มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

“โครงการกินได้ ไม่ทิ้งกัน” จากโลตัส ส่งตรงถึงมือนักศึกษาหอพัก ม.ราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

 

 

“โครงการกินได้ ไม่ทิ้งกัน” จากโลตัส ส่งตรงถึงมือนักศึกษาหอพัก ม.ราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน



“โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน” ในจังหวัดแม่ฮ่องสอน โดยโลตัสโกลเฟรช สาขาเมืองแม่ฮ่องสอนทาวส์ และสาขาปางล้อนิคม ได้มอบอาหารที่จำหน่ายไม่หมดในแต่ละวัน แต่ยังคงปลอดภัยสำหรับการรับประทาน เช่น พืช ผัก ผลไม้ ขนมปัง ผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ต่าง ๆ ให้แก่นักศึกษาหอพักกลางดอยและหอพักอิงดอย มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน โดยเริ่มส่งมอบตั้งแต่วันที่ 22 มิถุนายน 2566 เป็นต้นมา เพื่อช่วยนักศึกษาลดภาระค่าใช้จ่ายในการครองชีพ และลดขยะอาหาร


การดำเนินโครงการเกิดขึ้นจากการประสานงานของคุณจุลนิตย์ วังวิวัฒน์ ประธานหอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ ในฐานะประธานกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เมื่อครั้งนำคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เดินทางมาประชุมคณะกรรมการฯ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตแม่ฮ่องสอน จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 และได้เข้าเยี่ยมชมการจัดการศึกษาของมหาวิทยาลัย รวมทั้งได้รับทราบความเป็นอยู่ของนักศึกษาที่พักอาศัยอยู่ในหอพักภายในวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน คณะกรรมการฯ จึงได้ประสานงานคุณจักรวาลธวัฒน์ วรรณาวงค์ กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ และผู้จัดการทั่วไป ฝ่ายพัฒนาและสนับสนุนชุมชน ภูมิภาค ภาคเหนือ บริษัทเอก-ชัย ดีสทริบิวชั่นซิสเทม จำกัด เกิดเป็น “โครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน” จากโลตัสขึ้น ทั้งนี้ ห้างค้าปลีกโลตัสได้ริเริ่มโครงการกินได้ไม่ทิ้งกัน ตั้งแต่ปี 2560 เพื่อบริจาคอาหารที่จำหน่ายไม่หมดแต่ยังมีคุณภาพดีให้กับมูลนิธิ โรงเรียน สถาบันการศึกษา และชุมชน แทนการทิ้งให้เปล่าประโยชน์กลายเป็นขยะอาหาร โดยมีพันธมิตรความร่วมมือกับหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนมากมาย


ด้าน อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน กล่าวว่า “โครงการกินได้ ไม่ทิ้งกัน เป็นโครงการที่ดีมาก ได้ช่วยเหลือนักศึกษาหอพัก ซึ่งปกติจะประกอบอาหารรับประทานกันเองเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะนักศึกษาส่วนใหญ่มีฐานะยากจน หอพักนักศึกษาของมหาวิทยาลัย จึงมีโรงประกอบอาหารให้นักศึกษา โดยมีผลผลิตจากโครงการปลูกผักสวนครัวรั้วกินได้บริเวณรอบพื้นที่หอพักนักศึกษาทั้ง 2 หลัง และมหาวิทยาลัยยังเลี้ยงปลาในอ่างราชภัฏ โดยมีศูนย์เรียนรู้ชีววิถีเพื่อชีวิตพอเพียงอย่างยั่งยืน ช่วยดูแลเพื่อจะให้นักศึกษาหอพักจับปลามาประกอบอาหาร ซึ่งเป็นแหล่งโปรตีนที่ดี อาหารจากโครงการกินได้ ไม่ทิ้งกัน จากโลตัส จึงมาช่วยเติมเต็มให้นักศึกษาหอพักอย่างมากที่จะมีวัตถุดิบเพื่อปรุงอาหารอย่างเพียงพอต่อไป”

 


 

ขอบพระคุณข้อมูล : อาจารย์ ดร.ถนัด บุญชัย รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประจำวิทยาเขตแม่ฮ่องสอน

เรียบเรียงข่าว : วัชราวรรณ  กันทา นักประชาสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

 



เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (ดี) 

 

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th