วันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครบรอบปีที่ 101
วันสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ครบรอบปีที่ 101
1 พฤษภาคม 2568 รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ นำอดีตผู้บริหาร อาจารย์อาวุโส คณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และแขกผู้มีเกียรติ ร่วมงานเนื่องในโอกาส 101 ปี วันครบรอบสถาปนามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ประกอบด้วย เวลา 07.09 น. พิธีขึ้นท้าวทั้ง 4 เวลา 07.19 น. พิธีสักการะพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย ณ ศาลาพระพุทธจตุรทิศ และพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศวร พื้นที่เวียงบัว
เวลา 08.29 น. พิธีสักการะพระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัยและพิธีบวงสรวงพระพิฆเนศวร ณ ลานมณฑปพระพิฆเนศวร ศูนย์แม่ริม เวลา 09.39 น. พิธีทำบุญและสืบชะตามหาวิทยาลัย โดยได้รับเมตตาจาก พระเทพปริยัติ ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 7 เจ้าอาวาสวัดเจ็ดยอด พระอารามหลวง อ.เมืองเชียงใหม่ จ.เชียงใหม่ เป็นประธานสงฆ์
เวลา 11.00 น. อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ให้เกียรติมอบรางวัลแก่ผู้ได้รับรางวัลศิษย์เก่าดีเด่น สาขาบริหารสถาบันการศึกษา ได้แก่ นางสาวสุปราณี ปัญญานะ ผู้อำนวยการโรงเรียนยุพราชวิทยาลัย ผศ.ดร.วิชาญ จันทร์อินทร์ อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนศิริมังคลาจารย์ สาขาวิชาการหรือวิชาชีพ ได้แก่ นายกิติเกษม เนตรกระจ่าง ศึกษานิเทศก์ชำนาญการ สำนักงานคณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 สาขาบริหารราชการหรือรัฐวิสาหกิจ ได้แก่ นางรุ่งทิพย์ ทาวดี ศึกษาธิการจังหวัดลำพูน สาขาบริหารธุรกิจ ได้แก่ นายอธิพันธ์ สุทธสาส์น ดร.ปิยพัชร์ ศรีวงษ์วิศาล กรรมการผู้จัดการ บริษัทดุจสายน้ำ เอสเจที 123 จำกัด และสาขาส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม ได้แก่ ดร.จารุวรรณ เหมืองจา พนักงานสถิติ ส4 โรงพยาบาลสวนปรุง จังหวัดเชียงใหม่
และมอบรางวัลพระพิฆเนศวรแก่ผู้ที่ปฏิบัติงานเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับบุคคลอื่น ทั้งในด้านการอุทิศตนและการปฏิบัติงานจนมีผลงานปรากฏชัดเจน รางวัลบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่น ด้านบริหาร ได้แก่ ผศ.ไกรสร ลักษณ์ศิริ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำรงตำแหน่งผู้ช่วยอธิการบดี รางวัลบุคลากรผู้ปฏิบัติงานดีเด่นด้านวิชาการ ประกอบด้วย ด้านการสอน ได้แก่ ผศ.พุทธมนต์ สุวรรณอาสน์ คณะวิทยาการจัดการ ด้านการวิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.อนิรุทธิ์ รักสุจริต คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ด้านบริการวิชาการ ได้แก่ ผศ.ดร.สุพจน์ บุญแรง คณะเทคโนโลยีการเกษตร ด้านปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งระดับปฏิบัติการขึ้นไป ได้แก่ นายสมเด็จ ภิมายกุล คณะครุศาสตร์ และมอบรางวัลพระพิฆเนศวรแก่นักศึกษาดีเด่นที่ประพฤติตนเป็นแบบที่อย่างที่ดี มีผลงานโดดเด่นด้านกิจกรรม ทำคุณประโยชน์ต่อส่วนรวมอันเป็นที่ยอมรับปรากฎชัดเจน ระดับมหาวิทยาลัย ได้แก่ นางสาววิมพวิภา สิงห์ใจ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ระดับคณะ – วิทยาลัย คณะครุศาสตร์ ได้แก่ นายเทิดศักดิ์ เจริญเจ้าสกุล ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้แก่ นายพิทักษ์ ตุ้ยกาศ ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ นางสาวสิรินภา ญาณะตัน ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะวิทยาการจัดการ ได้แก่ นายสุรสิทธิ์ ยิ่งธนไพศาล ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการบริหารทรัพยากรมนุษย์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ได้แก่ นายปฏิภาณ ทาทอง ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ ได้แก่ นายบัญญพนต์ สีขัดเค้า ชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนานาชาติ ได้แก่ นางสาวฮานีฟา บิลละเต๊ะ ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารระหว่างประเทศ (หลักสูตรนานาชาติ) และวิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ได้แก่ นายเทิดไท วิลา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาการประถมศึกษา มอบรางวัลผู้มีจรรยาบรรณดีเด่น เพื่อยกย่องเชิดชูเกียรติบุคลากรที่มีความประพฤติเหมาะสมด้วยคุณธรรม ศีลธรรม จริยธรรมเป็นที่ยอมรับของบุคลากรในมหาวิทยาลัยและสังคม ตามข้อบังคับสภามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ว่าด้วยจรรยาบรรณของบุคลากรมหาวิทยาลัย ได้แก่ กลุ่มผู้บริหาร อาจารย์ ดร.ชาญ ยอดเละ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นางสุนีย์ ทองอินทร์ หัวหน้าสำนักงานคณบดี คณะวิทยาการจัดการ และ ผศ.อรทัย อินตา หัวหน้าภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ กลุ่มบุคลากรสายวิชาการ รศ.ธีรธร เลอศิลป์, ผศ.ดร.วชิรา เครือคำอ้าย คณะครุศาสตร์ รศ.พรสวรรค์ จันทะวงศ์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผศ.ดร.รุ่งนภา ทากัน, อ.ดร.ธัญนันท์ ฤทธิ์มณี สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผศ.ดร.พนิดา สัตโยภาส, อ.ดร.ทิพย์พธู กฤษสุนทร สังกัดคณะวิทยาการจัดการ กลุ่มบุคลากรสายสนับสนุน ได้แก่ นายสุเทพ ไชยวุฒิ สังกัดคณะครุศาสตร์ นางอรพินธ์ นาคำ สังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร นางสุภาพร ปิลันธนดิลก สังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี น.ส.อรกมล สุวรรณประเทศ สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย นายพิสิฐ ศรีใจภา สังกัดสำนักหอสมุด นางพรพิมล แก้วฟุ้งรังษี สังกัดสำนักดิจิทัลเพื่อการศึกษา น.ส.นิดา พรินทรากุล สังกัดสำนักงานวิเทศสัมพันธ์
และพิธีมอบโล่ประกาศเกียรติคุณการได้รับจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญาประเภทสิทธิบัตร อนุสิทธิบัตร และลิขสิทธิ์ (ระหว่าง 1 เมษายน 2567 – 31 มีนาคม 2568) แบ่งเป็นผลงานประเภท สิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร จำนวน 6 รายการ (7 ผลงาน) ผลงานประเภท ลิขสิทธิ์ จำนวน 22 รายการ (61 ผลงาน) ได้แก่ ผศ.ดร.อนิรุทธิ์ รักสุจริต และ รศ.นพ.สิทธิพร บุณยนิตย์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงาน วิธีการผลิตผงนาโนไฮดรอกซีอะพาไทต์จากกระดูกหมู ได้รับการจดทะเบียนประเภท“สิทธิบัตรการประดิษฐ์” ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่, น.ส.ภัทรานิษฐ์ วงศ์ชัยเดช และ น.ส.วารุณี ปิงคะยอม คณะเทคโนโลยีการเกษตร ผลงาน สูตรและกรรมวิธี การทำแห้งแบบพ่นฝอยกาแฟสำเร็จรูป ผสมสารสกัดผักเชียงดา ได้รับการจดทะเบียนประเภทอนุสิทธิบัตร อ.ดร.ศริยา หงส์ยี่สิบเอ็ด และ ผศ.ดร.สุกฤต สุจริตกุล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ผลงาน ระบบประเมินผลคะแนนทักษะปฏิบัติ ทางการเต้นและการรำจากการวิเคราะห์ท่าทางการเต้นและการรำ ได้รับการจดทะเบียนประเภทอนุสิทธิบัตร รศ.ว่าที่ ร.ต.หญิง ดร.จินตนา อินภักดี และนายณัฐกร เป็งใย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงาน 1.กรรมวิธีการผลิตผงสีย้อมธรรมชาติโดยใช้วัสดุดูดซับจากผงเปลือกหอยแครง และ 2. กรรมวิธีการผลิตผงสีย้อมธรรมชาติโดยใช้วัสดุดูดซับจากผงขี้เถ้า ได้รับการจดทะเบียนประเภทอนุสิทธิบัตร รศ.ดร.สราวุฒิ สมนาม, ผศ.ดร.มิกิ กัณณะ และ ผศ.ประธาน คำจินะ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงาน เครื่องวัดสีด้วยเซนเซอร์สีสำหรับตรวจสอบระดับการคั่วเมล็ดกาแฟและประมวลผลด้วยแอปพลิเคชัน ได้รับการจดทะเบียนประเภทอนุสิทธิบัตร ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท, นายไพฑูรย์ เหล่าดี และนายณัฐภัทร ลีรพันธุ์ วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ผลงาน เตาชีวมวลผลิตแก๊สสังเคราะห์โดยใช้วัสดุพรุน ได้รับการจดทะเบียนประเภทอนุสิทธิบัตร พิธีมอบประกาศนียบัตรนักวิจัยที่มีผลงานด้านทรัพย์สินทางปัญญา ประจำปี 2567 – 2568 ได้รับการจดแจ้งข้อมูลลิขสิทธิ์ ดังนี้ ผศ.ดร.วชิรา เครือคำอ้าย และ อ.ดร.ชวลิต ขอดศิริ คณะครุศาสตร์ ลิขสิทธิ์ประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานนิพนธ์ จำนวน 2 ผลงาน ได้แก่ รูปแบบการนิเทศโดยใช้กระบวนการชี้แนะและระบบพี่เลี้ยงเพื่อส่งเสริมศักยภาพการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ดับเบิ้ลพีแอลซีเอพลัส โมเดล และรูปแบบแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิตเพื่อรองรับสังคมสูงวัยในวิถีชีวิตถัดไป CHaBA Model อ.ดร.ชวลิต ขอดศิริ และ ผศ.ดร.วชิรา เครือคำอ้าย คณะครุศาสตร์ ลิขสิทธิ์ประเภท ศิลปกรรม ลักษณะงาน ภาพประกอบ แผนที่ จำนวน 3 ผลงาน 1) แผนที่เส้นทางแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมสูงวัยของจังหวัดเชียงใหม่ 2) แผนที่เส้นทางแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมสูงวัยในอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ 3) แผนที่เส้นทางแหล่งทรัพยากรการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อรองรับสังคมสูงวัยในอำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ผศ.ดร.รัตนวัชร์ เพ็ญรัตนหิรัญ คณะครุศาสตร์ ลิขสิทธิ์ ประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานนิพนธ์ จำนวน 2 ผลงาน 1) ชุดกิจกรรมแนะแนวส่งเสริมทักษะ 4CS สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษา 2) โปรแกรมเสริมสร้างการปรับตัวและความฉลาดรู้ทางการเงินสำหรับนักศึกษาหอพักชั้นปีที่ 1 ผศ.ว่าที่เรือตรี อภิสิทธิ์ ชัยมัง คณะครุศาสตร์ ลิขสิทธิ์ ประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานนิพนธ์ จำนวน 4 ผลงาน ดังนี้ 1) ตำรา วิชา แบดมินตัน 2) ตำรา วิชา เปตอง 3) ตำรา วิชา วอลเลย์บอล 4) ตำรา การสัมมนาทางพลศึกษา ผศ.ดร.นักสิทธิ์ ปัญโญใหญ่ คณะเทคโนโลยีการเกษตร ลิขสิทธิ์ เอกสารคำสอ หลักการวิเคราะห์อาหาร อ.ปลินดา ระมิงค์วงศ์ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลิขสิทธิ์ รวมจำนวน 4 ผลงาน คือ ประเภท โสตทัศนวัสดุ จำนวน 2 ผลงาน 1) คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 2) คลิปวิดีโอประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบ Heritage Handprint 10 โหม้ง โหล่งผญ๋า ในพื้นที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ ประเภทศิลปกรรม ลักษณะงานภาพประกอบ แผนที่ จำนวน 2 ผลงาน 1) แผนที่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยชุมชนบ้านแม่ก๊ะเปียง อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ 2) แผนที่เส้นทางการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมแบบ Heritage Handprint 10 โหม้ง โหล่งผญ๋า ในพื้นที่ อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ รศ.ดร.ณัฏฐ์ฤทัย อรุณศิโรจน์ และ ผศ.จารุณี ภัทรวงษ์ธนา คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ลิขสิทธิ์ แอปพลิเคชัน Brain Screening เพื่อการคัดกรองและประเมินแนวโน้มในการเกิดภาวะสมองเสื่อม อ.ดร.ลัดดา ประสพสมบัติ คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ลิขสิทธิ์ ประเภทโสตทัศนวัสดุ จำนวน 4 ผลงาน คลิปวีดีโอ การพัฒนาวิถีชีวิต วัฒนธรรม และกฎหมายของกลุ่มชาติพันธุ์ เพื่อให้ชุมชนท้องถิ่นมีเสถียรภาพการประกอบอาชีพอย่างยั่งยืน เทศบาลตำบลแม่นะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ EP1 : ภาพรวมของงานวิจัย EP2 : ยาสมุนไพรแก้ปวดท้อง การเป่า การขูดคลายพิษไข้ EP3 : ประวัติหมู่บ้านแม่แมะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ EP4 : ยาสมุนไพรที่ใช้บำรุงร่างกายและใช้รักษาโรคต่าง ๆ น.ส.ประภัสสร ขาวงาม และนายสิทธิพงษ์ นันตา สังกัดคณะวิทยาการจัดการ ลิขสิทธิ์ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (FMS e-Document)นายมงคล กันทะป้อ และนางศิริพร ปัญญาอินทร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ลิขสิทธิ์ระบบสารบรรณอิเล็กทรอนิกส์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (SCIENCE E-OFFICE) ผศ.ชูสิทธิ์ ชูชาติ และ อ.ดร.ถนัด บุญชัย สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย ผลงานลิขสิทธิ์ การเสด็จประพาสต้นสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ผศ.ชูสิทธิ์ ชูชาติ บัณฑิตวิทยาลัย ลิขสิทธิ์ ประเภทวรรณกรรมลักษณะงานนิพนธ์ จำนวน 4 ผลงาน 1) พ่อค้าเรือหางแมงป่อง นายฮ้อยหลวงลุ่มแม่น้ำปิง (พ.ศ.1839-2504) 2) พ่อค้าวัวต่าง ผู้บุกเบิกการค้าขายในหมู่บ้านภาคเหนือของประเทศไทย (พ.ศ.2398-2503) 3) การพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์และจัดสรรน้ำทางการเกษตรในพื้นที่นอกเขตชลประทาน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 4) ของดีหลังพื้นที่ “สะลวง-ขี้เหล็ก” ผศ.ชูสิทธิ์ ชูชาติ และ อ.โฆษิต ไชยประสิทธิ์ บัณฑิตวิทยาลัย ผลงานลิขสิทธิ์ เมี่ยง วิสาหกิจชุมชนบนพื้นฐานความยั่งยืน ผศ.ชูสิทธิ์ ชูชาติ และ น.ส.ทัณฑิกา ตาคำนวณ สังกัดบัณฑิตวิทยาลัย ลิขสิทธิ์ผลงาน ศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์บนพื้นฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น ผศ.ดร.วรจิตต์ เศรษฐพรรค์, ผศ.ดร.สุรชัย ณรัฐ จันทร์ศรี, อ.ดร.พันธ์ลพ สินธุยา, รศ.ดร.วัชรพงษ์ วัฒนกูล, ผศ.อัตถ์ อัจฉริยมนตรี, ผศ.ดร.ณัฐิยา ตันตรานนท์ , อ.สุภัทรา คำหม่อง และนายมาโนช คุ้มพนาลัยสถิต วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย ลิขสิทธิ์ รวมจำนวน 21 ผลงาน ประกอบด้วย ประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 ผลงาน ประเภทศิลปกรรม ลักษณะงานจิตรกรรม จำนวน 17 ผลงาน ประเภทดนตรีกรรม จำนวน 3 ผลงาน ผลงาน แอปพลิเคชัน Smart Doi : STEM based Smart Energy-Agriculture Learning Game ตัวละครและเสียงประกอบในแอปพลิเคชัน ผศ.ดร.ชยานนท์ สวัสดีนฤนาท วิทยาลัยพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีชุมชนแห่งเอเชีย (ลิขสิทธิ์ เอกสารคำสอน พลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ อ.พัชรีวงศ์ฝั้น วิทยาลัยแม่ฮ่องสอน ลิขสิทธิ์องค์ความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรที่ใช้ในการสร้างสุขภาพของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ อ.ขุนยวม จ.แม่ฮ่องสอน ดร.ฆนธรส ไชยสุต และ ผศ.ดร.วีนารัตน์ แสวงกิจ สังกัดสถาบันวิจัยและพัฒนา ลิขสิทธิ์ประเภทวรรณกรรม ลักษณะงานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จำนวน 2 ผลงาน 1) แอปพลิเคชัน“Smart Learning Smart Lanna Job” บนระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ 2) แอปพลิเคชัน“Smart Learning Smart Lanna Job” บนระบบปฏิบัติการ iOS ดร.ฆนธรส ไชยสุต, อ.วรพล วัฒนเหลืองอรุณ และ อ.ว่าที่ ร.ต.กริช สะอิ้งทอง สถาบันวิจัยและพัฒนา ลิขสิทธิ์ ประเภทวรรณกรรมลักษณะงานนิพนธ์ จำนวน 3 ผลงาน 1) Digital Storytelling : “หมู่บ้านกลางหุบเขาที่เขียวชอุ่ม” บ้านแม่กำปอง ต.ห้วยแก้ว อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ 2) Digital Storytelling : “ชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ” บ้านโป่งกวาว ต.สะเมิงเหนือ อ.สะเมิง จ.เชียงใหม่ 3) Digital Storytelling : “ภูมิปัญญากว่า 200 ปี ชุมชนชาวยอง” บ้านป่าตาล ต.บวกค้าง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ นายศรัญญู มูลน้ำ สถาบันวิจัยและพัฒนา ลิขสิทธิ์ระบบยื่นจดทรัพย์สินทางปัญญา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (CMRU IP Registration) นายภวัต ณ สิงห์ทร สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ลิขสิทธิ์แบบฝึกเขียนตัวธัมม์ล้านนา และนายวีรพิชญ์ หิมารัตน์ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม ลิขสิทธิ์ระบบสนับสนุนการบริหารจัดการ สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โดยจัดพิธีขึ้น ณ ห้องประชุมแม่ริม อาคารอำนวยการและบริหารกลาง ศูนย์แม่ริม
จากนั้น เวลา 13.30 น. อธิการบดีนำคณะผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ร่วมประกอบพิธีสรงน้ำองค์พระมหาธาตุเจดีย์ โดยได้รับเมตตาจาก พระปลัดจิตตพัฒน์ อัคคปัญโญ เจ้าอาวาสวัดภูสมณาราม (ซูตองเป้) บ้านกุงไม้สัก ตำบลปางหมู เมืองแม่ฮ่องสอน เป็นประธานสงฆ์ ณ พระมหาธาตุเจดีย์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ศูนย์แม่ริม
ภาพ : วัชระ ไทยบัณฑิตย์ และเสาวลักษณ์ สามแก้ว นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ข่าว : วัชราวรรณ กันทา นักประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ประมวลภาพถ่ายกิจกรรม >> Click
พิธีขึ้นท้าวทั้งสี่ / พิธีสักการะพระพุทธรูป / พิธีบวงสรวงพระพิฆเนศวร พื้นที่เวียงบัว >> Click
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)