มร.ชม. ร่วมเป็นเจ้าภาพงานการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
มร.ชม. ร่วมเป็นเจ้าภาพงานการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมเป็นเจ้าภาพงานการประชุมวิชาการวิจัยและนวัตกรรมสร้างสรรค์ ครั้งที่ 10 สู่วิจัยรับใช้สังคม การขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมด้วยนวัตกรรม เพื่อการใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และนำเสนอผลงานวิจัยของนักวิจัยในระดับชาติ พัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการในระดับสาขา คณะ และมหาวิทยาลัยในระดับชาติ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ เป็นความร่วมมือของเครือข่ายได้แก่ สมาคมส่งเสริมนวัตกรรมและการประดิษฐ์ไทยมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขต เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น มหาวิทยาลัยพายัพมหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่ มหาวิทยาลัยพิษณุโลก มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง สมาคมการค้าผู้ประกอบการผลิตเครื่องจักรชิ้นส่วนโลหะและอุตสาหกรรม สนับสนุนไทยสมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย สมาคมสำนักงานสอบบัญชีไทย สมาคมนักบัญชีไทย สมาคมการค้าธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ภาคเหนือ ซึ่งภายในงาน CRCi 2024 มีพิธีลงนามความร่วมมือเครือข่ายวิจัยระหว่างมหาวิทยาลัยและเครือข่าย18 หน่วยงาน ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล้านนา 7 สมาคม 1 สมาพันธ์ และ 9 มหาวิทยาลัยเครือข่าย
ในการนี้ รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล รองอธิการบดี ร่วมลงนามความร่วมมือ ในนามมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ทั้งนี้ สถาบันวิจัยและพัฒนา นำโดย ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท รองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนา และทีมงานยังได้ร่วมจัดนิทรรศการแสดงผลงานวิจัยในโซนนิทรรศการ และจัดส่งผลงานของนักวิจัยเข้าร่วมนำเสนอในงานดังกล่าว จำนวน 3 ผลงาน ในระหว่างวันที่ 5 - 6 สิงหาคม 2567 ณ เชียงใหม่ แกรนด์วิว โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดเชียงใหม่
ได้แก่ 1) ผลงานวิจัยเรื่อง
การคัดแยกแอคติโนมัยศิตที่สร้างสารสีจากดิน ในพื้นที่ป่าเต็งรัง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม โดย อาจารย์ วัชรี หาญเมืองใจ
สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ได้รับรางวัล
การนำเสนอยอดเยี่ยม (Bast Oral presention) สาขาวิทยาศาสตร์
กายภาพ สุขภาพและชีวภาพ
2) ผลงานวิจัยเรื่อง
ผลของอายุและสีของภาชนะเลี้ยงต่อพฤติกรรมก้าวร้าวและอัตราการรอดของปลากัด
โดย อาจารย์
ดร.ณัฐธิดา สุภาหาญ สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3) ผลงานวิจัยเรื่อง
การพัฒนาผลิตภัณฑ์บำรุงผิวหน้าที่มีส่วนผสมสารสกัดดอกงิ้วแดง
โดย อาจารย์ รัฐพรรณ สันติอโนทัย สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ภาพ - ข้อมูล : สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่