มร.ชม. ร่วมกับสำนักพัฒนาชุมชนเมืองเชียงใหม่ – ตัวแทนผู้ประกอบการ OTOP ขับเคลื่อนโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
มร.ชม.
ร่วมกับสำนักพัฒนาชุมชนเมืองเชียงใหม่ – ตัวแทนผู้ประกอบการ OTOP
ขับเคลื่อนโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับสถาบันอุดมศึกษา ณ ห้องประชุมเอื้องไอยเรศ ชั้น 5 อาคารคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว โดยมี รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่พร้อมด้วยผศ.ดร.ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์คณบดีคณะวิทยาการจัดการ ผู้บริหาร คณาจารย์ประจำคณะวิทยากร ร่วมเป็นเกียรติในพิธี และร่วมต้อนรับ คุณยุพา จันดี พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ ผู้บริหารสำนักพัฒนาชุมชนเมืองเชียงใหม่ ประธานโอทอปอำเภอเมืองเชียงใหม่ และผู้ประกอบการโอทอปที่เข้าร่วมโครงการ
โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย
(Reinventing
University) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์
เพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่สำหรับสถาบันอุดมศึกษา จัดขึ้นสืบเนื่องจากตามที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ให้ดำเนินโครงการยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน
(The Development
of Creative Smart Community driven by Innovation and Lifelong Learning University) ซึ่งเป็นการสนับสนุนงบประมาณร่วมกันเพื่อพลิกโฉมการทำงานของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ร่วมกับ
หน่วยงานส่วนราชการในจังหวัดเชียงใหม่ ในการส่งเสริมและพัฒนาผู้ประกอบการชุมชนโดยเฉพาะผู้ประกอบการวิสาหกิจและผู้ประกอบการโอทอป
โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1)
เพื่อพัฒนากำลังคนด้านเศรษฐกิจชุมชนอย่างสร้างสรรค์
สนับสนุนการเป็นเมืองล้านนาสร้างสรรค์ (Creative LANNA)
2)
เพื่อพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สู่การเป็นล้านนาเมืองสร้างสรรค์ (Creative LANNA)
และ 3) เพื่อพัฒนาและเพิ่มพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) รองรับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคเหนือ (Northern Economic Corridor: NEC)
การดำเนินโครงการเป็นการดำเนินงานภายใต้จุดเด่นและศักยภาพของสถาบันอุดมศึกษา ด้วยการสนับสนุนทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มพัฒนาชุมชนท้องถิ่นหรือชุมชนอื่น (Area-Based and Community) โดยมีบทบาทสำคัญกับท้องถิ่นในการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้สามารถตอบโจทย์พัฒนาการของเทคโนโลยีและสังคมยุคใหม่ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเชื่อมโยงเศรษฐกิจท้องถิ่นกับห่วงโซ่มูลค่าของภาคการผลิตและบริการเป้าหมาย ตลอดจนการใช้ทรัพยากรธรรมชาติในการผลิตและบริโภคให้มีประสิทธิภาพ โดยได้กำหนดกลุ่มเป้าหมายในการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีนำไปสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับเศรษฐกิจท้องถิ่น จำนวน 500 คน เกิดองค์ความรู้จากการวิจัยและพัฒนาในการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นโดยใช้พื้นที่เป็นตัวตั้งที่ผ่านการเรียนรู้ร่วมกันของคนในชุมชน จำนวน 10 เรื่อง และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ต้นแบบจากแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จำนวน 10 ต้นแบบ
การจัดโครงการในครั้งนี้ จึงเป็นเวที ในการกำหนดแนวทางการพัฒนาธุรกิจชุมชนด้วยแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์
สนับสนุนการเป็นเมืองล้านนาสร้างสรรค์ เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการแสดงความคิดเห็นถ่ายทอดปัญหาอุปสรรคและความต้องการพัฒนาของกลุ่มผู้ประกอบการ
โดยมีพัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ และตัวแทนของกลุ่มผู้ประกอบการชุมชน
ร่วมระดมความเห็นและสรุปแนวทางการดำเนินการยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชนอันจะนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ที่ได้จากสถาบันการศึกษาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนเศรษฐกิจต่อไป
ภาพ
- ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ศูนย์สื่อสารองค์กร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งานประชาสัมพันธ์
กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ข้อมูล:
สำนักงานวิเทศสัมพันธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ข้อมูล: นายพลากร กวางนอน นักวิชาการศึกษา คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)