มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กำหนดจัดงานพิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2566 ยกย่องผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม

 

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กำหนดจัดงานพิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ - เพชรล้านนา

ประจำปีพุทธศักราช 2566 ยกย่องผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม







ผศ.พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะประธานกรรมการโครงการเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา เปิดเผยว่า ตามที่ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้คัดสรรบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม เพื่อประกาศยกย่องเชิดชูเกียรติเป็น เพชรราชภัฎ – เพชรล้านนา โดยได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 เป็นต้นมา เพื่อส่งเสริมสนับสนุนภูมิปัญญาพื้นบ้านให้มีขวัญกำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานและร่วมสืบสานองค์ความรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และสืบสานองค์ความรู้ให้คงอยู่คู่สังคมล้านนานั้น  บัดนี้ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้กำหนดจัดพิธีเชิดชูเกียรติเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช 2566 ในวันพุธที่ 12 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม ชั้น 15 อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัย                           ราชภัฏเชียงใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่





ภายในงาน จัดให้มี การแสดงศิลปวัฒนธรรม โดย เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี 2566 และบุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี 2566 อาทิ การแสดงชุด “แว่วสำเนียงสื่อเสียงล้านนา ลือค่าเวียงลับลี้”  โดย นายสัณหณัฐ สุติยะ บุคลากรผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี 2566 การแสดงชุด “ฟ้อนเจิง – ฟ้อนดาบ” โดย นายศรัณ  สุวรรณโชติ  เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี 2566การแสดงชุด “เซิ้งบั้งไฟช้างเผือกสามัคคี” โดย ว่าที่ ร้อยตรี สรายุทธ อ่องแสงคุณ เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปี2566 และพิธีมอบรางวัลเพชรราชภัฏ – เพชรล้านนา ประจำปีพุทธศักราช  2566 รางวัลบุคลากร ผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ประจำปี 2566 พิธีมอบประกาศเกียรติคุณ “ผู้สร้างผลงานการสร้างสรรค์ที่แสดงออกด้านศิลปวัฒนธรรมและความเป็นไทย ประจำปีการศึกษา 2565


     ทางด้าน อ.ดร. ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ กล่าวว่า ในปี พุทธศักราช  2566 มีผู้ได้รับคัดเลือกให้เป็น เพชรราชภัฏ – เพชรล้านนาดังนี้

สาขาศิลปะ ด้านหัตถศิลป์ (การตีเหล็ก) ได้แก่ นายนาค  ปัญญาดา






สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (นาฏศิลป์) ได้แก่ อาจารย์ ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ  อ่องแสงคุณ






สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (เจิง) ได้แก่ นายศรัณ   สุวรรณโชติ






สาขามนุษยศาสตร์ ได้แก่ ผศ.ฐาปกรณ์  เครือระยา







บุคลากรผู้มีผลงานทางวัฒนธรรม ประจำปีพุทธศักราช 2566 สาขาศิลปะ ด้านการแสดง (ดนตรี – นาฏศิลป์) ได้แก่ นายสัณหณัฐ  สุติยะ 






ซึ่งผู้ได้รับคัดเลือกให้เข้ารับรางวัลคือผู้มีผลงานดีเด่นทางวัฒนธรรม ทั้งความโดดเด่นของผลงาน กระบวนการเรียนรู้ กระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ ความเชี่ยวชาญ มีผลงานดีเด่น  จนเป็นที่ยอมรับในสังคม ทั้งยังได้สร้างสรรค์และพัฒนาผลงานมาอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้ได้รับรางวัล จึงขอเชิญชวน ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และประชาชนร่วมแสดงความยินดีพร้อมทั้งร่วมชมการแสดงศิลปะและวัฒนธรรม ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 เริ่มลงทะเบียนเวลา 13.30 น. และเริ่มพิธีเปิดงานในเวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 15 อาคาร 90 ปี ราชภัฏเชียงใหม่ โดยแต่งกายด้วยชุดพื้นเมือง

 

ภาพ - ข้อมูล : สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ข่าว : นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์ปฏิบัติการ

ศูนย์สื่อสารองค์กร  มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี


ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม >> Click


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี) 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 053-412151-155
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th
 

ติดต่อเรา