มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่ชื่นชมการแสดงดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัย ผสานกลองปู่จาบรรเลงร่วมวงดนตรีคลาสสิกตะวันตก ผลงานวิจัยร่วม มร.ชม. - มช. มุ่งผลักดันเป็น “Soft Power” สร้างทุนทางวัฒนธรรม

 

นักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติ แห่ชื่นชมการแสดงดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัย

ผสานกลองปู่จาบรรเลงร่วมวงดนตรีคลาสสิกตะวันตก ผลงานวิจัยร่วม มร.ชม. - มช.

มุ่งผลักดันเป็น “Soft Power” สร้างทุนทางวัฒนธรรม







ผศ.ปรเมศวร์ สรรพศรี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ในฐานะหัวหน้าโครงการวิจัย การแสดงดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัยและต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัย องค์ความรู้ด้านการตีกลองปู่จาของชาวไทยอง บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน  เปิดเผยว่า “เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ร่วมกับ อาจารย์เกริกพงศ์ ใจคำ อาจารย์ประจำคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้วิจัย และผู้อำนวยการบรรเลง จัดการแสดงดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัยและต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยองค์ความรู้ด้านการตีกลองปู่จาของชาวไทยอง บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ณ ลานพิพิธภัณฑ์พื้นถิ่นล้านนา ตรงข้ามพระบรมราชานุสาวรีย์สามกษัตริย์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่









โดยนำกลองปู่จาซึ่งเป็นหนึ่งในเครื่องสะท้อนความเจริญของชุมชนและถูกจัดให้เป็นเครื่องดนตรีที่มีความศักดิ์สิทธิ์และสิ่งที่อยู่คู่กับวัดของชาวล้านนา ซึ่งในอดีตผู้ตีกลองต้องเป็นพระสงฆ์หรือผู้ที่ผ่านการบวชมาก่อน ทั้งยังถูกใช้เป็นเครื่องมือส่งอาณัติสัญญาณหรือบอกเหตุการณ์สำคัญในชุมชน แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ทำให้กลองปู่จาได้เลือนหายไปจากสังคมล้านนาจนเหลือเพียงชุมชนไม่กี่แห่งที่จะมีกลองชนิดนี้อยู่ ทางคณะผู้วิจัยได้ตระหนักถึงความสำคัญของศิลปะดนตรีซึ่งเป็นเครื่องแสดงความเจริญของประเทศ แต่ด้วยปัจจัยต่าง ๆ มากมายที่ส่งอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงอัตลักษณ์ทางดนตรีพื้นบ้านของไทยจึงมีแนวคิดในการเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยขับเคลื่อนและพัฒนาวงวิชาการดนตรีของประเทศไทยในแง่ของการให้การศึกษาต่อเยาวชนให้เกิดความสนใจในดนตรีแต่ละท้องถิ่นและเกิดความภาคภูมิใจในคุณค่าของศิลปะดนตรีของชาติ จึงได้ดำเนินการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ศิลปะการตีกลองปู่จาของชาวไทยอง บ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน ที่มีความเป็นมาอย่างยาวนานและได้รับการสืบทอดมาหลายชั่วอายุคน มาให้นักเรียนโรงเรียนบ้านแม่ปูคา อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่ ได้ทำการศึกษา สำหรับบทเพลงที่ใช้








ในการแสดงดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัยและต่อยอดองค์ความรู้จากงานวิจัยในครั้งนี้ เป็นการผสมผสานกันระหว่างนักดนตรีจาก 2 กลุ่มวัฒนธรรม ได้แก่ (1) วงกลองปู่จาโรงเรียนบ้านแม่ปูคาบรรเลงทำนองเพลงจากต้นฉบับของกลองปู่จาบ้านดอนหลวงฯ (2) วงเครื่องสายตะวันตกผสมเปียโน บรรเลงทำนองเพลงที่ประพันธ์ขึ้นมาใหม่โดย อาจารย์โอม จันเตยูร ผสมผสานระหว่างสิ่งที่มีอยู่แล้วในพื้นถิ่นและสิ่งที่ได้รับเข้ามาจากภายนอกจนกลายมาเป็นวัฒนธรรมดนตรีสร้างสรรค์ร่วมสมัย โดยมุ่งหวังให้เกิดทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Capital) ที่จะสามารถนำไปใช้พัฒนาต่อยอดทางด้านเศรษฐกิจ และผลักดันเป็น “Soft Power” ให้ศิลปวัฒนธรรมของประเทศไทยเป็นที่รู้จักทั้งในระดับชาติและระดับนานาชาติ ต่อไป การแสดงในวันนั้น เปิดการแสดงด้วยวงกลองปู่จาบ้านดอนหลวง ตำบลแม่แรง อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน การบรรเลงทำนองกลองปู่จาต้นฉบับ จำนวน 5 ทำนองเพลง ได้แก่ ทำนองเพลงเสือขบตุ๊, ทำนองเพลงสาวหลับเต๊อะ, ทำนองเพลงล่องน่าน,ทำนองเพลงฟาดแส้ และ ทำนองเพลงตึ่งโนงและใช้วงดนตรีคลาสสิกตะวันตกบรรเลงร่วมกัน” นับเป็นการแสดงดนตรีที่ได้รับความสนใจจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติร่วมชมการแสดงอย่างล้นหลาม






 

 

ภาพ - ข้อมูล : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

เรียบเรียงข่าว : นางพัชริดา ชื่นมาโนช นักประชาสัมพันธ์

งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  



ดูรายละเอียดโครงการวิจัย >> Click


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 053-412151-155
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th
 

ติดต่อเรา