คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม จัดมหกรรมศิลปะการแสดงล้านนาร่วมสมัย สืบสานวัฒนธรรมไทย
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.ราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม
จัดมหกรรมศิลปะการแสดงล้านนาร่วมสมัย สืบสานวัฒนธรรมไทย "โขนเงาพรหมจักร" ชมฟรี 13 - 15 พฤษภาคมนี้
รองศาสตราจารย์ ดร.สัญญา สะสอง คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม โดยสำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย เตรียมจัดงานมหกรรมศิลปะการแสดงล้านนาร่วมสมัย "โขนเงาพรหมจักร" ในช่วงเทศกาลวิสาขบูชา ซึ่งเป็นการนำวรรณกรรมล้านนาโบราณมาถ่ายทอดผ่านศิลปะการแสดงร่วมสมัย ส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้าถึงมรดกทางวัฒนธรรมอันทรงคุณค่านี้ได้ง่ายขึ้นโดยเป็นการแสดงที่ผสมผสานศิลปะการแสดงโขน หุ่นเงา และการฟ้อนล้านนาที่บูรณาการองค์ความรู้จากหลากหลายสาขาวิชา ทั้งประวัติศาสตร์ วรรณกรรม ศิลปะการแสดง พุทธศาสนา และมานุษยวิทยา
ทางด้าน อาจารย์ ดร.วิรสันต์ วิรุฬห์สกุลภิบาล ผู้รับผิดชอบโครงการ กล่าวว่า การแสดงนี้ไม่เพียงเป็นความบันเทิง แต่ยังเป็นแหล่งเรียนรู้สำหรับนักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปที่สนใจศึกษาวัฒนธรรมล้านนาและพุทธศาสนาผ่านรูปแบบศิลปะการแสดงที่สร้างสรรค์เราได้เชิญชวนสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงใหม่และใกล้เคียงนำนักเรียนนักศึกษามาชมการแสดงเพราะเชื่อว่าประสบการณ์จริงคือการเรียนรู้ที่มีคุณค่าที่สุดและคณะผู้จัดยังได้จัดทำสื่อการเรียนรู้ประกอบการแสดงทั้งสูจิบัตรที่ให้ความรู้เกี่ยวกับวรรณกรรมพรหมจักรชาดกและคำอธิบายประกอบการแสดงที่ช่วยให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อหาและแง่มุมทางวัฒนธรรมได้ดียิ่งขึ้น ซึ่งพรหมจักรชาดก" เป็นวรรณกรรมล้านนาที่เปรียบได้กับ "รามเกียรติ์ล้านนา" ที่มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมล้านนาเช่นเดียวกับที่รามเกียรติ์มีต่อวัฒนธรรมสยาม เล่าเรื่องราวของพระพุทธเจ้าในอดีตชาติ สอดแทรกหลักธรรมและปรัชญาอันลึกซึ้งสร้างสรรค์งานที่ผสมผสานศิลปะดั้งเดิมกับแนวคิดร่วมสมัย เพื่อสร้างมิติใหม่ให้กับวงการศิลปะการแสดงไทย ได้รับเกียรติจากศิลปินศิลปาธร 2 ท่าน ได้แก่ คุณมณฑาทิพย์ สุขโสภา ผู้เชี่ยวชาญด้านหุ่นเงา และคุณแววดาว ศิริสุข ผู้เชี่ยวชาญด้านนาฏศิลป์ล้านนาร่วมสมัย ร่วมสร้างสรรค์การแสดง "โขนเงาพรหมจักร" บูรณาการศาสตร์และศิลป์จากหลากหลายแขนง ทั้งโขน หุ่นเงา การฟ้อนล้านนา ดนตรีปี่พาทย์ และดนตรีล้านนา สร้างประสบการณ์การชมที่แปลกใหม่และน่าประทับใจ โดยใช้วรรณกรรมล้านนาอันทรงคุณค่าเรื่อง "พรหมจักรชาดก" เป็นแกนหลักในการนำเสนอ วรรณกรรมเรื่องนี้เปรียบเสมือน "รามเกียรติ์ล้านนา" เล่าถึงพระชาติหนึ่งของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในอดีตกาล สะท้อนหลักธรรมสำคัญเรื่องกรรมและผลของกรรม การบำเพ็ญบารมี และวัฏสงสาร ซึ่งผู้ชมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ถือเป็นการต่อยอดศิลปะดั้งเดิมของไทยในรูปแบบที่ไม่เคยมีมาก่อน เป็นการสร้างสรรค์ศิลปะแนวใหม่ที่ยังคงรักษาแก่นดั้งเดิมไว้ได้อย่างสมบูรณ์"
จึงขอเชิญชวนผู้สนใจร่วมชมการแสดงระหว่างวันที่
13-15 พฤษภาคม 2568 เวลา 19.00 น. ณ วัดผาลาด (สกิทาคามี)
จังหวัดเชียงใหม่ เข้าชมฟรี ไม่มีค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่ง โทรศัพท์ 061 -
446 - 6693
ภาพ
- ข้อมูล คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เรียบเรียงข่าว
พัชริดา ชื่นมาโนช
นักประชาสัมพันธ์
งานประชาสัมพันธ์ กองกลาง
สำนักงานอธิการบดี
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
ศูนย์สื่อสารองค์กร
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"
ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
C Community สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล
M Moral สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม
R Royal น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม
U Unity ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว
อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"
คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)