มร.ชม. ร่วมกับ กรมการศาสนา สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่าย จัดการแสดงภายใต้โครงการเส้นทางเล่าเรื่องพระเจ้าติโลกราชและสักการะพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
มร.ชม. ร่วมกับ กรมการศาสนา
สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่
และภาคีเครือข่าย
จัดการแสดงภายใต้โครงการเส้นทางเล่าเรื่องพระเจ้าติโลกราชและสักการะพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ ประธานหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษาเปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 17 - 18 มกราคม 2568 มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา และนักศึกษาโครงการครูรัก(ษ์)ถิ่น ร่วมแสดงชุดเล่าขานตำนานพระเจ้าติโลกราช ณ วัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นการแสดงภายใต้โครงการเส้นทางเล่าเรื่องพระเจ้าติโลกราช และสักการะพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง ซึ่งจัดโดยกรมการศาสนา ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ และภาคีเครือข่ายจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมศักยภาพศาสนสถานให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว แหล่งเรียนรู้ด้านศาสนา และบูรณาการอำนาจละมุน (Soft Power) มาใช้ในการยกระดับอัตลักษณ์ท้องถิ่น ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ควบคู่กับการส่งเสริมศักยภาพชุมชนคุณธรรมให้เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านศิลปวัฒธรรม และวิถีชีวิต ส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ให้กับจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้รับเกียรติให้ร่วมจัดการแสดงภายในงาน โดยมี อาจารย์ว่าที่ร้อยตรีสรายุทธ อ่องแสงคุณ, อาจารย์ชัพวิชญ์ ใจหาญ, อาจารย์ ดร.สุนิษา สุกิน,อาจารย์อาทิตยา ผิวขำ และ อาจารย์ชไมพร จันทรวิบูลย์ เป็นผู้ควบคุมการแสดง และนำนักศึกษาร่วมการแสดงในครั้งนี้
ในการนี้ ได้รับเกียรติจาก นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม เป็นประธานพิธีเปิดกิจกรรมตามรอยเส้นทางธรรมแห่งศรัทธา : เส้นทางเล่าเรื่องพระเจ้าติโลกราชและสักการะพระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง“ โดยมีนายประสพ เรียงเงิน ปลัดกระทรวงวัฒนธรรม นายชัยพล สุขเอี่ยม อธิบดีกรมการศาสนา นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ผู้บริหารกระทรวงวัฒนธรรม วัฒนธรรมจังหวัด ข้าราชการ และประชาชนเข้าร่วม ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ปีพุทธศักราช 2568 เป็นปี “มะเส็ง” หรือ ปี “งูเล็ก” ซึ่งชาวล้านนาโบราณเชื่อว่า พระธาตุประจำปีเกิด ปีมะเส็ง คือ “พระมหาเจดีย์พุทธคยา” รัฐพิหาร สาธารณรัฐอินเดีย จึงอนุโลมให้ไหว้พระเจดีย์ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน ซึ่งก็คือ “พระเจดีย์มหาโพธิ์พุทธคยา” ณ วัดโพธารามมหาวิหาร (วัดเจ็ดยอด) จังหวัดเชียงใหม่ โดยวัดแห่งนี้เป็นหนึ่งในโบราณสถานสำคัญของจังหวัดเชียงใหม่ที่เต็มไปด้วยเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมอันงดงาม อีกทั้งยังเป็นสถานที่ประชุมสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก เมื่อกว่า 500 ปีก่อน และเป็นการสังคายนาพระไตรปิฎกที่เกิดขึ้นครั้งแรกในราชอาณาจักรไทย
ภาพ
- ข้อมูล : อาจารย์ชัพวิชญ์ ใจหาญ
หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชานาฏศิลป์ศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ข่าว
: พัชริดา ชื่นมาโนช นักประชาสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์
กองกลาง
สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์สื่อสารองค์กร มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมจากกระทรวงวัฒนธรรม >> Click
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรมจากสภาวัฒนธรรมจังหวัดเชียงใหม่ >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่