มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

มร.ชม. จัดเสวนาวิชาการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการวิจัยประวัติศาสตร์ ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สมัยหริภุญไชย - ล้านนา กับจีนสมัยราชวงศ์หยวน

 

มร.ชม. จัดเสวนาวิชาการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการวิจัยประวัติศาสตร์

ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สมัยหริภุญไชย - ล้านนา กับจีนสมัยราชวงศ์หยวน

บูรณาการจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปกรรม และวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษาเวียงท่ากาน

ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่







 

       เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2567 รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมเสวนาวิชาการเพื่อนำเสนอผลการดำเนินงาน โครงการวิจัยประวัติศาสตร์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐสมัยหริภุญไชย - ล้านนา กับจีน สมัยราชวงศ์หยวนบูรณาการจากหลักฐานโบราณคดี ศิลปกรรม และวิทยาศาสตร์: กรณีศึกษาเวียงท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ณ ห้องประชุมเอื้องคำ ชั้น 3 อาคารราชภัฏเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่






ในการนี้ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์เกียรติคุณสรัสวดี อ๋องสกุล และ รศ.สมโชติ อ๋องสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิที่ปรึกษาโครงการปาฐกถานำ นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายนำเสนอผลการวิจัย "ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สมัยหริภุญชัย - ล้านนา กับจีนสมัยราชวงค์หยวน ในมิติประวัติศาสตร์" โดย อ.วิชญา มาแก้ว คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  นักวิจัย หัวหน้าโครงการ และ "ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ สมัยหริภุญชัย - ล้านนา กับจีนสมัยราชวงค์หยวน ในมิติศิลปกรรม" โดย ผศ.ดร.สุรชัย  จงจิตงาม  คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์: ผลการวิเคราะห์ไหลายครามจีนสมัยราชวงศ์หยวนที่วัดท่ากาน เวียงท่ากาน และเครื่องลายครามอื่นที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการทางเคมี" โดย รศ.ดร.ชำนาญ  ราญฎร คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สำหรับในส่วนของภาคเสวนาวิชาการ ได้รับเกียรติจาก คุณนงไฉน ทะรักษา นักโบราณคดีชำนาญการ สำนักศิลปากรที่ 7 เชียงใหม่ เสวนา เรื่อง "เวียงท่ากาน ชุมทางแลกเปลี่ยนการค้าสมัยหริภุญชัย" และ เรื่อง "ชิ้นส่วนโถลายคราม สมัยราชวงศ์หยวนค้นพบใหม่ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย จังหวัดลำพูน" โดย คุณณัฐพงษ์ แมตสอง หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติหริภุญชัย








          รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล  กล่าวว่า โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนจาก สถาบันโลกคดีศึกษา วิทยสถานด้านสังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย (หรือ ธัชชา) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (หรือ สป.อว.)  ในโลกปัจจุบัน การศึกษาประวัติศาสตร์มีความสำคัญอย่างยิ่ง เพราะช่วยให้เราเข้าใจรากเหง้าของปัญหาต่างๆ ที่มาที่ไปของเหตุการณ์ และพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การตัดสินใจ และการแก้ปัญหา อีกทั้ง ในปัจจุบัน งานวิจัยที่ดี ควรเสริมสร้างความร่วมมือจากหลากหลายสาขา หรือการ วิจัยแบบบูรณาการข้ามศาสตร์ คณะนักวิจัยในโครงการนี้ ที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายสาขาวิชา ทั้ง ด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และ วิทยาศาสตร์ ทั้งยังเป็นความร่วมมือ ระหว่างสองสถาบัน คือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ รวมไปถึง หน่วยงานอื่น ๆ อาทิ กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม งานเสวนาในครั้งนี้ จึงเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และแนวคิด ระหว่างนักวิจัย และผู้สนใจทั่วไป เพื่อร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ประวัติศาสตร์ไทยให้ดียิ่งขึ้นไป







 





ภาพ - ข่าว : นางสาวพัชริดา  เขียวขุนเนิน นักประชาสัมพันธ์

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 


ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click

เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 053-412151-155
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th
 

ติดต่อเรา