ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ลงนามความร่วมมือเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567
21 ก.ย. 2566
โดย สุกัญญา แก้ววรรณ
Tweet
ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ลงนามความร่วมมือเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567

21 กันยายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุมเพื่อลงนามความร่วมมือเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567 พร้อมนำอาจารย์และนักศึกษา ได้แก่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เกษรา ปัญญา ผู้อำนวยการสำนักทะเบียนและประมวลผล ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรทัย อินตา หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน อาจารย์ดวงใจ เนตรตระสูตร หัวหน้าภาควิชาการศึกษาปฐมวัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทิพเกสร กำปนาท อาจารย์ไพรศิลป์ ปินทะนา ภาควิชาเทคนิคการศึกษา นายอุดม อนุชิตวรการ และนายวัชรินทร์ เทืองน้อย นักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 3 เยี่ยมชมนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษาครูรัก(ษ์)ถิ่น ณ ห้องประชุมแมกโนเลีย โรงแรมทีเค พาเลส แอนด์ คอนเวนชั่น ถนนแจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
ทั้งนี้ในการประชุมได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ดารณี อุทัยรัตนกิจ กรรมการบริหาร กสศ. และประธานอนุกรรมการพัฒนาระบบการผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล กล่าวเปิดการประชุม มีการแสดงปาฐกถาเรื่อง “การฝึกหัดครูในยุคเปลี่ยนผ่าน : ความหวังและความท้ายทาย” โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ประวิต เอราวรรณ์ เลขาธิการคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา (ก.ค.ศ.) จากนั้นได้มีพิธีลงนามความร่วมมือเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567 ได้แก่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต เมื่อเสร็จสิ้นพิธีลงนามได้มีการบรรยาย “กสศ. กับการทำงานร่วมกับสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 5 ปีการศึกษา 2567 และก้าวต่อไปของโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น โดย ดร.อุดม วงษ์สิงห์ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาคุณภาพครูและสถานศึกษา กสศ.
สำหรับในวันที่ 22 และ 23 กันยายน 2566 อาจารย์พร้อมด้วยนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จะได้เข้าร่วมกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายการทำงานร่วมกันของสถาบันผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปี 2566 ประกอบด้วย การเสวนา “การออกแบบกิจกรรมเสริมศักยภาพเพื่อพัฒนาครูรัก(ษ์)ถิ่น” การนำเสนอ “นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้บนฐานชุมชนท้องถิ่นของครูรักษ์ถิ่น” การนำเสนอ “ผลงานวิจัยเพื่อพัฒนาสถาบันต้นแบบการผลิตและพัฒนาครูในโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ปี 2565 – 2566” ของสถาบันที่ได้รับทุนวิจัยจาก กสศ. การสัมมนา “แนวทางการพัฒนา 6 ปี หลังจบการศึกษาของครูรัก(ษ์)ถิ่น ผลความคิดจากกิจกรรมพัฒนาเครือข่ายระดับภูมิภาค 5 ภูมิภาค” และการเสวนาเชิงนโยบาย “การขับเคลื่อนการผลิตครูในระบบปิดเพื่อผลิตและพัฒนาครูสำหรับโรงเรียนในพื้นที่ห่างไกล”
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ได้เข้าร่วมเป็นสถาบันผลิตและพัฒนาครู โครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มาแล้ว จำนวน 4 รุ่น คือรุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2563 สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย จำนวน 30 คน รุ่นที่ 3 ปีการศึกษา 2565 สาขาวิชาการประถมศึกษา จำนวน 28 คน รุ่นที่ 4 ปีการศึกษา 2566 สาขาวิชาการประถมศึกษา จำนวน 59 คน และรุ่นที่ 5 สาขาวิชาการประถมศึกษา ปีการศึกษา 2567 จำนวน 35 คน
ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี
ข้อมูล / ภาพ : คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่









เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)