ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 1
ผู้บริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 1
6 มีนาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล รักษาราชการแทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมเป็นเกียรติกล่าวต้อนรับครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์และครูหมวดสังคมศึกษาพื้นที่ 9 จังหวัดภาคเหนือ ได้แก่ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา แม่ฮ่องสอน และอุตรดิตถ์ ในโครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย 4 ภูมิภาค (ภาคเหนือ) ครั้งที่ 1 การสัมมนาเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “วิธีการทางประวัติศาสตร์กับเด็กและเยาวชนรุ่นใหม่” จัดขึ้นระหว่างวันที่ 6 – 8 มีนาคม 2568 โดยสำนักงานราชบัณฑิตยสภา เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคนิควิธีการทางประวัติศาสตร์แก่ครูหรือผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์ ให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้เป็นแนวนทางและต้นแบบในการสอนประวัติศาสตร์ไทยอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งส่งเสริมความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชุมชนและท้องถิ่นในแต่ละภูมิภาคของประเทศไทย
โอกาสนี้ นายวีรพงศ์ ฤทธิ์รอด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับ มีนายกฤษฎา คงคะจันทร์ เลขาธิการราชบัณฑิตยสภา กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี นายชูศักดิ์ ศิรินิล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ซึ่งได้กล่าวเปิดงานและลั่นฆ้องชัย จากนั้นได้ลงน้ำมันยางบนใบลานที่จารอักษรธรรมและอักษรล้านนาระบุข้อความ โครงการส่งเสริมความรู้ประวัติศาสตร์ไทย 4 ภูมิภาค ราชบัณฑิตยสภา 6 – 8 มีนาคม 2568 ภายในได้รับเมตตาจาก พระสุนทรวชิรเมธี รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร และผู้บริหารจากสำนักงานราชบัณฑิตยสภา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์พรพิมล วงศ์สุข รองอธิการบดี คณะผู้บริหารสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นักวิชาการ และภาคีสมาชิก ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิด ณ วัดเจดีย์หลวงวรวิหาร อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ในการจัดโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยสำนักศิลปะและวัฒนธรรม ได้ให้ความอนุเคราะห์วิทยากรเข้าร่วมการเสวนา ได้แก่ เรื่อง “การเรียนรู้ประวัติศาสตร์ และประวัติศาสตร์ท้องถิ่น” เรื่อง “ประวัติศาสตร์เรื่องใกล้ตัว : บูรณาการเพื่อการศึกษาประวัติศาสตร์” , เรื่อง “คน – เหตุการณ์ – เวลา” กุญแจสำคัญของประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ ดร.มนัส สุวรรณ ราชบัณฑิต อาจารย์ ดร.ธรรศ ศรีรัตนบัลล์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม อาจารย์ ดร.ณกานต์ อนุกูลวรรธกะ สาขาวิชาสังคมศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และกิจกรรมสัมมนากลุ่มระดมความคิดพร้อมสรุปการเรียนรู้ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิโลบล วิมลสิทธิชัย และอาจารย์วุฒิชัย สืบสอน รองผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)