มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

Chiang Mai Rajabhat University

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช มร.ชม. จัด Workshop “เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายสำหรับนักเรียน”

 

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช มร.ชม. จัด Workshop “เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายสำหรับนักเรียน”

ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายสำหรับนักเรียน” ถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชเพื่อการขยายพันธุ์พืช สร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจและอนุรักษ์พันธุกรรมพืชหายากใกล้สูญพันธุ์ในโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.)
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2562 ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืชได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายสำหรับนักเรียน” ให้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ห้องเรียนพิเศษ โรงเรียนแม่ริมวิทยาคม อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 33 คน ณ ห้องปฏิบัติการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ เพื่อให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่าย สามารถนำเทคนิคดังกล่าวไปปฏิบัติได้เอง รู้จักปรับใช้ให้เหมาะสมกับพืชชนิดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนรู้นอกห้องเรียนและเพิ่มพูนทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ โดยเนื้อหาการอบรมประกอบด้วย ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช การประยุกต์ใช้เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ฯ ปฏิบัติการการเตรียมอาหารเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช ปฏิบัติการฟอกฆ่าเชื้อชิ้นส่วนพืช และปฏิบัติการตัด ย้ายเนื้อเยื่อพืชในสภาพปลอดเชื้อ ซึ่งภายหลังเสร็จสิ้นการอบรมทางศูนย์ฯ ได้มอบอุปกรณ์และสารเคมีที่จำเป็นต้องใช้ในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชให้แก่ทางโรงเรียน เพื่อนำกลับไปใช้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชในท้องถิ่น โดยศูนย์ฯ จะเป็นที่ปรึกษาและติดตามผลการดำเนินงานต่อไป
ทั้งนี้ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช กล่าวเพิ่มเติมว่า การจัดอบรมเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชนอกจากจะสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัย ยังสอดคล้องกับเนื้อหาวิชาวิทยาศาสตร์ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เรื่องเทคโนโลยีชีวภาพสำหรับพืช และระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย เรื่องการสืบพันธุ์และการเจริญเติบโตของพืช ทำให้สถานศึกษามีความสนใจในการนำเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชไปใช้ในการเรียนการสอน และยังเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฯ ดังนั้นทางศูนย์ ฯ จึงได้นำผลงานวิจัยเรื่อง เทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืชอย่างง่ายซึ่งประยุกต์ใช้สารเคมีและเครื่องมือที่มีราคาถูก สามารถหาซื้อได้ง่ายแต่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกับเทคนิคมาตรฐานมาจัดทำเป็นหลักสูตรการอบรมสำหรับนักเรียน ซึ่งจะสามารถนำไปใช้ประกอบการเรียนการสอน การสร้างรายได้เสริม พัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการถ่ายทอดความรู้ พัฒนาการศึกษา ฝึกอบรมวิชาชีพในแก่เยาวชนและคนในชุมชน
สำหรับโรงเรียน หน่วยงาน หรือผู้ที่สนใจสามารถสอบถามรายละเอียดการอบรมได้ที่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ โทรศัพท์ 083 – 4480197 หรือดูรายละเอียดการจัดกิจกรรมได้ที่ www.facebook.com/cepbcmru



















ติดตามประมวลภาพกิจกรรม >> Click 

ข่าว  : สุกัญญา แก้ววรรณ นักประชาสัมพันธ์ สำนักงานอธิการบดี ม.ราชภัฏเชียงใหม่ 

ที่มาข้อมูล / ภาพ : ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีชีวภาพพืช


เอกลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ "สถาบันอุดมศึกษา เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น"

ค่านิยมหลัก ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่

        C Community  สถาบันอุดมปัญญาเพื่อพัฒนาท้องถิ่นให้ก้าวไกล

        M Moral   สร้างบัณฑิตดีสู่สังคมไทยด้วยอุดมการณ์แห่งศีลธรรม

        R Royal  น้อมนำพระราชดำริมาปฏิบัติเพื่อพัฒนาสังคม

        U Unity   ด้วยจิตอาสาพัฒนาสถาบันเป็นหนึ่งเดียว

อัตลักษณ์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  "บัณฑิตมีทักษะชีวิต จิตสาธารณะ และสู้งาน"

คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่  

คือ การมีคุณลักษณะ เป็นคนดี มีความรู้ดี บุคลิกภาพดี สุขภาพดี และ เป็นพลเมืองดี (5 ดี)

รับข่าวสารจากมหาวิทยาลัย

Find CMRU APP at Play Store Find CMRU APP at Play Store
สงวนลิขสิทธิ์ 2558, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ ผู้ดูแลระบบ; admin@cmru.ac.th

ติดต่อมหาวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
เลขที่ 202 ถ.ช้างเผือก ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50300
โทรศัพท์: 08-1293-9749
อีเมล์ : saraban@cmru.ac.th