คณะวิทย์ฯ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพล้านนา “กินดี อยู่เหนือ” มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
คณะวิทย์ฯ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
ถ่ายทอดองค์ความรู้ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพล้านนา
“กินดี อยู่เหนือ”
มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
8 มกราคม 2568 อาจารย์ ดร.ชาญ ยอดเละ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ นายธวัชชัย อุบลพิทักษ์ วัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ ประธานเปิดการประชุม นายพิชิตชัย เกลอดู ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมศาสนา ศิลปะและวัฒนธรรม และผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้ด้านอาหารสุขภาพ และสมุนไพรล้านนา เพื่อการท่องเที่ยว กิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอาหารสุขภาพล้านนา “กินดี อยู่เหนือ” ภายใต้โครงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health and Wellness Tourism) จัดโดยจังหวัดเชียงใหม่ ร่วมกับกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 มีสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เป็นผู้ดำเนินกิจกรรม เพื่อเตรียมความพร้อมของผู้ประกอบการในการรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพวิถีใหม่ แสดงศักยภาพด้านการท่องเที่ยว และธุรกิจบริการด้านสุขภาพ พัฒนาศักยภาพแม่ครัวในชุมชนที่มีความสามารถในด้านการทำอาหารให้มีโอกาสเรียนรู้ในการปรุงเมนูอาหารท้องถิ่นเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมผลักดันให้กลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 เป็นศูนย์กลางการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพของประเทศไทย ณ ห้องปฏิบัติการอาหาร 308 อาคารภาควิชาคหกรรมศาสตร์ SCi11 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
ทั้งนี้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ให้การสนับสนุนคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภายใต้การดูแลของอาจารย์มยุรี ชมภูงาม หัวหน้าภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ในการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพื้นฐานชนิดและประเภทอาหารล้านนา อาหารล้านนาสมัยนิยม/อาหารล้านนาที่ควรอนุรักษ์ การประยุกต์และตกแต่งอาหารล้านนาฟิวชั่น การอบรมเชิงปฏิบัติการอาหารล้านนาเชิงสุขภาพ (ยำสะนัด/ยำสะนับ/ยำบะถั่วบะเขือ และส้าผัก) อาหารล้านนาที่ควรอนุรักษ์ (ข้าวหนมเกลือ/ขนมเกลือ) การประกอบอาหารล้านนาและการจัดตกแต่งอาหารล้านนาฟิวชั่น เมนูสปาเก๊ตตี้ไส้อั่ว ข้าวซอยเนื้อหมั่นโถ ซูซิส้าเนื้อ และปลานึ่งพร้อมผักลวก มี อาจารย์ ดร.ภูริวัจฐ์ ชีคำ อาจารย์ประจำภาควิชาคหกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อรรถ ขันสี มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ศูนย์การศึกษาลำปาง และ “เชฟนาย” จิรฐา ภูหัดสวน จากรายการเชฟกระทะเหล็ก เป็นวิทยากร
สำหรับผู้เข้าร่วมการอบรมประกอบด้วย
ผู้ให้บริการในสถานประกอบการและแหล่งท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
ผู้ปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพด้านการดูแลผู้สูงอายุ ผู้ประกอบการด้านการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
และที่เกี่ยวข้อง จากกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนบน 1 ได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่
สถานประกอบการหมู่บ้านหนองมะจับ หนองปลามัน ชุมชนไทยองวัดป่าตาล ชุมชนบ้านหนองครก
จังหวัดลำพูน น้ำลำไยสดสีทอง By บางวัน ครัวชมฟ้า
กล้วยปิ้ง สูตรน้ำกะทิลำไย นานาเฮิร์บ น้ำมันลำไย ร้านมอญ-โรซ่า (น้ำกุหลาบ)
เฉาก๊วยบ้านหม่อน ชุมชนตลาดชาวดอย ตลาดดอยยาว อ.แม่ทา ไส้อั่วแม่ทา จังหวัดลำปาง
ชุมชนคุณธรรมวัดศรีหลวงแจ้ซ้อน (ผลิตภัณฑ์ไข่น้ำแร่) ชุมชนเครือข่ายบ้านชมภูหลวง
(ขนมจีนปู) ชุมชนเครือข่ายบ้านพรเกษม (ข้าวควบ) กลุ่มกาละแมแม่บัวตองชุมชนบ้านท่าช้าง
ข้าวแต๋นบุญทวี กลุ่มไพรบุญฮักษา และจังหวัดแม่ฮ่องสอน อาซ้อคาเฟ่
ราดหน้ากระเพาะปลาฌานนท์ มหาทะเลทอด และขนมไทยลุงยักษ์ รวมทั้งสิ้นจำนวน 47 คน
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click
ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์
ภาพ : วัชราวรรณ กันทา นักประชาสัมพันธ์
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา
เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C
Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M
Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R
Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U
Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ คือ การมีคุณลักษณะ
เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี