มร.ชม. ประชุมโรงเรียนเครือข่ายร่วมผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น วางแผนการจัดส่งนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน ตามรูปแบบการผลิตและพัฒนาครู CMRU Model
มร.ชม. ประชุมโรงเรียนเครือข่ายร่วมผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น
วางแผนการจัดส่งนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น
รุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน ตามรูปแบบการผลิตและพัฒนาครู CMRU Model
เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2567 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำโดย รศ.ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดี ร่วมกับโรงเรียนเครือข่ายร่วมผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น จัดประชุม ผู้บริหาร ครูพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศก์ เพื่อวางแผนการจัดส่งนักศึกษาทุนครูรัก(ษ์)ถิ่น รุ่นที่ 3 รุ่นที่ 4 และรุ่นที่ 5 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าศึกษา เรียนรู้ และฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูระหว่างเรียน ตามรูปแบบการผลิตและพัฒนาครู CMRU Model ในสถานศึกษาเครือข่ายร่วมผลิตและพัฒนาครูของโครงการ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ สัปดาห์ละ 1 วัน ของการเรียนตลอดหลักสูตร โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้กำหนดสมรรถนะของนักศึกษาครูราชภัฏเชียงใหม่ในแต่ละชั้นปี และกำหนดสมรรถนะเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูในแต่ละชั้นปีตั้งแต่ชั้นปีที่ 1- 4 โดยกำหนดให้นักศึกษาชั้นปีที่ 1 เรียนรู้งานครู สามารถปฏิบัติงานทั่วไปของครูในสถานศึกษา ดูแลนักเรียนในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และมีจิตวิญญาณความเป็นครู นักศึกษาชั้นปีที่ 2 ให้ฝึกหัดงานครูสามารถเป็นผู้ช่วยครูในการปฏิบัติงานครูประจำชั้นและงานครูผู้สอน นักศึกษาชั้นปีที่ 3 ให้ปฏิบัติหน้าที่ครู(ผู้)ช่วยสอน สามารถเป็นผู้ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ฝึกวิเคราะห์ปัญหาในชั้นเรียนเพื่อนำไปสู่การออกแบบและการวางแผนการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ ฝึกเขียนโครงการด้านวิชาการ และ ปีที่ 4 ให้ปฏิบัติหน้าที่ครูฝึกสอน สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในชั้นเรียนโดยบูรณาการศาสตร์ในวิชาเอกและวิชาครู ทำโครงการด้านวิชาการ และสามารถทำวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ได้
ทั้งนี้ มีโรงเรียนเครือข่ายร่วมผลิตและพัฒนาครูโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เข้าร่วมการประชุม จำนวน 14 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนชุมชนวัดช่อแล อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, โรงเรียนอนุบาลสายใยรัก เทศบาลเมือง เมืองแกนพัฒนา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, โรงเรียนสันมหาพนวิทยา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่,โรงเรียนสันป่าสักวิทยา อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านสันคะยอม อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านสะลวงนอก อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านหนองปลามัน อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านริมใต้ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านแม่สา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนบ้านศาลา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนดอนแก้วเนรมิตปัญญา อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่, โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ,โรงเรียนเทศบาลวัดป่าแพ่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่ และ โรงเรียนพุทธิโศภน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
ภาพ – ข้อมูลข่าว
: คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว: นางสาวพัชริดา เขียวขุนเนิน
นักประชาสัมพันธ์
งานประชาสัมพันธ์
กองกลาง
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ติดตามภาพกิจกรรม >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี