัติ ผันผาย ผู้อำนวยการโรงเรียนฝางชนูปถัมภ์ นายเรืองยศ ปันศิริ
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3 นายสวงษ์ ไชยยา
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา
(สกสค.) จังหวัดเชียงใหม่ ดร.จารุวัฒน์
สัตยานุรักษ์ อดีตรองอธิการบดีมหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ
ประจำวิทยาเขตเชียงใหม่ นายพูลศักดิ์
จิตสว่าง ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ และ นายติณณภพ
หลวงมณีวรรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านเหล่าเป้า อำเภอดอยหล่อ
จังหวัดเชียงใหม่ สาขาวิชาการหรือวิชาชีพ ได้แก่ นางลินลดา เชาว์มนัส ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนอนุบาลเชียงใหม่ นางขวัญใจ
สันติกุล นักวิชาการศึกษาพิเศษชำนาญการ สถาบันพัฒนาการเด็กราชนครินทร์ นายอภิวิชญ์ ศกุนต์อนาวิล ครูชำนาญการ
โรงเรียนดอยเต่าวิทยาคม นางประภาพร
กมลสมัย ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสันทรายวิทยาคม นายคเชนทร์ อึ่งสกุล
ผู้อำนวยการกลุ่มงานวิชาการสถิติและวางแผน สำนักงานสถิติ จังหวัดพะเยา นางนันทนา อินหลี นักสื่อสารมวลชนชำนาญการพิเศษ
หัวหน้ากลุ่มรายการ ส่วนข่าวและรายการภูมิภาค สำนักประชาสัมพันธ์ เขต 3 เชียงใหม่ นายนพพร เดชชิต
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเชียงใหม่ เขต 6 นางรัตนาพรรณ อุตมีมั่ง ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร นางสายฝน
ยะจรรยา ครูชำนาญการพิเศษ โรงเรียนสองแคววิทยาคม และนางสาววรรณภา ฉลอม นักวิชาการสาธารณสุขชำนาญการ
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 1 เชียงใหม่ สาขาบริหารราชการหรือรัฐวิสาหกิจ
ได้แก่ นายสุทิน แก้วพนา
รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ นางเพ็ญศรี
ประดับสุข ข้าราชการบำนาญ เทศบาลนครเชียงใหม่ นางยุพิน บัวคอม ศึกษาธิการจังหวัดเชียงใหม่ นางพุฒชาด จันทร์ดำ
อดีตผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 นายชาญ คำภิระแปง ข้าราชการบำนาญ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายเจริญ สีวาโย อดีตพัฒนาการจังหวัดเชียงใหม่ และพ.ต.ท.ศักดา โชติพัฒนโภคิน สารวัตรกลุ่มงานจราจร
ตำรวจภูธรจังหวัดเชียงใหม่ สาขาบริหารธุรกิจ ได้แก่ นางสาวกรวิกา ฟาบรีซี ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรมนุษย์
บริษัท โตโยต้าอินทนนท์ จำกัด นายอมรเทพ
เผ่ากันทะ เจ้าของธุรกิจร้านอาหารและเครื่องดื่ม นายณฐนน ปัญโญ กรรมการผู้จัดการบริษัท ยินดีมีเดีย
จำกัด นายกัมปนาท ศังขานนท์
ผู้จัดการสถานีเชียงใหม่ (ธุรกิจการบิน) บริษัท ไทยไลอ้อนเมนทารี จำกัด และนายศิริวัฒน์ ศรีประเสริฐ ผู้จัดการบริหารทั่วไป บริษัท
สยามนิสสัน เชียงใหม่ จำกัด สาขาบริการสังคม ได้แก่ นายพงษ์สิทธิ์ ศรีธิวัฒน์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลอด บริษัท
แจ่มฟ้าเซฟมาร์ท จำกัด และนายเทิดศักดิ์
วิริยา ผู้ใหญ่บ้านบ้านเมืองวะ ตำบลเมืองเล็น อำเภอสันทราย
จังหวัดเชียงใหม่ สาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ได้แก่ นายเอกสยาม ซเตเกอร์
ประธานวิสาหกิจชุมชนศูนย์การเรียนรู้ครูเอก - หมอเก๋ นายดนัย สังขทัต ณ อยุธยา ข้าราชการบำนาญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1 นางวราภรณ์ ไชยวงค์ญาติ ข้าราชการบำนาญ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 4 นางอุษณีย์ อุทัยผล ข้าราชการครูบำนาญ
ครูชำนาญการพิเศษ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 และนายฮานา ไรวินท์ สิทธิพันธ์ ข้าราชการบำนาญ
เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี 5 สพป.เชียงใหม่ เขต 1 และสาขาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ได้แก่ นายรุ่งสุริยา เชียงชีระ
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลข่วงเปา อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณการแก่นักวิจัยที่มีผลงานทางด้านทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ที่ได้รับการจดทะเบียน ได้แก่ อาจารย์ภัทรมน พันธุ์แพง ชื่อสิ่งประดิษฐ์อุปกรณ์ช่วยในการถ่ายภาพ
ได้รับการจดทะเบียนประเภทคำขอรับ “การออกแบบผลิตภัณฑ์” เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2566
และผลงานที่ได้รับรองการแจ้งลิขสิทธิ์ในนามมหาวิทยาลัย ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์
ดร.สุชานาฏ สิตานุรักษ์ ชื่อผลงาน
คู่มือการพัฒนาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้วยสื่อการเรียนรู้ชุมชนของเรา
ได้รับรองการแจ้งลิขสิทธิ์ประเภทงาน “วรรณกรรม” เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2565 และผู้ช่วยศาสตราจารย์มานพ ชุ่มอุ่น ชื่อผลงาน มนต์เสน่ห์ป่าเมี่ยง
อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ และผลงานชื่อ พร้าว
เมืองแห่งกลิ่นอายของวัฒนธรรมและธรรมชาติอันงดงาม
ได้รับรองการแจ้งลิขสิทธิ์ประเภทงาน “โสตทัศนวัสดุ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม 2566
นอกจากนี้ภายในงานได้จัดให้มีพิธีเปิดตัว
REG-Line official
Appication และงานแถลงข่าว “ก้าวสู่ 100 ปี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่” โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล
รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์
ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี และผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี ร่วมแถลงข่าว
เพื่อประชาสัมพันธ์การจัดกิจกรรมเฉลิมฉลองเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปี
แห่งการสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในปีพุทธศักราช 2567
จากนั้นในภาคบ่ายได้มีพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์และหรือเหรียญจักรพรรดิมาลา
ให้แก่บุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุน ณ หอประชุมทีปังกรรัศมีโชติ
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม และกิจกรรมภาคค่ำ งานคืนสู่เหย้า 99 ปี
ชาวดำ - เหลือง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ณ ลานกิจกรรม อาคาร 90 ปี
ราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ โดยตลอดทั้งวันมีอดีตผู้บริหาร
อาจารย์อาวุโส คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา แขกผู้มีเกียรติ
ศิษย์ปัจจุบัน ศิษย์เก่า วิทยาลัยครูเชียงใหม่ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่
และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมงานเป็นจำนวนมาก
ภาพ - ข่าว :ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมพื้นที่เวียงบัว >> Click
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมศูนย์แม่ริม >> Click
ประมวลภาพถ่ายพิธีมอบประกาศนียบัตรเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญจักรพรรดิมาลา >> Click
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมคืนสู่เหย้า >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)