มร.ชม. ร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP – วิสาหกิจของจังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้โครงการ ยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน
มร.ชม.
ร่วมเสวนาเพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ประกอบการ OTOP
– วิสาหกิจของจังหวัดเชียงใหม่
ภายใต้โครงการ ยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน
เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2566 รศ.ดร.วัชรพงษ์ รัตนกูล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ปฏิบัติหน้าที่แทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดงานการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ ณ ห้องประชุมเชียงใหม่ ชั้น 2 โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่
ผศ.ดร. ศุภฤกษ์ ธาราพิทักษ์วงศ์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ชี้แจงว่า การจัดกิจกรรมครั้งนี้ เป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการยกระดับชุมชนฉลาดรู้อย่างสร้างสรรค์ด้วยกลไกการขับเคลื่อนจากมหาวิทยาลัยสู่ชุมชน ซึ่งคณะวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้รับผิดชอบโครงการ การจัดกิจกรรมครั้งนี้เป็นการสำรวจศักยภาพเครือข่ายและวิเคราะห์ความต้องการของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน โดยมีเวทีเสวนาความร่วมมือและทิศทางของการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ จากเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ คุณปรกฤษฎิ์ สายหัสดี เลขาธิการหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ และที่ปรึกษา yec คุณอาคม สุวรรณกันทา ประธานสมาพันธ์ SME ไทยจังหวัดเชียงใหม่ คุณเจษฎาภัทร์ พันธุ์มี ผู้จัดการโครงการลานนาสแควร์ คุณนริศ บุญสถิตย์ ผู้อำนวยการโรงเรียน OTOP จังหวัดเชียงใหม่ และ คุณยุพา จันทร์ดี พัฒนาการอำเภอเมืองเชียงใหม่ โดยดำเนินการภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย Reinventing University โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นมหาวิทยาลัยกลุ่มที่มุ่งเน้นการพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่ โดยมี ทีมนักวิจัยโครงการพัฒนาเครือข่ายเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจและเพิ่มพื้นที่ชุมชนสร้างสรรค์ ประกอบด้วย ผศ.ดร. กมลทิพย์ คำใจ อ.ดร.อุไร ไชยเสน อ.ดร.ทิพย์พธู กฤษสุนทร และ อ.กิรณา ยี่สุ่นแซม จากคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
การแลกเปลี่ยนเสวนาในครั้งนี้มีประเด็นที่สำคัญ
เกี่ยวกับปัจจัยที่ควรพัฒนาในการนำมายกระดับหรือการเลือกกลยุทธ์เพื่อขับเคลื่อนเครือข่ายผู้ประกอบการ
OTOP
หรือวิสาหกิจของจังหวัดเชียงใหม่ นั่นคือการสำรวจหรือทบทวนในเชิงวิจัย
เกี่ยวกับการเพิ่มการตลาดของสินค้าโอทอป การเชื่อมโยงกับสถาบันการศึกษาหรือนักวิชาการเครือข่ายด้านต่าง
ๆเพื่อจะลดช่องว่าง ของผู้ประกอบการ ทางด้านเทคโนโลยี หรือองค์ความรู้ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องในการเชื่อมโยงกับแพลตฟอร์มทางการตลาดต่าง
ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ได้อย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญคือ การมี Timeline ที่ชัดเจนของตลาด เพื่อสร้างความต่อเนื่องในการเปิดพื้นที่ให้กับสินค้า OTOP ได้แสดงและจัดจำหน่ายสินค้าอย่างต่อเนื่องตลอดปี
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีกิจกรรมเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อสร้างกลยุทธ์เครือข่าย OTOP ทางธุรกิจมุมมองของผู้ประกอบการในจังหวัดเชียงใหม่ทั้ง 12 อำเภอ จำนวน 80 ราย โดยเครือข่ายสำคัญที่ผู้ประกอบการต้องการเรียนรู้และพัฒนา คือ เครือข่ายทางด้านการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ ที่จะเพิ่มโอกาสในการจำหน่ายสินค้า และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในมุมมองของเครือข่ายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งเครือข่ายภาคการตลาด การขนส่ง เทคโนโลยี และเครือข่ายภาควิชาการ
ภาพ
- ข่าว : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เรียบเรียง
– เผยแพร่ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน
นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ
ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
ติดตามข่าวสารคณะวิทยาการจัดการ >> >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)