มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โชว์ฝีมือ ร่วมประกวดแข่งขันวาดภาพ Thai Youth Street Art ระดับอุดมศึกษา

 

นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โชว์ฝีมือ
ร่วมประกวดแข่งขันวาดภาพ Thai Youth Street Art ระดับอุดมศึกษา



นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สร้างสรรค์ผลงานศิลปะร่วมการประกวดวาดภาพ ในการแข่งขันวาดภาพภายใต้โครงการ Thai Youth Street Art “ศิลปะเยาวชน เปลี่ยนกำแพงธรรมดา ... สู่แรงบันดาลใจระดับชาติ” ในหัวข้อ “Dream of Thailand” ระดับอุดมศึกษา ซึ่งจัดขึ้นโดยสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมด้านศิลปะ
ทั้งนี้มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ได้ส่งผลงานของนักศึกษาจำนวน 2 ทีม เข้าร่วมการประกวด ประกอบด้วย ทีมที่ 1 นักศึกษาสาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชื่อผลงาน “ผสานลายเส้นแผ่นดินล้านนา” ด้วยแนวคิด “เส้นสายลายศิลป์ถิ่นล้านนา ถ่ายทอดเรื่องราวของบรรพชนในอดีตส่งถึงปัจจุบันและส่งต่อยังอนาคตผ่านลายเส้นภูษาล้านนาไทย”



และ ทีมที่ 2 นักศึกษาสาขาวิชาศิลปศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ชื่อผลงาน “หลากสี หลากวัฒนธรรม แม่ฮ่องสอนอ่อนหวาน ร่วมสานฝันประเทศไทย” ด้วยแนวคิด “พลังแห่งการรักษา สืบสาน และต่อยอดภูมิปัญญาท้องถิ่น ควบคู่ไปกับการพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ เพื่อนำพาสังคมไทยก้าวไกลอย่างยั่งยืน”



การส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี มณีโกศล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร ได้ร่วมชมการวาดภาพและให้กำลังใจแก่นักศึกษาและอาจารย์ผู้ควบคุม เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2568 ณ อาคารศิลปะ (อาคาร 12) และลานด้านหน้าอาคารเทพรัตนราชสุดา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ พื้นที่เวียงบัว
สำหรับผลงานของนักศึกษา ทีมที่ 1 สาขาวิชาศิลปะและการออกแบบ หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สร้างสรรค์โดย นางสาว ชุติมา สำรวยประเสริฐ , นายณัฐนันท์ ห้าวหาญ , นางสาว ยุวธิดา เต๊อะสกุล , นายพงษ์ทวี ศรีแสง , นายอภิสิทธิ์ สิทธิกัน , นางสาวสุรางคณา สุดใจแก้ว , นายณรงค์ฤทธิ์ จิตหาญ , นายธีรโชติ แซ่ซ้ง , นายเกรียงไกร อุปละโรจน์ , นายพงศธร ทาเกิด , นางสาวชนิกานต์ สิริสุนทรกุล และนายเบญจพล วรรณการ โดยมี อาจารย์เอกพงศ์ สุริยงค์ , อาจารย์เสริม วัชรินทร์ และอาจารย์ ดร.กนิษฐา พวงศรี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ควบคุม ในชื่อผลงาน “ผสานลายเส้นแผ่นดินล้านนา” ด้วยแนวคิด “เส้นสายลายศิลป์ถิ่นล้านนา ถ่ายทอดเรื่องราวของบรรพชนในอดีตส่งถึงปัจจุบันและส่งต่อยังอนาคตผ่านลายเส้นภูษาล้านนาไทย” ดินแดนล้านนาที่มีความเจริญทางศิลปวัฒนธรรมอย่างยาวนาน จากผู้คนที่หลากหลายเชื้อชาติ ต่างมีอัตลักษณ์เป็นของตน ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ดูแลครอบครอง ต่างคนต่างเผ่าพันธุ์สืบสานอัตลักษณ์ อย่างหลากหลาย งดงามดั่งการสานเส้นด้ายลายศิลป์บนภูษา ผ้าห่มปกคลุมกายสร้างอาภรณ์ ห่อหุ้มอนุรักษ์งานศิลป์หลากสาขา ถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาวิถีชีวิตบรรพชน หลอมรวมความหลากหลาย การแต่งกายร่วมสมัยปัจจุบัน แปรเปลี่ยนตามโลกาภิวัตน์ กลมกลืน ร้อยเรียง ผสานเส้นได้สู่ลูกหลาน โดยถ่ายทอดแนวคิดสู่ผลงานศิลปะบนผนัง อลังการ ผ่านการแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ ที่มีอยู่ในทัศนธาตุทางศิลปะ เช่น เส้น สี รูปทรง แสงเงาและบรรยากาศ ใช้หม้อปูรณฆฏะสีทอง แทนสัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ ใช้ต้นโพธิ์ทอง แทนความเจริญรุ่งเรืองของพุทธศาสนา โดยเน้นจุดเด่น ของภาพที่เป็นชายและหญิงแต่งกายในชุดพื้นเมืองล้านนาประยุกต์ ตามจินตนาการความเข้าใจหมายมั่นว่าคือผู้สืบทอด เส้นสาย ภูษาล้านนา จากบรรพกาล สานปัจจุบัน สู่อนาคตล้านนาไทยไปตลอดกาล













ส่วนผลงานของนักศึกษาทีมที่ 2 สาขาวิชาศิลปศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สร้างสรรค์โดย นายณัฐวุฒิ เสนวงค์ , นายเอกรินทร์ ดวงจิตต์ , นายสิทธิชัย แสนกว้าน , นายภูวดล ทาปัญญา , นายชาคริต ชนิดาพงศ์พันธ์ , นางสาวพัชรินทร์ ท่อศิลปะ , นางสาววิภาวรรณ วงค์ฝั้น , นายธนโชติ - , นางสาวพิศมัย แซ่ย่าง , นางสาววิภาวนี แสนย่าง , นางสาวนิภาธร สิริท้าวสกุล , นางสาวณัฐนันท์ จันเต็ม และนางสาวณัฐรัตน์ กาวี มี อาจารย์ ดร.สายพิณ สังคีตศิลป์ , อาจารย์สมศักดิ์ พรมจักร และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐวัฒน์ โสมดี เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาและอาจารย์ผู้ควบคุม ในชื่อผลงาน “หลากสี หลากวัฒนธรรม แม่ฮ่องสอนอ่อนหวาน ร่วมสานฝันประเทศไทย” ถ่ายทอดแนวคิดแห่งความงดงามและความรุ่งเรืองของวิถีชีวิตที่โอบล้อมด้วยธรรมชาติและวัฒนธรรมอันทรงคุณค่า ผสานเข้ากับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่เข้ามามีบทบาทในชีวิตผู้คนอย่างกลมกลืน สัญลักษณ์สำคัญอย่าง วัดพระธาตุดอยกองมู และ พระพุทธรูปวัดหัวเวียง เปรียบเสมือนศูนย์รวมจิตใจของผู้คน นำเสนอความงดงามของชุมชนพหุวัฒนธรรมผ่านประเพณี ปอยส่างลอง การแสดงศิลปะการฟ้อนอย่าง นกกิงกะหร่า การละเล่นพื้นถิ่น เต้นโต และประติมากรรม รูปสิงห์ สัตว์มงคลตามความเชื่อของชาวไทใหญ่ ภูมิประเทศแห่งเมืองสามหมอก หรือ แม่ฮ่องสอน ซึ่งงดงามด้วยสายหมอกและสายน้ำ เปรียบได้กับละอองแห่งความอุดมสมบูรณ์ เป็นภาพสะท้อนของความเชื่อและคุณค่าที่หล่อหลอมผ่านศิลปะและวัฒนธรรม อันมีบทบาทสำคัญในการยกระดับชีวิตจิตใจและสุนทรียะ








ร่วมส่งกำลังใจให้กับทีมนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ทั้งสองทีม ในการประกวด Thai Youth Street Art “ศิลปะเยาวชน เปลี่ยนกำแพงธรรมดา ... สู่แรงบันดาลใจระดับชาติ” ในหัวข้อ “Dream of Thailand” ระดับอุดมศึกษา และติดตามผลงานของนักศึกษาทั้งสองทีมได้ทาง Facebook Fanpage ศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ www.facebook.com/ARTCMRU12 และ Facebook Fanpage ศิลปศึกษา Art Education CMRU www.facebook.com /ArtEdCMRU

#artanddesigncmru #ArtEducationCMRU #THACCA #SoftPower #CreativeCulture #ThaiArt #ThaiYouthStreetsArt

ข่าว : สุกัญญา แก้ววรรณ หัวหน้างานประชาสัมพันธ์ กองกลาง สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ 
ภาพ : สาขาวิชาศิลปศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และสาขาวิชาศิลปศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และเป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 053-412151-155
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th
 

ติดต่อเรา